ตรึงกำลังเข้ม 3 จว.ใต้ หลังมีประกาศ พร้อมพลีชีพ เผยเน้นเจรจามอบตัว

Loading

  เจ้าหน้าที่ตรึงกำลังเข้ม พร้อมเจรจาตามหลัก เผย BRN โพสต์พร้อมพลีชีพ ถือเป็นกลุ่มผิดกฎหมาย แต่จะกดดันมอบตัว ลดการสร้างเงื่อนไขในพื้นที่ วันที่ 29 ก.ย.2564 พ.อ.เกียรติศักดิ์ ณีวงษ์ โฆษกอ.รมน. ภาค 4 กล่าวว่าเจ้าหน้าที่ได้ตรึงกำลังเข้มงวดในพื้นที่ จ.ยะลา และ จ.ปัตตานี มากเป็นพิเศษ หลังสถานการณ์ที่ จ.นราธิวาส มีการปะทะไล่ล่าคนร้ายอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เมื่อวานนี้ จนมีอาสาสมัครทหารพรานเสียชีวิต 1 ราย ส่วนกรณีเพจเฟซบุ๊กอ้างตัวว่าเป็นกลุ่ม BRN (Barisan Revolusi National) ประกาศพร้อมรบแบบพลีชีพว่า เจ้าหน้าที่ถือว่ากลุ่มคนเหล่านี้กระทำผิดกฎหมาย มีการใช้ความรุนแรงยิงใส่เจ้าหน้าที่ก่อน จึงต้องมีการตอบโต้ หากยอมมอบตัวแต่โดยดี ก็จะไม่มีการใช้ปฏิบัติการที่รุนแรง เพื่อลดการสร้างเงื่อนไขในพื้นที่ โดยขณะนี้ยังมีการปิดล้อมพื้นที่ต่อเนื่อง แต่ก็พร้อมเจรจาตามหลักสากล เพื่อให้มีการมอบตัว เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 1 ราย ส่วนฝ่ายผู้ก่อเหตุยังไม่ทราบความสูญเสีย ซึ่งการตรึงพื้นที่ก็เพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชน สำหรับทางกลุ่มเพจเฟซบุ๊ก BRN ได้เผยแพร่ข้อความเกี่ยวกับเหตุระเบิดทีเกิดขึ้นในพื้นที่ สภ.จะแนะ ทำให้ตำรวจเสียชีวิต 2 นายนั้น…

เผยแก๊งยาดัตช์ชื่อกระฉ่อนจ้องลักพาตัวนายกรัฐมนตรี

Loading

  สื่อท้องถิ่นของเนเธอร์แลนด์รายงานว่า นายกรัฐมนตรีมาร์ก รึตเตอ อาจตกเป็นเป้าหมายการลักพาตัวหรือการทำร้ายโดยแก๊งค้ายาเสพติดชื่อกระฉ่อนที่พัวพันกับคดีฆาตกรรมนักข่าวอาชญากรรมคนดัง ทำให้ตำรวจต้องเพิ่มการอารักขาเขา นายกรัฐมนตรีรึตเตอ วัย 54 ปี เป็นที่โจษขานถึงความชอบปั่นจักรยานไปทั่วกรุงเฮก โดยมีการอารักขาน้อยมาก หนังสือพิมพ์เดอเทเลกราฟและสื่อโทรทัศน์หลายช่องรายงานเมื่อวันจันทร์ที่ 27 กันยายนว่า มีสัญญาณบ่งบอกว่า รึตเตอร์อาจตกเป็นเป้าหมายการโจมตีหรือการลักพาตัว โดยพบเห็นผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวโยงกับแก๊งยา ม็อกโครมาเฟีย ที่ทำหน้าที่ชี้เป้า อยู่ใกล้กับเขาในเวลาและสถานที่ต่างๆ สำนักงานของผู้นำแนวทางกลาง-ขวารายนี้ รวมถึงหน่วยประสานงานแห่งชาติด้านความมั่นคงและต่อต้านการก่อการร้าย และสำนักงานอัยการ ปฏิเสธจะให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานข่าวดังกล่าว โดยอ้างว่าเป็นเรื่องของมาตรการรักษาความปลอดภัย หนังสือพิมพ์ดัตช์ฉบับนี้กล่าวว่า พวกตัวชี้เป้าที่ถูกพบเห็นว่าอยู่ใกล้กับรึตเตอร์นั้นคล้ายคลึงกับพวกที่เกี่ยวข้องกับการฆาตกรรมปีเตอร์ อาร์. เดอ ฟรีส์ นักข่าวอาชญากรรม เมื่อเดือนกรกฎาคม และทนายความของพยานในคดีที่กล่าวหาหัวหน้าแก๊งนี้เมื่อปี 2562 หลังการฆาตกรรมนักข่าว ทางการดัตช์ประกาศกร้าวว่าจะปราบปรามแก๊งอาชญากรรม เทเลกราฟกล่าวว่า หน่วยรักษาความปลอดภัยมีความกังวลและต้องให้การอารักขารึตเตอ โดยตำรวจจากกองกำลังตำรวจและหน่วยรักษาความปลอดภัยทางการทูตที่ผ่านการฝึกมาเป็นพิเศษ ถูกส่งมาคุ้มครองนายกรัฐมนตรีผู้นี้ด้วยมาตรการทั้งที่มองเห็นและมองไม่เห็น.   ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : ไทยโพสต์     / วันที่เผยแพร่  27 ก.ย.2564 Link : https://www.thaipost.net/main/detail/118032

จับแก๊งครูช่วยโกงข้อสอบ จากบลูทูธ

Loading

  ตำรวจเมืองไบคาเนอร์ รายงานการจับกุมชาวอินเดีย 10 คน วางแผนโกงข้อสอบเข้าบรรจุเป็นครู ยึดของกลางก่อเหตุเป็นบลูทูธ ที่เตรียมวางซ่อนไว้ในส้นรองเท้า เพื่อใช้รับสัญญาณโทรศัพท์ ที่ติดไว้กับเครื่องรับขนาดเล็กที่ติดหูไว้ โดยเครื่องส่งอยู่ด้านนอกห้องสอบ เพื่อใช้ติดต่อหาคำตอบข้อสอบ ตำรวจขยายผลสืบสวนพบว่า มีนักเรียนอย่างน้อย25 คน ซื้อรองเท้าที่ติดบลูทูธ คู่ละ8,100 เหรียญสหรัฐฯ   ——————————————————————————————————————————————— ที่มา : AFP       / วันที่เผยแพร่  27 ก.ย.2564 Link : https://today.line.me/th/v2/article/MyV3Ba

แม่พิมพ์ของชาติ! อินเดียสั่งตัดสัญญาณเน็ตมือถือทั่วรัฐ ป้องกันโกงข้อสอบคัดเลือกครู

Loading

  เขตต่างๆรวมแล้ว 16 แห่งในรัฐราชสถานของอินเดียเมื่อวันอาทิตย์(26ก.ย.) สั่งตัดสัญญาณอินเทอร์เน็ตมือถือและบริการรับส่งข้อความเอสเอ็มเอสเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ระหว่างที่รัฐแห่งนี้จัดการสอบคัดเลือกครูเข้าสอนตามโรงเรียนต่างๆของทางรรัฐบาล ตามรายงานของสำนักข่าวเอ็นดีทีวี โดยรัฐบาลแห่งรัฐตัดสินใจใช้มาตรการดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันการโกงข้อสอบ การสอบที่เรียกว่า Rajasthan Eligibility Examination for Teachers (REET) เป็นการสอบที่มีการแข่งขันสูงมาก นักศึกษามากกว่า 1,600,000 คน ต้องแข่งขันกันเพื่อให้ได้รับคัดเลือกเข้าทำงานตามโรงเรียนรัฐต่างๆแค่ 31,000 อัตรา และคำสั่งตัดสัญญาณอินเตอร์เน็ตมือถือและบริการรับส่งข้อความเอสเอ็มเอสเพื่อป้องกันการโกงข้อสอบของทางรัฐราชสถาน ครอบคลุมเขตต่างๆรวมแล้ว 16 แห่ง ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยที่มีผู้สมัครจำนวนมากที่สมัครสอบคัดเลือก REET ทางรัฐบาลรัฐราชสถานยังจำเป็นต้องเตรียมการต่างๆนานาอย่างละเอียดรอบคอบ ทั้งด้านความปลอดภัยและการเดินทาง ในมาตรการป้องกันไว้ก่อนสกัดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ขณะที่การสอบครั้งนี้กระจายไปตามสนามสอบต่างๆรวมแล้วถึง 3,993 แห่งทั่วรัฐ การโกงข้อสอบดูจะไม่ใช่เรื่องแปลกใหมใดๆในอินเดีย เมื่อปีที่แล้วสำนักข่าว thehindu เคยรายงานว่าเมื่อถึงช่วงเวลาการสอบเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับชั้นต่างๆ จะเกิดการโกงข้อสอบครั้งใหญ่ และที่น่าตกใจคือในการโกงนั้น คนในครอบครัวของผู้เข้าสอบ มักจะมีส่วนรู้เห็นหรือร่วมทำการโกงทั้งสิ้น ในครั้งนั้น ในการสอบที่โรงเรียนในรัฐพิหาร ผู้ปกครองของผู้เข้าสอบนั้น ต่างได้ปีนอาคารที่จัดไว้สำหรับสอบ เพื่อทำการส่งกระดาษคำตอบให้ผู้ที่เข้าสอบอย่างเปิดเผย และมีผู้บันทึกภาพเหตุการณ์ไว้ มหกรรมโกงข้อสอบดังกล่าว เป็นการสอบเอนท์ทรานซ์เพื่อคัดเลือกบุคลากรเพื่อเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไรในอินเดีย…

หน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ ก็ใช้ Ad Blocker เพื่อป้องกันภัยจากโฆษณาออนไลน์

Loading

  ประชาคมข่าวกรอง (Intelligence Community – IC) ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านข่าวกรองของรัฐบาลกลาง อาทิ สำนักข่าวกรองกลาง (Central Intelligence Agency – CIA) สำนักงานด้านความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติ (National Security Agency – NSA) และ สำนักงานสืบสวนกลาง (Federal Bureau of Investigation – FBI) ได้ใช้เทคโนโลยีปิดกั้นโฆษณาออนไลน์ (Ad blockers) เพื่อป้องกันภัยทางไซเบอร์ที่อาจมากับโฆษณา “IC ได้ใช้เทคโนโลยีปิดกั้นโฆษณาออนไลน์ในระดับเครือข่าย และใช้ข้อมูลในหลายระดับที่รวมถึงข้อมูลระบบชื่อโดเมนในการปิดกั้นเนื้อหาโฆษณาที่ไม่เป็นที่ต้องการและอันตราย” ประธานเจ้าหน้าที่ด้านสารสนเทศของ IC ระบุในจดหมายที่ส่งถึงวุฒิสมาชิก รอน ไวเดน (Ron Wyden) ที่ผ่านมา ไวเดน พร้อมด้วยวุฒิสมาชิกอีกหลายคน อาทิ อลิซาเบธ วอร์เรน (Elizabeth Warren) เชอร์ร็อด บราวน์ (Sherrod Brown)…

รัฐบาลทหารพม่าโทษปัญหาอินเทอร์เน็ตล่มหลายพื้นที่เป็นฝีมือฝ่ายต่อต้าน

Loading

  เอเอฟพี – รัฐบาลทหารของพม่าปฏิเสธระงับสัญญาณอินเทอร์เน็ตในภูมิภาคที่มีความขัดแย้ง โดยกล่าวโทษปัญหาสัญญาณขาดหายกับกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงต่อต้านการรัฐประหารที่ทำลายเสาสื่อสารของกองทัพ พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่กองทัพเข้าโค่นล้มรัฐบาลของอองซานซูจีในเดือนก.พ. ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยขนาดใหญ่ที่ทำให้กองกำลังความมั่นคงดำเนินการปราบปรามอย่างรุนแรง ผู้ชุมนุมบางส่วนในขบวนการต่อต้านการรัฐประหารได้จัดตั้งกองกำลังปกป้องประชาชนขึ้นในพื้นที่ของตนเองเพื่อตอบโต้ และในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาพวกเขาได้ทำลายเสาสื่อสารหลายต้นที่เป็นของบริษัท Mytel ของกองทัพในรัฐชิน ทางภาคตะวันตกของประเทศ รายงานเกี่ยวกับสัญญาณอินเทอร์เน็ตและข้อมูลล่มโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคที่กองกำลังปกป้องท้องถิ่นและกองทัพกำลังต่อสู้กัน เกิดขึ้นหลังจากการปะทะเพียงไม่นาน กระทรวงการต่างประเทศของรัฐบาลทหารปฏิเสธว่าสภาบริหารแห่งรัฐเป็นผู้รับผิดชอบ “ที่จริงแล้ว การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไม่สามารถใช้งานได้เนื่องจากการกระทำก่อการร้าย เช่น การทำลายเสาสื่อสารโดยกลุ่มก่อการร้าย กระทรวงขอให้คณะผู้แทนต่างประเทศในย่างกุ้งตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนก่อนออกคำแถลง” กระทรวงการต่างประเทศ ระบุ สัญญาณอินเทอร์เน็ตล่มไม่ใช่เรื่องแปลกในพม่าช่วงหลังการรัฐประหาร เนื่องจากรัฐบาลทหารเคยสั่งระงับอินเทอร์เน็ตในช่วงเช้ามืดของวันที่ 1 ก.พ. ที่ทหารเข้าจับกุมตัวซูจี และนักการเมืองระดับสูงคนอื่นๆ ของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นอกจากนี้ยังสั่งระงับสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วประเทศในช่วงเวลากลางคืนในช่วงหลายสัปดาห์หลังจากการยึดอำนาจ ในวันอาทิตย์ (26) นักสู้ของฝ่ายต่อต้านการรัฐประหารกล่าวกับเอเอฟพีว่าบริการโทรคมนาคมในเมืองปินแลบู กอลิน และวันโท ของเขตสะกาย ที่เกิดเหตุปะทะกับกองทัพอย่างรุนแรง ไม่สามารถใช้งานได้ในช่วงเช้าตรู่ของวัน “เราไม่สามารถใช้งานอินเทอร์และโทรศัพท์ได้ตั้งแต่เวลา 2.00 น.” นักสู้ของฝ่ายต่อต้านรัฐประหาร ที่หลบหนีออกจากเมืองกอลิน กล่าวกับเอเอฟพี และเสริมว่ากองกำลังความมั่นคงกำลังระดมกำลังเข้ามาในพื้นที่ “ผู้คนต่างกังวลว่ารัฐบาลทหารจะดำเนินการปฏิบัติการครั้งใหญ่” นักสู้ของฝ่ายต่อต้าน กล่าว ส่วนสมาชิกของกองกำลังท้องถิ่นอีกรายหนึ่งกล่าวว่าพวกเขาไม่สามารถติดต่อนักสู้ของพวกเขาที่อยู่ในเมืองปินแลบูได้ การโจมตีของนักสู้ของฝ่ายต่อต้านการรัฐประหารเกิดบ่อยครั้งขึ้นหลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติเรียกร้องให้พลเมืองมุ่งเป้าโจมตีทรัพย์สินของทหารในพื้นที่ของพวกเขา ผู้สังเกตการณ์ท้องถิ่นระบุว่า มีพลเรือนถูกสังหารมากกว่า 1,100 คน และอีกราว…