กระทรวงดิจิทัลไต้หวันชี้ พ.ค. เดือนเดียว รัฐบาลรับมือภัยไซเบอร์กว่า 60,000 ครั้ง
ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลของไต้หวันสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 64,804 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดใน 1 เดือน ในรอบ 1 ปี
ในเดือนพฤษภาคม หน่วยงานรัฐบาลของไต้หวันสามารถป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้มากถึง 64,804 ครั้ง ถือว่ามากที่สุดใน 1 เดือน ในรอบ 1 ปี
ปัญหาเรื่องความปลอดภัยของซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดกลุ่มมูลนิธิผู้พัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลายราย ประกาศจับมือกันเพื่อวาง “กระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัย” แล้ว
ความปลอดภัยของข้อมูลถือเป็นประเด็นสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ไม่ควรมองข้าม ด้วยจำนวนการโจมตีของแรนซัมแวร์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งยังมีความท้าทายในการจัดการข้อมูลข้ามเขตแดน และปัจจัยด้านภูมิรัฐศาสตร์ Keypoints : • ธุรกิจยุคใหม่ต้องเผชิญกับความท้าทายเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล • หากไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ อาจเผชิญข้อจำกัด บทลงโทษ หรือแม้แต่การกีดกันจากห่วงโซ่อุปทานในอุตสาหกรรม • ค่าปรับของการละเมิดแต่ละครั้งอาจสูงถึง 1.5 ล้านดอลลาร์ ผลการสำรวจโดย “ซินโนโลจี (Synology)” ผู้ให้บริการด้านการจัดการและปกป้องข้อมูล พบว่า บริษัทมากกว่า 80% ตระหนักถึงกฎหมายด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานการปกป้องข้อมูล แต่ยังขาดโซลูชันที่ครอบคลุมและการรักษาความปลอดภัยที่ปรับใช้ได้ โจแอน เวง ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระหว่างประเทศ ซินโนโลจี เปิดมุมมองว่า ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายที่มากขึ้นเรื่อยๆ ในเรื่องการจัดการและปกป้องข้อมูล ปรากฏการณ์เหล่านี้ได้เร่งให้เกิดการร่างกฎหมาย และข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องจากรัฐบาล และองค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก บางประเทศผ่านกฎหมายการจัดการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งระบุให้บริษัทต่าง ๆ ต้องมีระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยีและมาตรการที่เหมาะสม หลายบริษัทต้องได้รับการรับรองความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ยิ่งไปกว่านั้น หากธุรกิจไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านกฎระเบียบ พวกเขาอาจเผชิญกับข้อจำกัด…
EURECOM ได้พบช่องโหว่ที่สำคัญด้านความปลอดภัยระหว่างอุปกรณ์ 2 เครื่องที่เชื่อมต่อผ่าน Bluetooth ตามรายงานของ Bleeping Computer ได้เผยแพร่ข้อมมูลเกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าว แถมยังโจมตีได้ค่อนข้างง่ายระหว่างอุปกรณ์เชื่อมต่อของอุปกรณ์ทั้งสอง หากแฮ็กเกอร์ทำได้สำเร็จ แฮกเกอร์สามารถปลอมแปลงอุปกรณ์และเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ได้
Royal.uk เว็บไซต์ของราชวงศ์สหราชอาณาจักรถูกโจมตีทางไซเบอร์ในรูปแบบ Denial of Service (DoS) จนล่มเป็นเวลา 90 นาที เมื่อวันอาทิตย์ที่ 1 ตุลาคม ตั้งแต่เวลา 10.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) เว็บไซต์แห่งนี้เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 (Charles III) ราชินีคามิลลา (Camilla) และพระบรมวงศานุวงศ์ โดยเป็นแหล่งการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับทั้ง 2 พระองค์
กลาโหมสหรัฐฯ เตรียมยกเครื่องระบบไซเบอร์ ใช้แนวคิด Zero Trust ให้ระบบตรวจสอบทุกอย่าง แม้จะเป็นคนที่ไว้วางใจ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (Department of Defense) เตรียมยุทธศาสตร์และแผนงาน (Roadmap) ใหม่ โดยใช้แนวคิด Zero Trust เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีทางไซเบอร์ ของเหล่าแฮ็กเกอร์จากทั่วโลก แนวคิด Zero Trust คือ แนวคิดของระบบที่ไม่เชื่อถือใครเลย เช่น นายพล A เข้าระบบผ่านคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เพื่อทำงาน ในการใช้งานก็ต้องมีการยืนยันว่า เป็น นายพล A จริงไหม ? ทั้ง ๆ ที่เครื่องก็ตั้งอยู่ในห้องนายพล หรือแม้กระทั่งการจะทำอะไรก็ต้องมีการตรวจสอบยืนยันตัวตน ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อาทิ การใส่รหัส OTP เพิ่มเติมจาก Password ปกติ แนวคิด Zero Trust เป็นส่วนหนึ่งที่เชื่อว่าหลายฝ่ายจะช่วยลดการโจรกรรมข้อมูลและโจมตีทางไซเบอร์ของเหล่าแฮ็กเกอร์ได้ …
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว