ประกาศงาน 27 อาชีพห้ามต่างด้าวทำเด็ดขาด

Loading

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ งาน 27 อาชีพ ห้ามต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่องกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่งแห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป ข้อ 2 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีหนึ่งท้ายประกาศนี้ หรืองานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องมีสัญชาติไทย เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร ข้อ 3 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสองท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงาน ได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศหรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย ข้อ 4 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสามท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักร โดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานฝีมือหรือกึ่งฝีมือนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง ข้อ 5 กำหนดให้งานตามที่ระบุไว้ในบัญชีสี่ท้ายประกาศนี้เป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำในทุกท้องที่ในราชอาณาจักรโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้างและได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้บันทึกความตกลงหรือบันทึกความเข้าใจที่รัฐบาลไทยทำไว้กับรัฐบาลต่างประเทศการรับคนต่างด้าวเข้าทำงานกับนายจ้าง ตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามเงื่อนไขตามที่อธิบดีกรมการจัดหางานประกาศกำหนด ข้อ 6 ในกรณีเป็นงานที่กฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบวิชาชีพต้องได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองคนต่างด้าวจะขอรับใบอนุญาตทำงานได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตหรือหนังสือรับรองตามกฎหมายนั้นแล้ว ประกาศ ณ วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2563 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน…

e-Meeting กับข้อกำหนดที่กฎหมายรองรับ เพื่อการทำงานที่ต่อเนื่อง

Loading

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หน่วยงานพัฒนา ส่งเสริม และสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ได้รวบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Meeting)  การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย เงื่อนไข ข้อกำหนดต่าง ๆ รวมทั้งจัดทำแบบประเมินความสอดคล้องของระบบประชุมจากผู้ให้บริการระบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาเลือกใช้ระบบประชุมของผู้สนใจ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 74/2557 เรื่อง การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ – ประกาศกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. ๒๕๕๗ การประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การบังคับใช้และผลทางกฎหมาย ใช้สำหรับการประชุมที่ต้องการผลตามกฎหมาย หรือกฎหมายกำหนดให้ต้องมีการประชุม เช่น การประชุมสามัญผู้ถือหุ้น หรือการประชุมของคณะกรรมการต่างๆ ใช้ได้ทั้งการประชุมของภาครัฐ และภาคเอกชน คนที่เข้าร่วมประชุมมีเงื่อนไขอย่างไร ผู้เข้าร่วมประชุมอย่างน้อย 1 ใน 3 ขององค์ประชุมต้องอยู่ในที่ประชุมเดียวกัน ผู้ร่วมประชุมทั้งหมดต้องอยู่ในราชอาณาจักรขณะที่ประชุม ข้อกำหนดของระบบ e-Meeting สำหรับการประชุมที่จะมีผลตามกฎหมาย มีกระบวนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ และต้องสอดคล้องตามแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้ด้วยเสียงหรือทั้งเสียงและภาพ เชื่อมโยงสถานที่ประชุมตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปเข้าด้วยกัน ทำให้ผู้ร่วมประชุมสามารถสื่อสารกันได้สองทาง มีอุปกรณ์สำหรับนำเข้าข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น โทรศัพท์ กล้อง ไมโครโฟน มีอุปกรณ์เพื่อทำหน้าที่เชื่อมโยงหรือแปลงสัญญาณเสียงหรือทั้งเสียงและภาพที่เหมาะสม การบริหารจัดการระบบ…

จด•หมายเหตุ: การล่าแม่มดในสถานการณ์โควิด 19

Loading

บทความโดย นคร เสรีรักษ์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Privacy Thailand 1. โลกวันนี้ทำให้แทบทุกแพลตฟอร์มของการดำรงชีวิตเข้ามาขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวบนโลกออนไลน์ ด้วยความรวดเร็วของเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะในสังคมการเมืองที่โซเซียลมีเดียเข้ามามีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองอย่างกว้างขวาง 2. การปะทะกันระหว่างความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันก็มาปรากฏบนโลกออนไลน์หลากหลายรูปแบบ ทั้งการแลกเปลี่ยนหรือโต้แย้งกันอย่างสุภาพสันติและการโจมตีกล่าวหากันด้วยวาจาหรือถ้อยคำที่หยาบคาย การด่าทอ ดูถูกเหยียดหยาม เสียดสี นำมาซึ่งการสร้างความเกลียดชัง เยาะเย้ย ถากถาง ขณะเดียวกันกิจกรรมการล่าแม่มดก็ออกมามีบทบาทในสื่อสังคมออนไลน์ด้วยเช่นกัน 3. ในสถานการณ์โรคระบาดจากไวรัสโควิด 19 ที่กำลังเป็นวิกฤตของประเทศในปัจจุบัน ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับไวรัสตัวนี้กำลังเคลื่อนไหวถ่ายทอดกันในสังคมมากมาย ทั้งข้อมูลสถิติการป่วยไข้และการรักษา คำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ ในข้อมูลจำนวนมหาศาลมีทั้งข้อมูลจริง ข้อมูลเท็จ ข้อมูลแท้ ข้อมูลปลอม ที่น่าเป็นห่วงคือการใช้วิธีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเครื่องมือในการล่าแม่มด 4. จากการที่มีผู้นำข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับถิ่นที่อยู่อาศัยของแรงงานนอกระบบที่เดินทางกลับจากเกาหลีมาเผยแพร่ในลักษณะชักชวนคนในชุมชนให้รังเกียจ กีดกัน และขับไล่บรรดาแรงงานจากเกาหลี มาจนถึงล่าสุดคือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารที่เดินทางมาจากต่างประเทศและไม่เข้าสู่กระบวนการกักตัวตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่ที่สนามบินสุวรรณภูมิ มีการเปิดเผยชื่อ ที่อยู่ หมายเลขหนังสือเดินทาง ข้อมูลแพร่กระจายกว้างขวางอย่างน่าเป็นห่วงทั้งทางเฟสบุ๊ค ไลน์ และทวิตเตอร์ ทั้งสองเรื่องมีการประณาม ประจาน และแสดงความรู้สึกเกลียดชังในลักษณะการ “ล่าแม่มด” อย่างชัดเจน 5. มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าการนำข้อมูลส่วนบุคคลของแรงงานที่กลับจากเกาหลีหรือผู้โดยสารสายการบินมาเปิดเผยในการล่าแม่มดน่าจะเป็นการผิดกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอันที่จริงแล้ว พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายนี้พูดถึงหน้าที่และกระบวนการในการเก็บรวบรวม…

8 ข้อควรรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

Loading

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (Personal Data Protection Act: PDPA) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ สาระสำคัญของ พ.ร.บ. นี้มีอะไรบ้างและเราต้องเตรียมตัวอย่างไร Cisco ได้ออกมาสรุปประเด็นคำถามที่พบบ่อยรวม 8 ข้อ ดังนี้ 1. ความสำคัญของ PDPA PDPA เป็นกฎหมายที่ทั้งบุคคลและนิติบุคคลในประเทศไทยต้องปฏิบัติตาม หากฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 5 ล้านบาท จำคุกสูงสุด 1 ปี และต้องจ่ายค่าเสียหายตามจริง ในขณะที่กรรมการของนิติบุคคลอาจต้องรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นด้วย 2. ใครต้องปฏิบัติตาม บุคคลและนิติบุคคลที่จัดตั้งในราชอาณาจักรไทย รวมไปถึงนิติบุคคลที่จัดตั้งในต่างประเทศที่มีการเก็บ ใช้ เปิดเผย หรือถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลในประเทศไทยจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว 3. ข้อมูลที่ได้รับความคุ้มครอง PDPA มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหมายถึง ข้อมูลใดๆ ที่ทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม รวมไปถึงข้อมูลลูกค้า พนักงาน หุ้นส่วนทางธุรกิจ เป็นต้น 4. สาระสำคัญของ PDPA…

อังกฤษผลักดันกฎหมายความปลอดภัย IoT: ห้ามใช้รหัสผ่านเริ่มต้นเหมือนกันทุกเครื่อง, แจ้งระยะเวลาซัพพอร์ต

Loading

รัฐบาลสหราชอาณาจักรเตรียมผลักดันกฎหมายควบคุมความมั่นคงปลอดภัยอุปกรณ์ IoT โดยผลักดันมาตรฐานอุตสาหกรรม ETSI TS 103 645 ให้มีสภาพบังคับ แต่ยังอาศัยกระบวนการรับรองตัวเอง (self assess) ETSI TS 103 645 ระบุมาตรการรักษาความปลอดภัย ให้อุปกรณ์ทุกตัวไม่ใช้รหัสผ่านตรงกันแม้จะรีเซ็ตเครื่องแล้ว ส่วนผู้ผลิตเองก็ต้องมีจุดรับแจ้งปัญหาความมั่นคงปลอดภัยอย่างชัดเจน, มีกระบวนการอัพเดตและแก้ไขที่รวดเร็ว, ประกาศระยะเวลาซัพพอร์ตสินค้าอย่างชัดเจน, ห้ามใช้รหัสผ่านแบบฮาร์ดโค้ดไว้ในเครื่อง, เชื่อมต่อเซิร์ฟเวอร์โดยเข้ารหัส, ตรวจสอบความถูกต้องของซอฟต์แวร์, และยังต้องออกแบบให้ระบบทนทานเมื่อเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ก่อนหน้านี้สหราชอาณาจักรมีแนวปฎิบัติเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยอุปกรณ์ IoT (Code of Practice for Consumer IoT Security) ที่เป็นคำแนะนำผู้ผลิตโดยไม่มีสภาพบังคับ แต่เนื้อหาโดยรวมคล้ายกับมาตรฐาน ETSI TS 103 645 รัฐแคลิฟอร์เนียร์เคยผ่านกฎหมายคล้ายกันในปี 2018 และเพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ————————————– ที่มา : Blognone / 28 มกราคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/114356