วิเคราะห์อนาคตเมืองสแกมเมอร์ทุนจีนในเมียวดี ทำไมยังอาจรอดปลอดภัยท่ามกลางไฟสงคราม

Loading

พ.อ.ชิต ตุ ผู้นำกองกำลังกะเหรี่ยงแห่งชาติหรือเคเอ็นเอ (Karen National Army-KNA) ซึ่งเคยเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยงบีจีเอฟ (Karen Border Guard Force-Karen BGF) ให้กับกองทัพเมียนมาเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ชายแดนรัฐกะเหรี่ยงที่อยู่ติดกับชายแดนไทย กำลังเป็นตัวแปรสำคัญในสนามประลองยุทธ์ในเมืองเมียวดี ซึ่งมีการปะทะกันระหว่างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่นำโดยสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติหรือเคเอ็นยู (Karen National Union-KNU) และกองทัพเมียนมา

กลุ่มชายติดอาวุธบุกสถานีโทรทัศน์เอกวาดอร์

Loading

วันนี้ (10 ม.ค.2567) ความมั่นคงในเอกวาดอร์สั่นคลอนอย่างมากหลังสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา หัวหน้ากลุ่มอาชญากรรมกลุ่มใหญ่หายตัวไปจากเรือนจำความปลอดภัยสูง ส่งแรงกระเพื่อมให้เกิดการจลาจลตามเรือนจำ และเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ

Bitkom ประเมินว่าภัยไซเบอร์อาจสร้างความเสียหายให้เยอรมนีสูงถึง 7 ล้านล้านบาท

Loading

  Bitkom สมาคมดิจิทัลเยอรมันเผยว่าการอุปกรณ์ไอที ข้อมูล และปฏิบัติการที่สร้างความเสียหายทางดิจิทัล จะสร้างความเสียหายให้แก่เยอรมนีถึง 206,000 ล้านยูโร (ราว 7.8 ล้านล้านบาท) ในปี 2023   จากการสำรวจมากกว่า 1,000 บริษัท พบว่ามูลค่าความเสียหายที่ Bitkom คาดการณ์ไว้นี้จะต่อเนื่องไปเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน   รัลฟ์ วินเทอร์เกอร์สต์ (Ralf Wintergerst) ประธาน Bitkom ชี้ว่าเศรษฐกิจเยอรมนีเป็นเป้าหมายที่ดึงดูดอาชญากรและรัฐศัตรูมาก อีกทั้งเส้นแบ่งระหว่างผู้คุกคามที่เป็นกลุ่มอาชญากรรมกับรัฐก็ค่อนข้างเลือนราง   อย่างไรก็ดี ตัวเลขของบริษัทที่ถูกโจมตีในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมานั้นลดลงเหลือเพียงราว 75% จาก 84% ของปีก่อนหน้า ซึ่งรัลฟ์เชื่อว่าเกิดจากมาตรการป้องกันที่ได้ผล และการที่บริษัทต่าง ๆ ยอมรับผลกระทบจากการโจมตีไซเบอร์มากขึ้น (จากที่มีเพียง 9% ยอมรับเมื่อ 2 ปีก่อน มาเป็น 52% ในปีนี้)   สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้น บริษัทส่วนใหญ่เผยว่าถูกขโมยข้อมูล…

ปฏิบัติการแอปลับ ‘ANOM’ อาชญากรติดกับโดนจับทั่วโลก

Loading

  FBI กับตำรวจออสเตรเลีย ร่วมมือผุดปฏิบัติการแอปแชตลับ ANOM อาชญากรในหลายสิบประเทศหลงกลใช้งาน สุดท้ายโดยจับทั่วโลกเกือบพันคน   ปฏิบัติการนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อ 3 ปีก่อน เจ้าหน้าที่พยายามแพร่กระจายแอปเข้าสู่เครือข่ายใต้ดิน จนอาชญากรเริ่มใช้งานอย่างแพร่หลายใน 100 ประเทศทั่วโลก   เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากอาชญากรตัวเป้ง ซึ่งหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนมันกระจายเป็นวงกว้างมากขึ้น   เมื่อวันอังคารที่ 8 มิ.ย. 2564 หน่วยงานตำรวจในหลายประเทศทั่วโลก ประกาศข่าวการจับกุมตัวอาชญากรจำนวนกว่า 800 คน ซึ่งถูกหลอกให้ใช้แอปพลิเคชันส่งข้อความเข้ารหัสที่ชื่อว่า ‘ANOM’ (อานอม) ซึ่งดูเหมือนจะปลอดภัย แต่แท้จริงแล้ว แอปนี้กลับถูกบริหารจัดการโดย FBI ของสหรัฐฯ   ปฏิบัติการที่ว่านี้เป็นความร่วมมือระหว่าง FBI กับตำรวจออสเตรเลีย โดยแพร่กระจายแอป ANOM ไปในหมู่แก๊งอาชญากรรมอย่างลับๆ ทำให้เจ้าหน้าที่สามารถดักฟังข้อมูลต่างๆ ได้มากมายไม่ว่าจะเป็นแผนลักลอบขนยาเสพติด, การฟอกเงิน หรือแม้แต่แผนฆาตกรรม   นอกจากนั้น เจ้าหน้าที่ยังได้รับความช่วยเหลือโดยไม่ตั้งใจจากอาชญากรตัวเอ้ ซึ่งหลบหนีการจับกุมมานานกว่า 10 ปี แต่กลับหลงกลตำรวจและนำแอปไปแนะนำต่อ จนนำไปสู่ความสำเร็จของปฏิบัติการที่เอฟบีไอระบุว่า…