รัฐบาลทหารเมียนมาชี้ทีวีดาวเทียม “เป็นภัยความมั่นคง”

Loading

  การรับชมโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นสิ่งผิดกฎหมายในเมียนมาแล้ว ผู้ใดฝ่าฝืนอาจต้องรับโทษจำคุกนานถึง 1 ปี และปรับเงินมากกว่า 10,000 บาท สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา เมื่อวันที่ 5 พ.ค. ว่า สถานีโทรทัศน์แห่งชาติเมียนมา ( เอ็มอาร์ทีวี ) ประกาศว่า นับจากนี้เป็นต้นไป โทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเป็นบริการผิดกฎหมายในประเทศ การรับชมโทรทัศน์ผ่านกล่องรับสัญญาณดาวเทียมต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 500,000 จ๊าด ( ราว 10,025.65 บาท )   Yup, you heard it right. 1 year imprisonment and 500,000 MMK fine for having a satellite dish/receiver! 'စေတနာကောင်း' ဖြင့်အသိပေးခြင်းတဲ့ pic.twitter.com/WAcVQeBn23 — M…

ทั่วโลกคุมเข้ม ‘คริปโทฯ’ หวั่นเป็นแหล่งฟอกเงิน

Loading

  มูลค่าของ “คริปโทเคอร์เรนซี” อย่างบิตคอยน์ และอีเทอเรียม เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนแห่ซื้อขายกันอย่างมากมาย ขณะที่ต้นเดือนที่ผ่านมา “ตุรกี” ออกกฎหมายใหม่ แบนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย “สินทรัพย์ดิจิทัล” อย่างคริปโทเคอร์เรนซี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงตุรกีเท่านั้นที่ออกกฎหมายเข้าควบคุมคริปโทฯ แต่เป็นเทรนด์ของหลายประเทศที่กำลังร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ หรือได้ออกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศก็ออกกฎหมายให้คริปโทฯ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไปเลย ซีเอ็นบีซีรายงานว่า กระแสความร้อนแรงของคริปโทเคอร์เรนซีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กำลังเป็นภัยต่อระบบการเงินของแต่ละประเทศอย่างมาก โดยการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านคริปโทฯ ทำให้ธนาคารกลางติดตามการทำธุรกรรมการเงินได้ยากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาจเข้ามามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางการเงิน รวมทั้งเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และคริปโทเคอร์เรนซีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย อย่างการฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงภาษี แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ทุกคนทราบถึง “มูลค่า” ต้นทาง และปลายทางการทำธุรกรรม แต่ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดถึงตัวตนคนทำธุรกรรมคือใคร แม้ว่าการทำธุรกรรมผิดกฎหมายผ่านคริปโทฯ ปีที่แล้วมีเพียง 0.34% จากการทำธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่สูงถึง 2% แต่ปัจจัยทั้งด้านเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย ทำให้รัฐบาลทั่วโลกเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ ก่อนหน้านี้ ประเทศแอลจีเรีย, อียิปต์, โมร็อกโก, โบลิเวีย และเนปาล ได้ออกกฎหมายว่าการครอบครองคริปโทเคอร์เรนซี หรือการทำธุรกรรมการเงินผ่านคริปโทฯ…

สภาฮ่องกงบัญญัติกฎหมายคุมการเข้าออกเมือง

Loading

  นับตั้งแต่เดือน ส.ค.นี้เป็นต้นไป รัฐบาลฮ่องกง “มีอำนาจชอบธรรม” ในการควบคุมการเข้าและออกเมืองของบุคคลใดก็ตาม “อย่างเจาะจง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเขตบริหารพิเศษฮ่องกง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 29 เม.ย.ว่าที่ประชุมสภานิติบัญญัติฮ่องกง ( เล็กโค ) มีมติเห็นชอบกฎหมายฉบับใหม่ ที่เป็นการแก้ไขและเพิ่มเติมกฎหมายคนเข้าเมืองฉบับเดิม เพิ่มอำนาจให้แก่หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ในการ “เจาะจง” ห้ามบุคคลหนึ่งเดินทางเข้าและออกฮ่องกง มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้เป็นต้นไป โดยไม่จำเป็นต้องขออำนาจจากศาล และบุคคลซึ่งมีชื่ออยู่ใน “บัญชีดำ” ดังกล่าวของทางการ ไม่สามารถอุทธรณ์ให้มีการเพิกถอนคำสั่งได้   Hong Kong lawmakers approve changes to immigration law prompting fears of ‘exit bans’ https://t.co/pn5B1CFQQ8 pic.twitter.com/hSspazpegm — Hong Kong Free Press HKFP (@hkfp) April 28, 2021…

เซ็นเอกสาร ‘ออนไลน์’ วันนี้ เชื่อถือได้เหมือน ‘ออฟไลน์’

Loading

  ไขข้อข้องใจ การเซ็นเอกสาร “ออนไลน์” ในปัจจุบันนั้นเชื่อถือได้เหมือน “ออฟไลน์” และลักษณะแบบไหนบ้างถึงจะเรียกว่าเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์? หลายคนคงคุ้นเคยกับการเซ็นสำเนาถูกต้องและลงลายมือบนหน้ากระดาษ โดยเฉพาะเอกสารสำคัญๆ อย่างสำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารทั้งของภาครัฐเองหรือเอกชนก็ตามยังมีการลงลายมือชื่อกำกับเพื่อยืนยันตัวตนอยู่เสมอ แต่ความคุ้นเคยเหล่านี้กำลังจะเปลี่ยนไปแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของ Digital signature ที่วันนี้มีกฎหมายมารองรับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ความหมายของลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์นั้นก็คือ สิ่งใดก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นรูป เส้นการเขียนต่างๆ รวมไปถึงรูปภาพ เสียง อักษร อักขระ ตัวเลข เสียง หรือสัญลักษณ์อื่นใด ที่สร้างขึ้นมาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ และสามารถยืนยันความเป็นตัวตนของบุคคลนั้นได้ ยกตัวอย่างให้เห็นง่ายๆ เช่น การเข้าใช้บริการ อินเทอร์เน็ต แบงกิ้ง หรือแอพพลิเคชั่นต่างๆ ที่เดี๋ยวนี้สามารถใช้วิธีลายนิ้วมือล็อกอิน ทดแทนการใช้พาสเวิร์ดแบบเดิมๆ ซึ่งลายนิ้วมือนี้ถือเป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่งด้วยเช่นกัน คำขยายของตัวกฎหมาย พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นว่าจริงๆ แล้ว ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นมีแบบไหนบ้าง แบบที่หนึ่ง “ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป” เช่น อาจเป็นการใช้รูป การกดปุ่ม ok การวางลายเซ็นลงไปในเอกสาร ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ลักษณะนี้ เมื่อใดก็ตามที่เกิดการร้องเรียนเกิดขึ้น หรือมีเหตุการณ์ที่ต้องมีการยืนยัน คนที่ลงลายมือนั้น จะต้องหาหลักฐานมาพิสูจน์ให้ได้ว่านี่เป็นลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ของตนเอง…

ครั้งแรกของโลก ยุโรปเสนอกฎกำกับดูแล AI สร้างขอบเขตการใช้งานให้ไม่กระทบสิทธิพลเมือง

Loading

  สหภาพยุโรป เสนอร่างข้อกำหนดควบคุมการใช้ AI โดยจะเป็นนโยบายแรกของโลกในการกำกับดูแลและกำหนดขอบเขตของบริษัทว่าสามารถใช้ AI ได้ถึงระดับไหน เนื่องจาก AI ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง ทั้งการคุกคามความเป็นส่วนตัว และความโน้มเอียง   ตัวร่างข้อกำหนดความยาว 108 หน้า แบ่งความเสี่ยง AI เป็น 4 ขั้น ความเสี่ยงระดับที่ยอมรับไม่ได้ เช่น AI ที่รัฐบาลใช้กำหนดคะแนนความประพฤติของประชาชน เป็นต้น ซึ่งยุโรปจะแบนการใช้อัลกอริทึมพวกนี้ทั้งหมด ความเสี่ยงสูง เช่น AI ที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายและการระบุตัวตนทางชีวภาพ ทางคณะกรรมาธิการยุโรประบุว่า เทคโนโลยีในกลุ่มนี้ต้องอยู่ภายใต้การกำกับตั้งแต่ขั้นฝึกระบบเลย AI ที่มีความเสี่ยงจำกัด เช่น แชทบอท ตัวร่างระบุให้บริษัทเปิดเผยใช้ชัดว่าผู้ใช้กำลังคุยกับ AI เพื่อให้ผู้ใช้ตัดสินใจเองว่าอยากคุยต่อหรืออยากคุยกับคนมากกว่า AI ความเสี่ยงต่ำ เช่น ระบบกรองสแปม ในเอกสารไม่ได้ระบุวิธีการกำกับดูแล No Description วัตถุประสงค์ของร่างข้อกำหนดคือ ให้แน่ใจว่า AI ที่ใช้ในตลาดมีความปลอดภัย และเคารพหลักสิทธิขั้นพื้นฐาน และให้มีกฎหมายที่แน่นอน เพื่ออำนวยความสะดวกในการลงทุนพัฒนา AI…

สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯเสนอกฎหมาย ห้ามหน่วยงานรัฐ ซื้อข้อมูลใบหน้าจากบริษัทภายนอก

Loading

    ที่สหรัฐฯ กำลังมีประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวโดยเฉพาะข้อมูลใบหน้าจากระบบจดจำใบหน้า เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา Buzzfeed News รายงานว่า มีหน่วยงานรัฐ ตำรวจ สถาบันการศึกษา ใช้ข้อมูลจากระบบจดจำใบหน้าของ Clearview AI อย่างแพร่หลายโดยไม่มีการกำกับดูแลที่เหมาะสม นอกจากนี้ ยังมีบุคลากรในหน่วยงานถึง 1,803 แห่งใช้แพลตฟอร์มจดจำใบหน้า โดยไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้บังคับบัญชา ล่าสุด สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เสนอกฎหมาย Fourth Amendment is Not For Sale Act หน่วยงานจะไม่สามารถซื้อข้อมูลประชากรจากนายหน้าหรือหรือจากบริษัทภายนอกได้ หากข้อมูลนั้นได้มาจากบัญชีหรืออุปกรณ์ของผู้ใช้ หรือผ่านการหลอกลวง การละเมิดสัญญานโยบายความเป็นส่วนตัว หากกฎหมายนี้ผ่าน บริษัท Clearview AI จะไม่สามารถขายข้อมูลให้กับหน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป มีรายงานด้วยว่า Clearview AI ใช้วิธีการหลากหลายเพื่อให้ได้ข้อมูลมา เช่น ดูดข้อมูลใบหน้าจาก Google, Facebook, Twitter และ Venmo ซึ่งบริษัทพยายามปกป้องตัวเองด้วยการบอกว่า Clearview AI รวบรวมเฉพาะภาพถ่ายที่เปิดเผยต่อสาธารณะจากอินเทอร์เน็ต Hoan…