ไบเดนลงนามคำสั่งพิเศษยกระดับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ท่าเรือเพื่อป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

    เว็บไซต์ BNNbreaking รายงาน เมื่อ 21 ก.พ.67 ว่า นายโจเซฟ ไบเดน ประธานาธิบดีของสหรัฐฯ ลงนามในคำสั่งพิเศษ (Executive Order) ในวันเดียวกัน เพื่อยกระดับมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลของสหรัฐฯ โดยให้อำนาจแก่หน่วยยามฝั่งกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยทางไซเบอร์ใหม่สำหรับท่าเรือ รวมถึงป้องกันและรับมือต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานที่นำเข้าจากต่างประเทศ    คำสั่งพิเศษนี้มีจุดเริ่มต้นมาจาก กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (Department of Homeland Security – DHS) ต้องการขยายอำนาจในการต่อต้านภัยคุกคามทางไซเบอร์ทางทะเลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจแก่กองทัพสหรัฐซึ่งรับผิดชอบทางด้านไซเบอร์ดำเนินการกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับท่าเรือทั้งเชิงรุกและเชิงรับ   หน่วยยามฝั่งจะต้องตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลของสหรัฐฯ และมีอำนาจสั่งให้เรือที่ต้องสงสัยว่าเป็นภัยคุกคามหยุดเดินเรือ เพื่อดำเนินการตรวจสอบได้ นอกจากนี้ ยังให้มีการจัดทำรายงานการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางทะเลอีกด้วย   สหรัฐฯ ตระหนักว่าการโจมตีทางไซเบอร์ต่อโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางทะเล ได้แก่ ท่าเรือ โครงข่ายไฟฟ้า ท่อส่งไฟฟ้า ถือเป็นภัยคุกคามที่ร้ายแรง ซึ่งการตรวจสอบด้านไซเบอร์ อาทิ การโจมตีของแรนซัมแวร์ (Ransomware Attacks) หรือการติดมัลแวร์ (Malware Infection) และการทำให้ภารกิจท่าเรือหยุดชะงัก จะสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างรวดเร็ว  …

รายงานวุฒิสภาสหรัฐฯ เผยถึงความล้มเหลวด้านข่าวกรองและการบังคับใช้กฎหมายของสหรัฐฯ

Loading

  วุฒิสภาสหรัฐฯ ได้เผยแพร่รายงานเมื่อ 27 มิ.ย.66 ระบุว่า สำนักงานสอบสวนกลาง (FBI) กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ และหน่วยงานรัฐบาลกลางอื่น ๆ เพิกเฉยหรือมองข้ามคำเตือนและการเรียกร้องให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดเพื่อระงับเหตุรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งยังล้มเหลวในการแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย จนนำไปสู่เหตุจลาจลและการโจมตีอาคารรัฐสภาสหรัฐฯ เมื่อ 6 ม.ค.65 นอกจากนี้ก่อนการโจมตีเพียงไม่กี่วัน การเฝ้าระวังและติดตามภัยคุกคามบนสื่อสังคมออนไลน์ของ FBI ได้ลดลงอย่างมาก เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงสัญญาที่เกี่ยวกับบุคคลที่สามในสื่อสังคมออนไลน์ ภายในรายงานยังเน้นคำพูดของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของ FBI สองคนที่ได้ให้สัมภาษณ์ว่า “พวกเขาไม่ทราบว่ารัฐสภาอาจจะถูกปิดล้อม” อย่างไรก็ดี ผู้แทนของ FBI กล่าวแย้งว่า FBI มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในช่วงก่อนและในวันที่ 6 ม.ค.65 อาทิ การตั้งกองบัญชาการร่วม และหลังเหตุการณ์ก็ได้แบ่งปันข้อมูลอย่างรวดเร็ว           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …

กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐ เปิดโครงการ Hack DHS ชวนแฮ็กเกอร์หาช่องโหว่ รับเงินรางวัล

Loading

  กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐ (Department of Homeland Security หรือ DHS) เปิดโครงการ bug bounty เชิญชวนแฮ็กเกอร์สายขาวมาแฮ็กระบบของ DHS พร้อมรับเงินรางวัลตอบแทน โครงการนี้มีชื่อว่า “Hack DHS” มีกิจกรรมทั้งการค้นหาช่องโหว่แบบออนไลน์ และกิจกรรมออฟไลน์ให้แข่งขันกัน หลังจากนั้น DHS จะมาสรุปบทเรียนและพัฒนาเป็นโครงการในระยะถัดไป Alejandro N. Mayorkas รัฐมนตรี DHS ให้สัมภาษณ์ว่ารัฐบาลสหรัฐต้องการยกระดับความปลอดภัยของระบบไอที ดังนั้น DHS จึงต้องทำตัวเป็นตัวอย่างก่อนใครเพื่อน โครงการ Hack DHS เกิดขึ้นมาเพื่อค้นหาจุดโหว่ของระบบของ DHS เอง และต้องการเป็นต้นแบบให้องค์กรภาครัฐอื่นๆ ทำตาม   ที่มา – Department of Homeland Security   —————————————————————————————————————————————————————————- ที่มา : Blognone by mk     …

