สนามบินญี่ปุ่นจะใช้เทคโนโลยี “สแกนใบหน้า” ในระบบตรวจคนเข้าเมือง

Loading

กระทรวงยุติธรรมของญี่ปุ่นจะติดตั้งเทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” ตามสนามบินต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมืองสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2019 นักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าออกประเทศญี่ปุ่นจะผ่านขั้นตอนการตรวจคนเข้าเมืองโดยการสแกนใบหน้า ซึ่งเมื่อคอมพิวเตอร์เทียบข้อมูลกับภาพถ่ายที่เข้ารหัสไว้ในไมโครชิปที่ฝังไว้ในหนังสือเดินทางแล้ว ประตูอัตโนมัติก็จะเปิดออก ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาเพียง 15 วินาทีเท่านั้น และภาพถ่ายใบหน้าที่สแกนไว้จะถูกลบทันทีเมื่อการตรวจสอบเสร็จสิ้นเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล เทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” จะถูกนำมาใช้ตามสนามบินหลักทั่วประเทศญี่ปุ่นในปี 2019 เพื่อลดเวลาต่อแถวในการตรวจคนเข้าเมือง และจะได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ไปปฏิบัติภารกิจอื่น เช่น การป้องกันการก่อการร้าย ในช่วงก่อนที่กรุงโตเกียวจะเป็นเจ้าภาพโอลิมปิกในปี 2020 ปัจจุบันมีเครื่องสแกนใบหน้าติดตั้งอยู่ที่สนามบินฮาเนดะจำนวน 3 เครื่อง แต่จะเพิ่มเป็น 137 เครื่องในปีหน้า และยังจะติดตั้งในสนามบินนาริตะ, สนามบินชูบุ, สนามบินคันไซ และสนามบินฟุกุโอกะ เมื่อปี 2007 ญี่ปุ่นได้ใช้ระบบสแกนลายนิ้วมือในการตรวจคนเข้าเมือง แต่กลับมีชาวญี่ปุ่นและนักท่องเที่ยวใช้เพียงแค่ร้อยละ 7.9 เท่านั้น เนื่องจากต้องลงทะเบียนลายนิ้วมือก่อน แต่ระบบสแกนใบหน้านี้เป็นการเปรียบเทียบกับภาพในหนังสือเดินทาง ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใดๆ รัฐบาลญี่ปุ่นตั้งเป้าจะให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเยือนญี่ปุ่น 40 ล้านคนในปี 2020 จึงจำเป็นใช้เทคโนโลยีเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจคนเข้าเมือง ธนาคารก็ใช้ “สแกนใบหน้า” แทนรหัสลับ เทคโนโลยี “จดจำใบหน้า” ยังกำลังถูกทดลองใช้โดยธนาคารต่างๆ ในญี่ปุ่นเพื่อยืนยันตัวตน โดยให้เจ้าของบัญชีใช้กล้องบนสมาร์ทโฟนถ่ายภาพตัวเอง…

