‘จอร์แดน’ ทลายแผนลักลอบขนอาวุธเข้าประเทศหวังก่อวินาศกรรม

Loading

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างข้อมูลวงในชาวจอร์แดนสองรายว่า อาวุธดังกล่าวถูกส่งมาโดยกลุ่มติดอาวุธในซีเรียที่มีอิหร่านหนุนหลัง ให้กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในจอร์แดนที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายทหารของกลุ่มฮามาส อาวุธถูกยึดได้เมื่อสมาชิกกลุ่มซึ่งเป็นชาวจอร์แดนเชื้อสายปาเลสไตน์ถูกจับกุมเมื่อปลายเดือน มี.ค.

อินเดียกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงในรัฐจัมมูและแคชเมียร์รับการเยือนของนายกรัฐมนตรีอินเดีย

Loading

สำนักข่าว Indianexpress รายงานเมื่อ 19 ก.พ.67 ว่า อินเดียกำหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยระดับสูงในรัฐจัมมูและแคชเมียร์รับการเยือนของนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ในวันที่ 20 ก.พ.67 โดยประกาศให้เมืองจัมมูเป็น “เขตห้ามบินโดรนชั่วคราว (เขตสีแดง)” มีผลตั้งแต่ 19 ก.พ.67 เวลา 18.00 น. จนถึง 20 ก.พ.67 เวลา 23.00 น. ตามเวลาท้องถิ่น

กทพ.ฝึกซ้อมแผนการก่อวินาศกรรม ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ โครงสร้างทางพิเศษ ประจำปี 2566

Loading

  วันนี้ (18 กรกฎาคม 2566) เวลา 19.00 น.การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กระทรวงคมนาคม จัดการฝึกซ้อมแผนการก่อวินาศกรรมด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ/โครงสร้างทางพิเศษ ประจำปี 2566 โดยมี นางชินนาฏ คุณเจริญ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ กทพ. เป็นประธานในการฝึกซ้อมฯ ณ ด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษอาจณรงค์ 3 นางชินนาฏ คุณเจริญ รองผู้ว่าการฝ่ายปฏิบัติการ กทพ. กล่าวว่า กทพ. มีกรอบและทิศทางการดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ “องค์กรนวัตกรรมเพื่อการเดินทางและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น (Innovation for better drive and better life)” โดยมุ่งมั่นพัฒนาเพื่อให้มีการให้บริการที่ดีแก่ประชาชนมาโดยตลอดในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างฉับพลันได้บ่อยขึ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานหรือการให้บริการขององค์กรต้องหยุดชะงัก การฝึกซ้อมตามแผนบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจของ กทพ. (Business Continuity Plan : BCP) จึงถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ กทพ. ให้ความสำคัญและจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้ ก็เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเตรียมความพร้อมล่วงหน้าในการรับมือกับภาวะวิกฤตหรือเหตุการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้มั่นใจว่า กทพ.…

ยูเครนรับเอี่ยวเหตุระเบิด “สะพานไครเมีย” ในปี 2022

Loading

  สำนักข่าวซินหัว รายงานเมื่อ 28 พ.ค. ว่า วันเสาร์ (27 พ.ค.) หน่วยงานความมั่นคงยูเครน (SSU) ยอมรับว่ามีการดำเนิน “มาตรการบางอย่าง” ที่เชื่อมโยงกับเหตุระเบิดบนสะพานไครเมียเมื่อเดือนตุลาคม 2022   วาซิล มาลุค หัวหน้าหน่วยงานฯ ระบุว่ายูเครนดำเนินมาตรการบางอย่างตามกฎหมายของประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ รวมถึงขนบธรรมเนียมและประเพณีการทำสงคราม โดยคำนึงถึงข้อเท็จจริงว่าสะพานไครเมียเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่ต้องตัดขาดจากฝ่ายศัตรู ทว่าขณะนี้ยังเร็วเกินไปที่จะเปิดเผยรายละเอียดของ “ปฏิบัติการพิเศษ” ต่อสาธารณชน   อนึ่ง เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2022 เกิดเหตุระเบิดรุนแรงที่สะพานไครเมีย ความยาว 19 กิโลเมตร ซึ่งประกอบด้วยทางคู่ขนานสำหรับยานยนต์และรถไฟเหนือช่องแคบเคิร์ช โดยรถบรรทุกคันหนึ่งระเบิดบนสะพานฯ ทำให้ถังน้ำมันบนรถไฟ 7 ถัง ที่มุ่งหน้าสู่คาบสมุทรไครเมียเกิดไฟลุกไหม้ ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 3 ราย และสะพานพังทลายบางส่วน     (แฟ้มภาพซินหัว : ผู้คนเดินผ่านอาคารที่พังเสียหายในเมืองมารีอูปอล วันที่ 18 ก.พ. 2023)…

ผลสอบชี้ไฟไหม้ค่ายผู้อพยพโรฮีนจา มีการวางแผนจงใจก่อวินาศกรรม

Loading

    ทางการบังกลาเทศเผยผลสอบหาสาเหตุของไฟไหม้ครั้งใหญ่ภายในค่ายผู้ลี้ภัยในเมืองค็อกซ์ บาซาร์ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของบังกลาเทศ ว่าน่าจะมีการวางแผน และจงใจก่อวินาศกรรม   บังกลาเทศเผยผลการสอบสวนหาสาเหตุเพลิงไหม้ค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์ บาซาร์ ค่ายผู้ลี้ภัยขนาดใหญ่ที่สุดในโลกในบังกลาเทศ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่าน่าจะมีการวางแผนและจงใจก่อวินาศกรรม โดยเพลิงไหม้รุนแรงเมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมาได้เผาเพิงพักของผู้ลี้ภัยวอดกว่า 2,800 หลัง ทำให้ผู้อพยพชาวโรฮีนจากว่า 15,000 คนต้องไร้ที่อยู่อาศัย เคราะห์ดีที่ไม่มีใครเสียชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้     เจ้าหน้าที่ภาครัฐของบังกลาเทศระบุว่าไฟไหม้ครั้งนี้น่าจะเป็นการจงใจวางแผนที่จะลอบวางเพลิงโดยกลุ่มติดอาวุธ เห็นได้จากการเกิดไฟไหม้ในหลายๆ จุดพร้อมกัน จากการสอบถามพยานราว 150 ปาก โดยขณะนี้ทางการกำลังเร่งสอบสวนเชิงลึกเพื่อหาว่ากลุ่มกองกำลังกลุ่มใดที่เป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้   ทั้งนี้ค่ายผู้ลี้ภัยค็อกซ์ บาซาร์ มีผู้อพยพที่ลี้ภัยมาจากเมียนมา อาศัยอยู่มากกว่า 1 ล้านคน โดยเพิงพักส่วนใหญ่ล้วนทำมาจากไม้ไผ่ และผ้าใบพลาสติก โดยการอาศัยอยู่รวมกันแบบแออัด ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ง่าย โดยในตอนแรกเจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า เหตุที่ไฟลุกลามอย่างรวดเร็วมาจากถังแก๊สในครัวเรือนภายในเขตค่ายที่พักของชาวโรฮีนจา   ในช่วงเดือนมกราคมปี 2021 และธันวาคม 2022 มีรายงานเหตุเพลิงไหม้ในค่ายผู้ลี้ภัยชาวโรฮีนจาถึง 22 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นการลอบวางเพลิง 60 ครั้ง โดยเหตุไฟไหม้ใหญ่เมื่อเดือนมีนาคมปี…

ข่าวกรองใหม่เผย ฝ่ายสนับสนุนยูเครนอาจมีเอี่ยววินาศกรรมท่อส่งก๊าซ

Loading

    มีข้อมูลใหม่ซึ่งบ่งชี้ว่า ฝ่ายสนับสนุนยูเครนอาจมีส่วนเกี่ยวพันในการก่อวินาศกรรมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีมเมื่อเดือน ก.ย. ปีที่แล้ว   หากใครยังจำกันได้ เมื่อช่วงปลายเดือน ก.ย. 2022 เกิดเหตุ “ท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม (Nord Stream)” ซึ่งเป็นท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลักจากรัสเซียไปยุโรป เกิดการรั่วไหลโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยข้อมูลในเวลาต่อมาพบร่องรอยวัตถุระเบิดในบริเวณที่ท่อส่งเกิดความเสียหาย และมีข้อยืนยันว่า นี่เป็นการ “ก่อวินาศกรรม”   ล่าสุดสื่อต่างประเทศรายงานว่า เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองของยุโรปและสหรัฐฯ ได้ข้อมูลใหม่ซึ่งบ่งชี้ว่า “ฝ่ายสนับสนุนยูเครนอาจมีส่วนเกี่ยวพันในการก่อวินาศกรรมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม”     หน่วยข่าวกรองเยอรมันเชื่อว่า ผู้ที่โจมตีท่อส่งก๊าซมีทั้งสิ้น 6 คน โดยพวกเขาใช้เรือยอร์ชที่ว่าจ้างจากบริษัทที่จดทะเบียนในโปแลนด์ และมีพลเมืองยูเครน 2 คนเป็นเจ้าของ   พวกเขาไม่พบหลักฐานใด ๆ ว่าใครเป็นผู้สั่งการ โดยบุคคล 6 คนที่มีส่วนร่วมในปฏิบัติการนำวัตถุระเบิดไปติดตั้งที่จุดเกิดเหตุนี้ประกอบด้วย กัปตันเรือ นักประดาน้ำ 2 คน ผู้ช่วยนักดำน้ำ 2 คน และแพทย์อีก 1 คน และคาดว่าทั้งหกคนใช้หนังสือเดินทางปลอม  …