กระทรวงความมั่นคงฯ เตือนกลุ่มสุดโต่งอาจฉวยโอกาสโจมตีหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19

Loading

    เมื่อวันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ หรือ DHS ออกคำเตือนใหม่ซึ่งระบุว่าการผ่อนคลายมาตรการจำกัดเกี่ยวกับโควิด-19 อาจทำให้กลุ่มสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงใช้เป็นโอกาสเพื่อโจมตีในสหรัฐฯ ได้ การผ่อนคลายข้อจำกัดเกี่ยวกับมาตรการควบคุมโควิด-19 ทำให้เจ้าหน้าที่ด้านต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐฯ กังวลว่าสภาพแวดล้อมของการควบคุมที่เปลี่ยนไปอาจทำให้กลุ่มแนวคิดแบบสุดโต่งหลายกลุ่มฉวยโอกาสเพื่อโจมตีครั้งใหม่ได้ โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ได้เตือนเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้วว่าสภาพแวดล้อมของภัยคุกคามขณะนี้มีทั้งความผันผวนและความสลับซับซ้อนมากขึ้นเมื่อเทียบกับในช่วงที่มีมาตรการควบคุมเรื่องโควิด-19 อย่างเข้มงวดและมีการจำกัดจำนวนคนในสถานที่สาธารณะต่างๆ คำเตือนของกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิสหรัฐฯ ดังกล่าวไม่ได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับภัยคุกคามอย่างเฉพาะเจาะจงเพียงแต่ระบุว่าภัยคุกคามอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากกลุ่มแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงภายในประเทศหรือที่มีชื่อย่อโดยรวมว่า DVE และจากกลุ่มสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงซึ่งมีสาเหตุจูงใจจากเรื่องเชื้อชาติหรือชาติพันธ์หรือที่เรียกว่ากลุ่ม RMVE ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้มักมุ่งเป้าโจมตีสถานที่สักการะทางศาสนา สถานที่ซึ่งเป็นที่ชุมนุมของคนจำนวนมาก รวมทั้งที่ตั้งของหน่วยงานรัฐบาลเป็นต้น พร้อมทั้งยังเตือนว่ากลุ่มสุดโต่งที่นิยมแนวทางรุนแรงเหล่านี้กำลังผลักดันข่าวสารการโฆษณาชวนเชื่อทั้งทางออนไลน์และทางสื่อสังคมต่างๆ เพื่อพยายามฉวยประโยชน์จากความไม่พอใจด้านความไม่ยุติธรรมทางสังคมและเชื้อชาติและความกังวลเกี่ยวกับการใช้กำลังรุนแรงของตำรวจ เป็นต้น แต่นอกจากภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศแล้ว กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิของสหรัฐฯ ยังเตือนเรื่องภัยคุกคามจากนอกประเทศ เช่น จากกลุ่มรัฐอิสลามหรือ IS กลุ่มอัลไคด้า และจากบางประเทศ เช่นรัสเซียกับจีนเป็นต้น โดยกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิได้ระบุในคำแถลงว่าทางกระทรวงได้เพิ่มความพยายามขึ้นเป็นสองเท่าเพื่อตรวจจับและสกัดกั้นการก่อการร้ายทั้งจากภายในและภายนอกประเทศรวมทั้งการใช้กำลังรุนแรงซึ่งมุ่งต่อเป้าหมายต่างๆ ขณะที่พยายามปกปักรักษาความเป็นส่วนตัวของประชาชนรวมทั้งสิทธิและเสรีภาพของพลเมืองด้วย คำเตือนจากกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิที่ว่านี้มีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากที่ทางกระทรวงประกาศเรื่องการตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อรวบรวมข้อมูลข่าวกรองและรับมือกับกลุ่มก่อการร้ายในประเทศโดยเฉพาะ คำเตือนเรื่องภัยคุกคามดังกล่าวดูจะสอดคล้องกับคำเตือนจากภาคเอกชนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ซึ่งนายโคลิน คล้าก ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและวิจัยของ The Soufan Group บริษัทที่ปรึกษาด้านความมั่นคงและข่าวกรองได้กล่าวไว้ระหว่างการประชุมออนไลน์ว่า ขณะที่คนอเมริกันต้องการจะกลับคืนสู่สภาวะปกติหลังโควิด-19 นั้นการผ่อนคลายเรื่องนี้ก็ทำให้เกิดจุดอ่อนและความเสี่ยงตามมา เพราะจะเป็นโอกาสให้กลุ่มก่อการร้ายต่างๆ เร่งสร้างเครือข่าย รับสมัครสมาชิกใหม่ ระดมหาทุนและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันได้ง่ายขึ้น เมื่อต้นปีนี้ สำนักงานผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติของสหรัฐฯ…