ฟอร์ติเน็ต ชี้ องค์กร 61% กังวลเรื่องความปลอดภัย และการปฏิบัติตามข้อบังคับในการใช้คลาวด์

Loading

    ฟอร์ติเน็ต เผยผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 (2025 State of Cloud Security Report) ซึ่งจัดทำโดย Cybersecurity Insiders เพื่อวิเคราะห์แนวโน้มล่าสุด ความท้าทาย และการกำหนดกลยุทธ์เพื่อรักษาความปลอดภัยให้ระบบคลาวด์   ภัคธภา ฉัตรโกเมศ ผู้จัดการประจำประเทศไทย ฟอร์ติเน็ต กล่าวถึง การนำคลาวด์มาใช้ ว่าเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการทำงานสู่ระบบดิจิทัล ช่วยให้องค์กรมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการแข่งขันในตลาดปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว   การแข่งขันในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ต้องอาศัยการพัฒนาหลายด้าน ทั้งการสร้างประสบการณ์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละราย การปรับใช้นโยบายเพื่อให้ ทำงานได้จากทุกที่    (work-from-anywhere) อย่างจริงจัง ปรับกระบวนการทำงานให้คล่องตัวขึ้น พร้อมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานในลักษณะกระจายศูนย์ให้เกิดประสิทธิภาพและสามารถรองรับการขยายได้ดียิ่งขึ้น   แม้ว่าเทคโนโลยีคลาวด์จะช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดในปัจจุบัน แต่ก็ยังคงเป็นความท้าทายสำคัญที่ทีมรักษาความปลอดภัยต้องตระหนักและจัดการให้ได้ ซึ่งความท้าทายเหล่านี้รวมถึงการปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน   การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับ ในขณะที่ยังคงสามารถมองเห็นความเป็นไปพร้อมทั้งควบคุมการดำเนินงานในสภาพแวดล้อมคลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์ที่ซับซ้อนมากขึ้นได้   ประเด็นที่น่าสนใจจากผลศึกษาของรายงานสถานะความปลอดภัยระบบคลาวด์ประจำปี 2025 มีการนำกลยุทธ์คลาวด์แบบไฮบริดและมัลติคลาวด์มาใช้มากขึ้น: โดยกว่า 78% ของผู้ตอบแบบสอบถามมีการใช้บริการจากผู้ให้บริการคลาวด์สองรายขึ้นไป ซึ่งเน้นให้เห็นว่าแนวทางด้านมัลติคลาวด์มีความสำคัญมากขึ้น โดยช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและให้ประโยชน์ด้านความสามารถเฉพาะทาง ในขณะที่ 54%…

Zero Trust Model: ปลดล็อกความปลอดภัยข้อมูล

Loading

ในยุคดิจิทัลที่ทุกอย่างเชื่อมโยงกันมากขึ้น ผู้บริโภคต้องเผชิญกับความเสี่ยงอย่างมากกับความปลอดภัยข้อมูลในชีวิตประจำวัน กรณีที่ได้รับความสนใจเร็วๆ นี้อย่างเช่น แอปพลิเคชันทางการเงินที่ถูกติดตั้งมาพร้อมกับเครื่องโทรศัพท์มือถือ

การเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงจากการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์ และผลกระทบต่อสถาบันการเงิน

Loading

  การบริหารความเสี่ยงทางไซเบอร์ต้องเน้นการตรวจสอบความปลอดภัยของผู้ให้บริการบุคคลที่สามอย่างเคร่งครัด ควรประเมินการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบไบโอเมตริกซ์ตามมาตรฐาน ISO 27001, NIST และการรับรอง SOC 2 Type 2 การใช้เครื่องมือตรวจสอบช่วยในการติดตามกิจกรรมของผู้ให้บริการอย่างต่อเนื่องและตั้งค่าการควบคุมการเข้าถึงข้อมูลอย่างเข้มงวดจะช่วยลดความเสี่ยงในการละเมิดข้อมูล   จากการคาดการณ์ของ Deloitte Center for Financial Services ภายในปี 2570 การฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์จะก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 40 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เทคโนโลยีอย่าง Deepfake ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างข้อมูลไบโอเมตริกซ์สังเคราะห์ที่มีความสมจริงและน่าเชื่อถือมากขึ้น โดยใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่ถูกขโมยจากเว็บมืดหรือสร้างขึ้นใหม่ การพัฒนาของ Generative AI ยังเพิ่มความเสี่ยงจาก Deepfake ให้รุนแรงขึ้น รายงานของ World Economic Forum (WEF) ในปี 2566 ระบุว่าเหตุการณ์ Deepfake ที่เกี่ยวข้องกับฟินเทคเพิ่มขึ้น 700% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2569 เนื้อหาออนไลน์มากถึง 90% อาจถูกสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีสังเคราะห์   ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมถึงประเทศไทย การจัดการกับการฉ้อโกงข้อมูลไบโอเมตริกซ์กลายเป็นประเด็นเร่งด่วน…

สกัดไม่อยู่! โจรไซเบอร์ ป่วนระบบ ‘OT’ ในไทย

Loading

องค์กรในไทยกำลังรับศึกหนัก ถูกโจมตีด้านไซเบอร์ในระบบ OT เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้สูญเสียรายได้และเกิดค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาจำนวนมาก

กลยุทธ์ ‘Zero Trust’ ซับซ้อน แต่ไม่ยากเกินไปถ้าจะทำ

Loading

บ่อยครั้งที่การนำกลยุทธ์ “Zero Trust” มาใช้ปกป้องความปลอดภัยในองค์กรถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ซึ่งก็สมควรแล้วหากพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน

ภัยไซเบอร์ เป็นปัญหาระดับชาติ ชวนดู วิธีการแก้ไข กับ สัมภาษณ์พิเศษ พร้อมๆกัน

Loading

ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นอะไรที่เป็นปัญหาของแต่ละประเทศมาก และเรื่องนี้ ทำให้เกิดคำถามแก่ผู้เสียหายหลายคนว่า ยังไม่ได้รับการแก้ไขที่ดีเท่าไหร่นัก วันนี้ Spring จะชวนมาแก้ไขปัญหาของภัยไซเบอร์ที่เรียกได้ว่าเสมือนกับระดับชาติ ไปกับ คุณปิยะ ผู้จัดการประจำประเทศไทย พาโล อัลโต้ เน็ตเวิร์กส์ ที่ได้ให้สัมภาษณ์พิเศษกับทาง Spring ผ่านบทความนี้กันค่ะ