บึ้ม!กลางอัฟกานิสถาน ดับเกือบ 40 ราย

Loading

เกิดเหตุระเบิดในเมืองกันดาฮาร์ ของประเทศอัฟกานิสถานถึง 2 ครั้งในวันเดียวกัน ทำให้นักข่าวเสียชีวิต 1 ราย โดยล่าสุดยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มเป็น 38 คน ขณะที่สหรัฐฯและยูเอ็นประณามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น วันนี้ (1 พ.ค. 61) สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มือระเบิดปลิดชีพตนเอง 1 คนก่อเหตุระเบิดในจังหวัดกันดาฮาร์ทางใต้ของอัฟกานิสถานเมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) โดยมีเป้าหมายที่ขบวนรถของทหารนาโต้ แต่ผู้เสียชีวิตกลับเป็นเด็กนักเรียน 11 คนที่อยู่ในโรงเรียนสอนศาสนาที่ตั้งอยู่ริมถนน ใกล้กับจุดที่เกิดเหตุระเบิดและมีผู้บาดเจ็บอีก 16 คน โดยเป็นทหารนาโต้จากโรมาเนีย 8 คน นอกนี้เป็นตำรวจและพลเรือนอัฟกานิสถานอีก 8 คน โดยเหตุระเบิดที่กันดาฮาร์ดังกล่าวยังเกิดขึ้นในวันเดียวกับเหตุระเบิดปลิดชีพตนเอง 2 ครั้งซ้อนในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิต 26 คน ซึ่งรวมถึงผู้สื่อข่าวและช่างภาพ 9 คนและมีผู้บาดเจ็บอีก 49 คน ขณะที่ในวันเดียวกัน เกิดเหตุผู้สื่อข่าวชาวอัฟกานิสถาน 1 คนของสำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษ ภาคภาษาอัฟกานิสถาน ถูกยิงเสียชีวิตในเมืองคอสต์ ทางตะวันออกของอัฟกานิสถาน ทำให้ยอดรวมผู้เสียชีวิตใน 3 เมืองดังกล่าวเพิ่มเป็น 38 คน ซึ่งรวมถึงผู้สื่อข่าวและช่างภาพที่เสียชีวิตมากถึง 10 คนด้วย นับเป็นวันที่มีสื่อมวลชนเสียชีวิตมากที่สุดในอัฟกานิสถานในรอบ 17 ปีนับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ด้านกลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) ออกมาอ้างความรับผิดชอบเฉพาะเหตุระเบิด 2 ครั้งซ้อนในกรุงคาบูล ทั้งนี้ นายไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯคนใหม่ ประณามเหตุระเบิดและเหตุร้ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ (30 เม.ย.) ในอัฟกานิสถาน ซึ่งโฆษกของนายอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยูเอ็นร่วมประณามด้วย ที่มา : TNN24 1 พ.ค. 61, 13.37 น. ลิงค์ : http://www.tnnthailand.com/news_detail.php?id=166302&t=news

US-CERT เตือน! รัสเซียหนุนหลังการโจมตีอุปกรณ์ Network ทั่วโลก พร้อมเผยแนวทางระวังตัวสำหรับ Vendor, ISP, องค์กร และผู้ใช้งาน

Loading

ในการแจ้งเตือนรหัส TA18-106A ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน FBI, DHS และ NCSC ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการที่รัฐบาลรัสเซียได้หนุนหลังให้มีการโจมตีเจาะช่องโหว่ของอุปกรณ์ Router, Switch, Firewall, IDS และอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการรายงานถึงกลวิธี, เทคนิค และกระบวนการที่ถูกใช้ในการโจมตีครั้งนี้ ทั้งนี้ในรายงานนี้ก็ได้ระบุด้วยว่าทางรัฐบาลสหรัฐนั้นตรวจพบการโจมตีที่สนับสนุนโดยรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว โดยเป้าหมายในการโจมตีหลักๆ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ การเจาะช่องโหว่ใน Protocol เก่าๆ และเหล่าองค์กรที่ไม่ดูแลด้าน Security ของตนเอง การโจมตี Router เพื่อเข้าตรวจสอบและควบคุม Traffic ต่างๆ รวมถึงระบบ Industrial Control System (ICS) การเจาะอุปกรณ์ Network ต่างๆ โดยตรง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เหล่าผู้ใช้งานมักไม่ดูแลให้ปลอดภัย ไม่แก้ไขอะไรตราบเท่าที่ยังใช้งานได้ รวมถึงหากอุปกรณ์เหล่านี้ผู้ผลิตไม่สนับสนุนการใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานก็มักยังคงใช้งานต่อไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกเจาะได้สำเร็จแล้ว ผู้ใช้งานก็มักจะไม่รู้ตัว และไม่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ออกจากเครือข่ายด้วย โดยทาง US-CERT ได้เตือนให้เฝ้าระวัง…

ย้อนประวัติศาสตร์อาวุธเคมี

Loading

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในเมืองดูมาของซีเรีย รวมทั้งข่าวการใช้สารทำลายระบบประสาทหวังลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ ทำให้เรื่องอาวุธเคมีกลายเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจอีกครั้ง บีบีซีขอย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้อาวุธเคมีซึ่งเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว นายฮามิช เดอ เบรต์ตอง-กอร์ดอง อดีตทหารอังกฤษ และเจ้าหน้าที่หน่วยอาวุธเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์องค์การนาโต เล่าว่า อาวุธเคมีชนิดแรกของโลกคือ คลอรีน (Chlorine) เป็นสารทําลายระบบทางเดินหายใจ (Choking agent) แม้ในตอนแรกมันจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อพิการมากกว่าทำให้เสียชีวิต แต่ที่ผ่านมาอาวุธชนิดนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก สารคลอรีนถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเมืองอีเพรส์ครั้งที่ 2 ในเบลเยียม เมื่อปี 1915 และสร้างความหายนะครั้งใหญ่หลวง เพราะตอนนั้นยังไม่เคยมีการใช้สารคลอรีนเป็นอาวุธทางการทหารมาก่อน แม้จะเป็นสารเคมีพื้นฐานก็ตาม ต่อมาก็มีการใช้แก๊สมัสตาร์ด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและเกิดแผลพุพอง (Blister agents) จากนั้นกองทัพนาซีเยอรมนีได้พัฒนาสารทำลายระบบประสาท (Nerve agents) ขึ้น โดยเป็นสารสังเคราะห์จากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และพบว่าสารทาบุน และโซมาน สามารถฆ่าคนได้มีประสิทธิภาพ สารทำลายระบบประสาทถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1984-1988 ซึ่งเหตุโจมตีเมืองฮาลับยาในอิรัก เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1988 ยังติดอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คนในเหตุโจมตีวันนั้น ปัจจุบันอาวุธเคมีกลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง…

ทรัมป์ประณามการใช้อาวุธเคมีโจมตีในซีเรีย เปรียบ อัสซาด เป็น “สัตว์”

Loading

ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ออกโรงประณามประธานาธิบดีบาชาร์ อัล อัสซาด ของซีเรีย พร้อมชาติพันธมิตรอย่างรัสเซีย และอิหร่าน ว่าอยู่เบื้องหลังเหตุใช้อาวุธเคมีโจมตีเมืองดูมา ในเขตกูตาตะวันออก โดยผู้นำสหรัฐฯ เปรียบผู้นำซีเรียเป็น “สัตว์” ชี้จะต้องชดใช้ต่อเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างสาสม คาดว่ามีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากเหตุโจมตีเมืองดูมา ซึ่งเป็นพื้นที่ยึดครองแห่งสุดท้ายของกลุ่มกบฏในซีเรียเมื่อวานนี้ (7 เม.ย.) ประธานาธิบดีทรัมป์ ทวีตข้อความในวันนี้ว่า “ผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ทั้งผู้หญิงและเด็ก ในเหตุโจมตีด้วยอาวุธเคมีอย่างไร้เหตุผลในซีเรีย” และว่าจุดเกิดเหตุเป็นบริเวณที่ถูกปิดและโอบล้อมด้วยกองทัพซีเรีย ทำให้คนจากภายนอกเข้าไปไม่ถึง ผู้นำสหรัฐฯ ชี้ว่า “ประธานาธิบดีปูติน รัสเซีย และอิหร่าน มีส่วนรับผิดชอบด้วยเพราะสนับสนุน เจ้าสัตว์อัสซาด” นายทรัมป์ประกาศว่า คนเหล่านี้จะต้องชดใช้ต่อกรณีที่เกิดขึ้นอย่างสาสม และเรียกร้องให้เปิดพื้นที่ในทันทีเพื่อนำความช่วยเหลือด้านการแพทย์ไปให้ผู้ประสบภัยและให้มีการสอบสวนเรื่องนี้ “เป็นอีกหายนะด้านมนุษยธรรมที่ไร้เหตุผลสิ้นดี บ้าบอชัด ๆ!” ด้านสหราชอาณาจักรเรียกร้องให้เปิดการสอบสวนเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน ขณะที่สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสตรัสว่าไม่มีเหตุผลใด ๆ จะใช้อ้างความชอบธรรมในการใช้อาวุธเคมีโจมตีได้ ก่อนหน้านี้หน่วยกู้ภัยและทีมแพทย์ ระบุว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 70 ราย ในการโจมตีครั้งนี้ โดยอาสาสมัครกู้ภัยได้ทวีตภาพผู้เสียชีวิตหลายรายภายในห้องใต้ดิน พร้อมระบุว่ามีแนวโน้มที่จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นอีก แต่ยังคงไม่มีการยืนยันตัวเลขอย่างเป็นทางการจากฝ่ายองค์กรที่เป็นอิสระ องค์กรมอบความช่วยเหลือทางการแพทย์ (The Union of…

ใครอยู่เบื้องหลังการโจมตีในยุโรปและอเมริกาเหนือ?

Loading

บีบีซีร่วมกับผู้เชี่ยวชาญการก่อการร้ายและปฏิบัติการของพวกหัวรุนแรงนอกองค์กรรวบรวมและวิเคราะห์เหตุการณ์โจมตีที่เกิดขึ้นในโลกตะวันตกเพื่อให้เห็นว่ารูปแบบของปฏิบัติการเหล่านี้เป็นอย่างไร ดร.ลอเรนโซ วิดิโน ผู้อำนวยการโครงการศึกษากลุ่มที่มีแนวความคิดสุดโต่งของมหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งข้อมูลของบีบีซีชี้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตในโลกตะวันตกจากน้ำมือของนักรบจิฮัดในช่วงสามปีที่ผ่านมามีจำนวนรวมกันถึง 420 คนแล้ว ต่อไปนี้เป็นการจำแนกข้อมูลคร่าว ๆ ของรูปแบบการโจมตี ซึ่งมีทั้งสถานที่ อายุของผู้ปฏิบัติการ สถานะคนเข้าเมือง และความเกี่ยวเนื่องกับองค์กร เช่น กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (ไอเอส) การโจมตีมักจะเกิดขึ้นที่ใด การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้งในช่วงตั้งแต่เดือน ก.ย.ปี 2014 (หลังคำประกาศแนวทางการต่อสู้ของ “กาหลิบ” โดยไอเอส) มาถึงจนปลายเดือน ส.ค. 2017 ประเทศถูกที่โจมตีก็คือยุโรปเก้าประเทศ ประกอบด้วยสหรัฐและแคนาดา เป้าหมายคือเมืองใหญ่ที่มีคนจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นนครบาร์เซโลนาของสเปน, กรุงลอนดอนและเมืองแมนเชสเตอร์ของอังกฤษ, กรุงปารีสและเมืองนีซของฝรั่งเศส กรุงเบอร์ลินของเยอรมนี กรุงบรัสเซลล์ของเบลเยียม กรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน และเมืองออร์แลนโดของสหรัฐฯ การโจมตีเกิดขึ้น 63 ครั้ง ทำให้คน 424 คนเสียชีวิตและทำให้คนมากกว่า 1,800 คนได้รับบาดเจ็บ โดยไม่นับรวมผู้ที่ก่อการที่มักเสียชีวิตในขณะที่โจมตีด้วย การโจมตีในกรุงปารีสเมื่อเดือนพ.ย. 2015 เป็นครั้งร้ายแรงที่สุด มีผู้เสียชีวิตถึง 130 คน…