รัฐบาลดิจิทัล (9) “เก็บ” ครั้งเดียวก็เกินพอ

Loading

  ทำไมต้องเอาสำเนาเอกสารราชการ ไปให้หน่วยงานรัฐที่เราไปติดต่อด้วย ทั้งๆ ที่เป็นเอกสารของราชการเอง แถมยังต้อง “ทำและรับรอง” สำเนาเท่ากับจำนวน “คำขอ” ที่เราจะยื่นอีก   หน่วยงานแห่งนั้นน่าจะยังไม่ได้ใช้ระบบไอที ทำให้แต่ละ “คำขอ” ต้องแนบเอกสารให้ครบจบในชุดเดียว จึงจะพิจารณาได้โดยไม่ต้องไปเปิดค้นเอกสารที่อื่นอีก ประชาชน“คนเดียว”มาติดต่อหลายเรื่องก็ต้องทำเป็น “หลายคำขอ”และสำเนาเอกสารแยกกัน   นี่เป็นการมองราชการเป็นศูนย์กลาง ถ้าหากมอง ประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) แล้ว ประชาชนหนึ่งคน จะยื่นกี่คำขอก็ต้องถือเป็นเรื่องเดียวกันถ้ายื่นพร้อมกัน   ส่วนการรับรองสำเนา น่าจะเกิดจากการที่หน่วยงานรัฐไม่สามารถตรวจสอบ “ความจริงแท้” ของเอกสารสำเนาได้ จึงต้องให้นำทั้งเอกสาร “ตัวจริง”มาแสดง พร้อมกับ “ลงนาม” รับรองสำเนาถูกต้อง ถือว่า ประชาชนเป็นผู้รับผิดชอบในเอกสารต่างๆ ที่ยื่นเข้ามา หากปลอมแปลงหรือเป็นเท็จ ก็มีฐานทางกฎหมายที่จะปฏิเสธการอนุญาตหรืออาจดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปได้   อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารนั้น ที่จริงแล้ว เป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับเรื่อง พ.ร.บ. วิ อิเล็กทรอนิกส์ จึงให้เจ้าหน้าที่ต้องเป็นคนทำสำเนาและลงนามรับรองเอกสารเอง ไม่ใช่ประชาชนผู้ยื่นเรื่องอีกต่อไป   หลักการ “การจัดเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว”…

‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

Big Data Is A Big Problem : เปลี่ยนดีเอ็นเอให้เป็นฮาร์ดไดร์ฟเก็บข้อมูล

Loading

By : sopon supamangmee | Feb 18, 2020 เคยมีคำถามกันบ้างไหมครับเวลาอัพโหลดรูปภาพบนเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือลงวิดีโอไว้บนยูทูบแล้วรูปไปอยู่ที่ไหน? เราใช้บริการเหล่านี้ในชีวิตประจำวันจนแทบไม่เคยตั้งคำถามหรือคิดถึงมันเลยด้วยซ้ำ หลายคนก็อาจจะตอบว่าก็คงไปอยู่บนคลาวน์ “ที่ไหนสักแห่งหนึ่ง” ที่มีพื้นที่มากมาย ซึ่งก็ไม่ผิด แต่ก็ไม่ถูกซะทีเดียว เพราะในความเป็นจริงแล้ว ไฟล์หรือข้อมูลเหล่านี้แม้ว่าจะอยู่ในรูปแบบดิจิทัล ไม่ใช่ปึกกองกระดาษเหมือนหนังสือเล่ม หรือม้วนวิดีโอ แต่ว่าไฟล์ดิจิทัลเหล่านี้ก็ยังต้องการพื้นที่สำหรับจัดเก็บที่เรียกว่า ‘data center’ หรือ ศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นที่ตึกที่เต็มไปด้วยเซิร์ฟเวอร์หลายพันหลายหมื่นตัว (มีการประมาณการจาก Gartner ว่าในปี 2016 กูเกิลมีเซิร์ฟเวอร์กว่า 2.5 ล้านตัวใน data center ของตัวเองทั่วโลก) ไฟล์ดิจิทัล แต่พื้นที่จัดเก็บนั้นไม่สามารถเป็นดิจิทัลได้ ไม่ใช่แค่ยักษ์ใหญ่อย่างกูเกิลเท่านั้นที่มี data center ขนาดเท่าสนามฟุตบอลกระจายอยู่ทั่วโลก บริษัทอื่นๆ อย่างเน็ตฟลิกซ์, ไลน์, วอทส์แอป, ทวิตเตอร์, แอมะซอน ฯลฯ หรือเรียกได้ว่าผู้ให้บริการออนไลน์ทุกเจ้าจะต้องมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ด้วยกันทั้งนั้น ทุกครั้งที่มีการส่งอีเมล แชร์รูปบนเฟซบุ๊ก สตรีมเน็ตฟลิกซ์ ค้นหาบนกูเกิล ​เซิร์ฟเวอร์เหล่านี้แหละที่ทำงานอยู่เบื้องหลังตลอดเวลา มีการคาดการณ์ว่าข้อมูลออนไลน์จะเติบโตจาก 33 ZB…