ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…

สื่อนอกรายงาน X (Twitter) แอบขายข้อมูลเรียลไทม์ให้รัฐบาล

Loading

ในช่วงเวลานี้ขณะที่ไทยได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หรือ PDPA รวมถึงประเด็นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคลได้กลายเป็นประเด็นสาธารณะ ผู้ใช้งานบริการออนไลน์ต่าง ๆ เริ่มมีความกังวลใจถึงข้อมูลของตนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ข่าวนี้อาจสร้างความกังวลให้มากขึ้นไปอีก

‘ดีอี’เข้มแก้กม.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ลุยเปิดศูนย์ฯรับเรื่องร้องเรียน

Loading

ดีอีดันสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เปิดทำการศูนย์บริการ รับเรื่องร้องเรียนและให้คำปรึกษาการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA Center) อย่างเป็นทางการ ระบุมีแนวคิดแก้กฎหมาย หลังใข้เวลาดำเนินการนาน 90 วัน แต่ความเสียหายเกิดไปแล้ว

ข้อมูลอีเมลรั่วไหลมีความเสี่ยงถึงชีวิตได้หรือไม่

Loading

  เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 หน่วยงานกำกับดูแลด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของประเทศอังกฤษ (UK Information Commissioners’ Office: ICO) ได้เผยแพร่คำสั่งปรับทางปกครองกระทรวงกลาโหมของประเทศอังกฤษเป็นเงินจำนวน 350,000 ปอนด์ (ประมาณ 15.6 ล้านบาท)   อันเนื่องมากจากการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอัฟกานิสถาน ที่จะทำการอพยพย้ายถิ่นฐานจากประเทศอัฟกานิสถานไปยังประเทศอังกฤษในช่วงปี 2564 โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย UK GDPR (UK General Data Protection Regulation)   เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่กลุ่มตาลิบาน (Taliban) ได้เข้าควบคุมประเทศอัฟกานิสถานในปี 2564 กระทรวงกลาโหมในขณะนั้นได้ดำเนินนโยบาย UK’s Afghan Relocations and Assistance Policy (ARAP) เพื่อช่วยเหลือในการจัดหาที่อยู่ให้กับชาวอัฟกานิสถานที่ร่วมปฏิบัติการกับรัฐบาลอังกฤษที่ต้องการลี้ภัย โดยให้ยื่นคำร้องขอและส่งข้อมูลต่าง ๆ ผ่านช่องทางอีเมล   จากการดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว ก่อให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2564 เมื่อกระทรวงกลาโหมได้ส่งอีเมลไปยังผู้รับจำนวน 245 คนซึ่งเป็นพลเมืองอัฟกานิสถานผู้มีสิทธิลี้ภัยไปยังประเทศอังกฤษ…

กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสหรัฐมีพัฒนาการไปถึงไหน?

Loading

หนึ่งในประเด็นที่ได้รับความสนใจในต่างประเทศในช่วงนี้คือ ประเด็นเรื่องข้อตกลงการส่งต่อข้อมูล ระหว่างสหรัฐและสหภาพยุโรป และการส่งต่อข้อมูลระหว่างสหรัฐและสหราชอาณาจักร ซึ่งจะทำให้การส่งต่อข้อมูลของภาคธุรกิจข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น

อินเดียผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล

Loading

ภาพ : REUTERS/Kacper Pempel/File Photo   ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล พ.ศ. 2566 (The Digital Personal Data Protection Bill, 2023) ผ่านมติโดยราชยสภา (วุฒิสภา) เมื่อ 9 ส.ค.66 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศอินเดียมากกว่า 760 ล้านคน   กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวม การใช้ และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอินเดีย และให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้งานในกรณีต้องการแก้ไขหรือลบข้อมูลส่วนบุคคลของตน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานบางส่วนไปยังต่างประเทศได้ สำหรับบทลงโทษในการละเมิดหรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจะถูกปรับสูงสุด 2.5 พันล้านรูปี (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)   อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่นี้ มีข้อยกเว้นสำหรับรัฐบาลและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย อาทิ อนุญาตให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลได้ในกรณีความมั่นคงของประเทศและเหตุฉุกเฉิน เช่น โรคระบาดและแผ่นดินไหว รวมถึงออกคำสั่งเพื่อปิดกั้นเนื้อหาตามคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลอาจใช้อำนาจในการแสวงหาข้อมูลจากบริษัทต่าง ๆ และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การสอดแนมมากขึ้น     ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : …