ตำรวจตรึงกำลังรอบรัฐสภาสหรัฐ หลังม็อบหนุน “ทรัมป์” ชุมนุมประท้วงเหตุจลาจล 6 ม.ค.

Loading

  สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กลุ่มผู้ประท้วงราว 100-200 คนรวมตัวกันบริเวณอาคารรัฐสภาของสหรัฐเมื่อวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจตรึงกำลังอย่างแน่นหนา โดยมีสื่อมวลชนเฝ้าสังเกตการณ์อยู่โดยรอบ รายงานข่าวระบุว่า กลุ่มผู้ที่ออกมาชุมนุมในครั้งนี้เป็นกลุ่มขวาจัดที่ต้องการสนับสนุนกลุ่มผู้ประท้วงซึ่งบุกเข้าไปในอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อขัดขวางกระบวนการประกาศชัยชนะของนายโจ ไบเดนในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐปี 2563 ทั้งนี้ ผู้ที่มาร่วมชุมนุมนั้นมีจำนวนน้อยกว่าที่ผู้จัดงานคาดการณ์ไว้ว่าน่าจะมีราว 700 คน การออกมาชุมนุมในครั้งนี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “Justice for J6” เป็นความพยายามของฝ่ายขวาจัดที่สนับสนุนอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ โดยผู้ปราศรัยได้ยืนยันว่า ผู้ที่ถูกควบคุมตัวเนื่องจากเหตุจลาจลเมื่อวันที่ 6 ม.ค.นั้นเป็น “นักโทษทางการเมือง” ซึ่งไม่ได้ก่อความรุนแรง “ประเด็นนี้เป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมและการเลือกปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย” นายแมตต์ เบรย์นาร์ด แกนนำการชุมนุมและผู้สนับสนุนคำกล่าวอ้างซึ่งระบุว่า การที่อดีตปธน.ทรัมป์พ่ายแพ้เลือกตั้งนั้นเพราะมีการโกงเกิดขึ้น ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจหลายร้อยนายได้ตรึงกำลังรอบอาคารรัฐสภา และนำรั้วสูง 2.44 เมตรมาติดตั้งรอบอาคารอีกครั้ง เนื่องจากไม่น่าไว้วางใจในสถานการณ์ที่อาจนำไปสู่การเกิดเหตุซ้ำรอยเมื่อวันที่ 6 ม.ค. ขณะที่ตำรวจประจำอาคารรัฐสภาระบุว่า ได้จับกุมบุคคล 4 ราย โดยหนึ่งในนั้นมีชายคนหนึ่งที่พกปืนปะปนเข้ามาในฝูงชน อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ตำรวจยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเพราะเหตุใดชายคนดังกล่าวจึงเข้ามายังที่ชุมนุม นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ยังได้แยกชายคนหนึ่งซึ่งพกมีดขนาดใหญ่เหน็บไว้ที่เอวออกมาจากกลุ่มผู้ชุมนุมด้วย   —————————————————————————————————————————————– ที่มา :…

ฝ่ายต้านรัฐบาลทหารพม่าเปลี่ยนยุทธวิธีโจมตีพุ่งเป้าทรัพย์สินกองทัพ เสาสื่อสารหลายสิบโดนระเบิดพังยับ

Loading

  รอยเตอร์ – คาดว่าประชาชนในพม่าราว 700,000 คน ไม่สามารถเข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หลังเกิดเหตุโจมตีอุปกรณ์โทรคมนาคมที่ดำเนินการโดย Mytel บริษัทที่ควบคุมโดยกองทัพบางส่วนระบุ ท่ามกลางรายงานที่ว่าเสาสัญญาณมือถือของบริษัทได้รับความเสียหายหลายสิบต้น เหตุระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้งนับตั้งแต่รัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ที่ตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพเมื่อวันที่ 1 ก.พ. ได้ประกาศทำสงครามป้องกันประชาชนกับรัฐบาลทหารเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา พม่าตกอยู่ในความโกลาหลวุ่นวายนับตั้งแต่รัฐบาลของอองซานซูจีถูกโค่นล้ม ที่นำไปสู่การชุมนุมประท้วงและการผละงานทั่วประเทศ และการเกิดขึ้นของกองกำลังติดอาวุธต่อต้านรัฐบาลทหาร นอกจากนี้ ยังมีเหตุนองเลือดเกิดขึ้นในบางพื้นที่ หลังรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติประกาศการลุกฮือและเรียกร้องให้กองกำลังติดอาวุธที่รู้จักในชื่อ ‘กองกำลังป้องกันประชาชน’ มุ่งโจมตีรัฐบาลทหารและทรัพย์สินของพวกเขา “การทำลายโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารโทรคมนาคมกำลังขัดขวางวิธีการที่จะเข้าถึงข้อมูล การศึกษา และบริการสำคัญต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตของประชาชนหลายแสนคน” โฆษกของบริษัท Mytel ที่เป็นกิจการร่วมทุนระหว่างกองทัพพม่า และบริษัท Viettel ของกระทรวงกลาโหมเวียดนาม ระบุ การโจมตีส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ชนบทและเสาสัญญาณมากกว่า 80 ต้นของบริษัท Mytel ถูกทำลายเสียหาย โดยกองกำลังป้องกันประชาชนได้อ้างความรับผิดชอบในบางพื้นที่ ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์อิรวดีสัปดาห์นี้ โฆษกของกองทัพไม่ได้ตอบสนองคำร้องขอความคิดเห็นของรอยเตอร์ แต่ในจดหมายข่าวของกองทัพที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ระบุว่า มีเหตุระเบิดเกิดขึ้นกับเสาโทรคมนาคมสาธารณะ ทั้งนี้ กองทัพไม่ได้ระบุเจาะจงว่าผู้ก่อเหตุเป็นใคร แต่ได้กล่าวหาองค์กรก่อการร้าย NUG ว่าส่งเสริมความรุนแรง และคลิปวิดีโอบนสื่อสังคมออนไลน์ได้แสดงให้เห็นสิ่งที่ดูเหมือนเป็นการระเบิดเสาสื่อสาร…

โหลดฟรี ตัวถอดรหัส REvil ransomware หลังกลุ่มแฮกเกอร์หายตัวลึกลับ

Loading

  บริษัทรักษาความปลอดภัย Bitdefender ได้ร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เปิดตัวซอฟต์แวร์ฟรีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของ REvil ซึ่งเป็นแรนซัมแวร์ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตี Kaseya ในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมาครับ Bitdefender ไม่สามารถบอกได้ว่าหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายใดกำลังทำงานอยู่ เนื่องจากการสอบสวน REvil ของพวกเขายังดำเนินอยู่ พวกเขาไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดได้จนเรื่องนี้จะสิ้นสุดเสียก่อนครับ และพวกเขาระบุว่าพวกเขาควรปล่อยตัวถอดรหัสโดยเร็วที่สุดเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ถูกโจมตีโดย REvil ransomware Bitdefender อ้างว่าตัวถอดรหัสสากลสามารถปลดล็อกไฟล์บนระบบใด ๆ ที่ REvil เข้ารหัสก่อนวันที่ 13 กรกฎาคมของปีนี้ แต่การหายตัวไปของกลุ่ม REvil ก่อนหน้านี้ (ไม่รู้โดนอุ้มหรือเปล่านะ) ทำให้เหยื่อไม่สามารถจ่ายค่าไถ่เพื่อปลดล็อคไฟล์ของตนเองได้ จึงปล่อยซอฟต์แวร์ฟรีเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อ สำหรับใครที่ต้องการเก็บเครื่องมือถอดรหัส หรืออ่านคำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับ REvil สามารถดูได้ที่ >> https://www.bitdefender.com/…/bitdefender-offers-free-univ…/   —————————————————————————————————————————————————- ที่มา : TechHub          / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link : https://www.techhub.in.th/free-universal-decryptor-for-revil-sodinokibi-ransomware/

ยูเอ็น เรียกร้องพักแผนการจำหน่าย-ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

Loading

  ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการประกาศพักแผนจำหน่ายและใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) ทั้งหลายไว้ชั่วคราว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานล่าสุดที่จะนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ แบเชเลท์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวบรวมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งชี้ว่า AI นั้น อาจเป็นวิวัฒนาการที่ดี แต่ก็อาจล่วงล้ำและมีผลกระทบเลวร้ายรุนแรงต่อสิทธิ์ของผู้คน รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ขณะเดียวกัน เพ็กกี ฮิคส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวด้วยว่า ระบบ AI อาจมีข้อผิดพลาดและมาพร้อมกับความเอนเอียงที่ฝังตัวอยู่ในระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและทำลายโอกาสการหางานหรือการได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้ รายงานฉบับนี้ยังชี้ด้วยว่า ปัจจุบัน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้งานเพื่อติดตามตัวบุคคลได้อย่างไม่จำกัดได้ด้วย เพ็กกี ฮิคส์ กล่าวเสริมว่า ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแนะนำให้มีการประกาศพักการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไบโอเมตริกในพื้นที่สาธารณะด้วย เนื่องจากการใช้งานระบบนี้อาจเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของประชาชนได้   ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai      / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link :…

“กมธ.ดีอีเอส” ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ

Loading

  กมธ.ดีอีเอส สภาฯ ห่วงระบบไอที “สธ.” อ่อนแอ หวั่นประชาชนถูกละเมิดสิทธิ ด้าน “สธ.” ยอมรับจุดอ่อน ด้านการดูแลข้อมูล เผย ข้อมูลคนไข้โควิด-19 ยังไร้คนดูแล ห่วงเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่มีหน่วยงานรับช่วงต่อ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 64 คณะกรรมาธิการการสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สภาผู้แทนราษฎร ที่มี น.ส.กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ส.ส.สระบุรี พรรคพลังประชารัฐ เป็นประธาน กมธ. ได้นัดประชุมเพื่อพิจารณา เรื่อง กรณีภัยคุกคามทางไซเบอร์ โดยการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของโรงพยาบาลในระบบสาธารณสุข โดยเชิญตัวแทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าชี้แจง   โดย นายอนันต์ กนกศิลป์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข ชี้แจง โดยยอมรับว่าการกำกับและดูแลจะมีกฎหมายเพื่อกำกับดูแลโรงพยาบาลเอกชน อย่างไรก็ดี ยังมีความกังวล ต่อกรณีดิจิทัล เฮลท์ ที่ไม่มีกฎหมายกำกับ ดังนั้น แนวทางดูแลเบื้องต้น คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแล หรือให้กลุ่มเฮลท์แทคขึ้นทะเบียน ทั้งนี้…

ผู้นำองค์กรต้องเพิ่มกลยุทธ์ป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล (Deep-Fake)

Loading

  เดือนมีนาคม 2562 ซีอีโอของบริษัทพลังงานแห่งหนึ่งในประเทศอังกฤษได้รับสายด่วนจากเจ้านายซึ่งเป็นผู้บริหารของบริษัทแม่ที่เยอรมนี โดยเจ้านายชาวเยอรมันสั่งให้ลูกน้องของเขาโอนเงินจำนวน 220,000 ยูโร (ประมาณ 8.5 ล้านบาท) ให้กับตัวแทนซัพพลายเออร์ในฮังการี ซึ่งต้องโอนเงินเป็นกรณีเร่งด่วนและต้องแล้วเสร็จภายใน 1 ชั่วโมง เนื่องจากซีอีโอชาวอังกฤษจำสำเนียงเยอรมันที่โดดเด่นของเจ้านายได้ดี เขาจึงรีบอนุมัติการโอนเงินในทันที ทว่าโชคร้ายที่ซีอีโอชาวอังกฤษไม่ได้คุยกับเจ้านายของเขา แต่กลับคุยกับปัญญาประดิษฐ์ที่เลียนเสียงและแอบอ้างตัวเป็นเจ้านายชาวเยอรมัน   องค์กรธุรกิจควรต้องตระหนกกับเหตุการณ์นี้หรือไม่? คำตอบคือทั้งใช่และไม่ใช่ ที่ธุรกิจต้องกังวลคือรูปแบบความซับซ้อนในการหลอกลวงที่ดูแนบเนียนและที่สำคัญเป็นการโจมตีที่ประสบความสำเร็จ แต่ที่ยังเบาใจได้คือมันยังต้องใช้ความพยายามและทรัพยากรอย่างมากในการจู่โจมรูปแบบนี้และเป้าหมายใหญ่อย่างบริษัทข้ามชาติ ซึ่งสิ่งนี้กำลังจะเปลี่ยนไป โดยเครื่องมือที่ใช้บิดเบือนข้อมูลสามารถขยายเป็นสองทางอย่างน่าทึ่ง อย่างแรก คือ มันทำให้ผู้ที่ไม่หวังดีใช้วิธีนี้จู่โจมได้ง่ายมากขึ้น แม้จะมีเปอร์เซ็นต์ความสำเร็จน้อยแต่สิ่งที่ได้มาก็คุ้ม อย่างที่สองเมื่อเทคโนโลยี Deep-Fake หรือการปลอมแปลงอัตลักษณ์ของบุคคลด้วยปัญญาประดิษฐ์ที่ทรงพลังและใช้ง่ายตกอยู่ในมือคนจำนวนมากที่ทำให้ใครก็ได้สามารถโจมตีเป้าหมายที่ต้องการไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม   เทคโนโลยีเอไอ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิ่ง (Machine Learning) แทรกซึมอยู่ในธุรกิจและการสื่อสารสมัยใหม่ ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่จะมีการใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปในทางที่ผิดกฎหมาย การล่อลวงแบบดีปเฟก (Deepfakes) สามารถเป็นได้ทั้งเสียง รูปภาพ และวิดีโอที่ดูเสมือนจริงแต่กลับเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นด้วยเอไอ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ครั้งล่าสุดของการบิดเบือนข้อมูลในแบบที่ RAND Corporation หน่วยงานด้านนโยบายระดับโลกของอเมริกา ได้อธิบายไว้ว่าเป็น “วัฒนธรรมการเสื่อมสลายของความจริง” (หรือ Truth Decay) เป็นพลวัตที่มีการถกเถียงอย่างมากถึงขอบเขตในด้านการเมืองและทฤษฎีสมคบคิด…