โฆษก กต. เผยกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นเตือนพลเมืองที่อยู่ในภูมิภาคอาเซียน เกี่ยวกับเหตุก่อการร้าย

Loading

นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ   กระทรวงการต่างประเทศของไทยยอมรับว่า ทางการญี่ปุ่นได้ส่งอีเมลแจ้งคนญี่ปุ่นที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งไทยให้ระมัดระวังอาจมีการก่อการร้ายจริง นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยต่อสื่อมวลชนกรณีกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นแจ้งคนญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้ระมัดระวังอาจมีการก่อการร้ายนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ตรวจสอบเบื้องต้นกับสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยแล้ว พบว่า 1. เป็นการส่งอีเมลนี้ไปยังคนญี่ปุ่นในไทย เป็นคำสั่งที่ได้รับมาจากกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นก็ไม่ได้ระบุที่มาของข้อมูล และสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นไม่ได้ทราบข้อมูลที่มากไปกว่านี้ 2. กระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นสั่งการให้ส่งข้อมูลเหล่านี้ไปยังคนญี่ปุ่นที่อยู่ในภูมิภาคแถบนี้ ไม่ใช่เฉพาะไทย   นอกจากอีเมลแล้ว บนเว็บไซต์ทางการของญี่ปุ่น www.anzen.mofa.go.jp ยังแจ้งเตือนพลเมืองญี่ปุ่นในไทยด้วย   บีบีซีไทยได้สอบถามไปยังสำนักข่าวสารญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยเมื่อช่วงเช้าวันนี้ (13 ก.ย.) ได้รับคำอธิบายในทิศทางเดียวกันกับคำชี้แจงของโฆษกกระทรวงต่างประเทศของไทยว่า คำเตือนดังกล่าวมาจากกระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่น และระบุว่าข้อความดังกล่าวเขียนเป็นภาษาญี่ปุ่น เพราะต้องการสื่อสารเฉพาะกลุ่มชาวญี่ปุ่นในต่างประเทศ ทั้งนี้ คำเตือนทั้งบนเว็บไซต์ของกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นและเนื้อหาในอีเมลที่ส่งมาให้กับพลเมืองญี่ปุ่นในไทยลงวันที่เดียวกันคือ 12 ก.ย. เวลาประมาณ 17.00 น. โดยมีเนื้อหาสำคัญคือ พบว่ามีข้อมูลที่เป็นไปได้ที่จะเกิดการโจมตีก่อการร้ายด้วยระเบิดฆ่าตัวตายในหลายพื้นที่ที่มีผู้ชุมนุมกัน เช่น ศาสนาสถาน เป็นต้น จึงเรียกร้องให้พลเมืองญี่ปุ่นพึงระวังตัวให้เต็มที่ สำหรับเนื้อหาของอีเมลแจงดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และได้รับความสนใจของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก หนึ่งในนั้นคือเพจ “Drama Addict” ซึ่งมีผู้ติดตามเป็นจำนวนมากกว่า 2.8 ล้านคน…

ตัดตอนแฮกเกอร์ สหรัฐตั้งข้อหาชาวยูเครน เหตุถอดรหัสผ่านขายเว็บมืด

Loading

  สหรัฐอเมริกาถือเป็นประเทศลำดับต้น ๆ ที่ตกเป็นเป้าหมายการโจมตีทางไซเบอร์ อาจจะเพราะเรื่องของกฏหมายและค่าปรับมหาศาล ทำให้หลายธุรกิจยอมจ่ายเงินมากกว่าจะโดนฟ้องร้องครับ เมื่อไม่นานมานี้ สหรัฐฯ ตั้งข้อหาชายชาวยูเครนรายหนึ่ง ฐานใช้กองทัพคอมพิวเตอร์ช่วยถอดรหัสผ่านล็อกอินนับพันรายการต่อสัปดาห์ และใช้กฎหมายขอให้ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดนมาลงโทษในสหรัฐ Ivanov-Tolpintsev ถูกกล่าวหาว่าเป็นแฮกเกอร์ผู้ใช้ botnet เพื่อขโมยข้อมูลบางส่วน จากนั้นจึงใช้เครื่องต่าง ๆ เพื่อคาดเดารหัสผ่านเข้าสู่ระบบของผู้ใช้ทั่วโลก โดยสามารถถอดรหัสข้อมูลรับรองการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 2,000 เครื่องทุกสัปดาห์ และเมื่อได้รหัสมา รหัสดังกล่าวจะถูกขายให้กับอาชญากรไซเบอร์ผ่าน Dark Web เพื่อนำไปใช้โจมตีต่อไป ภายในเดือนเมษายน 2017 มีการสืบพบว่า Ivanov แจ้งต่อแอดมินของ Darkweb ว่า “เขาได้รวบรวมข้อมูลรับรองการเข้าสู่ระบบของคอมพิวเตอร์จำนวนกว่า 20,000 เครื่อง และได้ขายข้อมูลของเหยื่อชาวอเมริกันที่อยู่ในแคลิฟอร์เนีย ฟลอริดา และแมริแลนด์ การส่งผู้ร้ายข้ามแดนนี้ เป็นความพยายามในการปราบปรามแรนซัมแวร์ ซึ่งคุกคามธุรกิจ โรงเรียน โรงพยาบาล และแม้แต่โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ ของสหรัฐอเมริกา Ivanov-Tolpintsev ถูกจับกุมเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วในโปแลนด์ และตอนนี้ เขาถูกส่งตัวในฐานะผู้ร้ายข้ามแดนไปยังสหรัฐอเมริกา และรับโทษสูงสุดถึง 17 ปี ที่มาข้อมูล…

งามหน้า! อส.เมืองสระแก้วขโมยปืนหลวงบนที่ว่าการอำเภอเมืองขาย 21 ครั้ง รวม 65 กระบอก

Loading

  สระแก้ว -​ งามหน้า! อส.เมืองสระแก้ว ขโมยปืนหลวงบนที่ว่าการอำเภอเมือง ขายแบบสบายๆ ถึง 21 ครั้ง กว่าเรื่องจะแดงพบทั้งปืนลูกซอง-ปืนสั้น หายแล้วรวม 65 กระบอก ล่าสุด จับผู้ต้องหา 3 ราย เร่งขยายผลผู้ร่วมขบวนการ จาก​กรณีเกิดเหตุเจ้าหน้าที่อาสารักษาดินแดน (อส.)​ ประจำที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้ว ขโมยปืนลูกซอง และปืนพกสั้นจากตู้คลังอาวุธบนชั้น 2 อาคารที่ว่าการอำเภอเมืองสระแก้ว ไปขายตั้งแต่ช่วงกลางเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา รวม 21 ครั้ง โดยมีอาวุธปืนที่ถูกขโมยไปทั้งสิ้น 65 กระบอก ขณะที่ปลัดอำเภอเมืองสระแก้ว และเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมือง​สระแก้ว​ ได้เร่งขยายผลเพื่อติดตามจับกุมผู้ร่วมขบวนการ และติดตามปืนที่ถูกขายไปกลับคืนนั้น เมื่อ 12 ก.ย.​ นายบุรินทร์ ล่วงเขต ปลัดอำเภอเมืองสระแก้ว เผยว่า เบื้องต้นได้จับกุมผู้ต้องหาแล้ว จำนวน 3 ราย ประกอบด้วย นายวีระพันธ์ นาคพิทักษ์ หรือตั้ม อายุ…

ทำไม Ransomware ระบาดหนัก เชื่อใจแฮกเกอร์ได้ไหม ถ้ายอมจ่ายค่าไถ่ขอคืนข้อมูล

Loading

  ในปี 2021 คงไม่ผิดนักถ้าจะกล่าวว่าปีนี้เป็นปีแห่งการเจริญเติบโตของซอฟต์แวร์เรียกค่าไถ่ หรือในภาษาอังกฤษที่เรียกกันว่า Ransomware เรื่องของ Ransomware ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ หากแต่เป็นของเก่าที่ถูกพัฒนามาตั้งแต่ ค.ศ. 1980s ก่อนที่จะพัฒนาความสลับซับซ้อนให้เข้าใจได้ยากขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมา ตัวเลขของ SonicWall เปิดเผยว่า ระหว่างปี 2019 ถึงปี 2020 การโจมตีด้วย Ransomware เพิ่มขึ้นราว 62 เปอร์เซ็นต์ทั่วโลก และแค่ในทวีปอเมริกาเหนือแห่งเดียว การโจมตีเพิ่มขึ้น 152 เปอร์เซ็นต์ และในปีหลังจากนี้ก็มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้อีก รวมถึงยังมีตัวเลขของ Internet Crime report ระบุอีกด้วยว่าในปี 2020 ที่ผ่านมา เอฟบีไอ (FBI) ได้รับการร้องเรียนจากการถูกโจมตีด้วย Ransomware เกือบ 2,500 ครั้ง เพิ่มขึ้นจากปี 2019 ราว 20 เปอร์เซ็นต์ เช่นนั้นแล้ว การเติบโตของ Ransomware…

ถึงเวลายกระดับป้องกันภัยไซเบอร์หน่วยงานรัฐ!!

Loading

  ปัญหาหน่วยงานของรัฐถูกท้าทายจาก “แฮกเกอร์” ด้วยการเจาะระบบเข้ามาโจรกรรมข้อมูลขององค์กร มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ทำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง และ เป็นข่าวบ้าง ไม่เป็นข่าวบ้าง!! แต่ครั้งนี้กลายเป็นประเด็นอ่อนไหวขึ้นมาทันที เมื่อหน่วยงานที่ถูกแซะข้อมูลไป เป็นหน่วยงานสาธารณสุข คือ รพ.เพชรบูรณ์ ก็ยอมรับว่าโดนแฮกจริงๆ แต่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ใช่ฐานข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการรักษาผู้ป่วยแต่อย่างไร และถูกแฮกไปมีจำนวนกว่า 1 หมื่นรายชื่อ ไม่ใช่ 1.6 ล้านรายชื่อตามที่แฮกเกอร์กล่าวอ้าง หลังจากนั้นไม่กี่วันก็มีประเด็น ผู้บริหารของ รพ.สถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์ เข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้ดำเนินคดีกับแฮกเกอร์ที่ลักลอบเจาะข้อมูลคนไข้ของโรงพยาบาลกว่า 4 หมื่นรายชื่อ!! กลายเป็นประเด็นสะเทือนวงการสาธารณสุขไทยอีกครั้งติดๆ​ กัน เพราะครั้งนี้ ได้ข้อมูลส่วนตัวคนไข้ ประวัติการฟอกไต และประวัติการรักษา ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ถือเป็นข้อมูลความลับที่นำไปเปิดเผยไม่ได้หากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลหรือคนไข้!!     ประกอบกับปัจจุบัน มี พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  ถึงแม้จะมีการขยายการบังคับใช้ออกไป แต่หน่วยงานที่เก็บข้อมูลส่วนบุคคลยังต้องดำเนินการตามประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2563 ซึ่งได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการรักษาความปลอดภัยข้อมูลไซเบอร์ เพื่อการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล หากโรงพยาบาลไม่ได้ดำเนินการได้ตามมาตรฐานจนเกิดข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกเกิดความเสียหายก็ถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ด้วยเช่นกัน ปัญหาข้อมูลรั่วไหลจากการถูกแฮกไม่ใช่เรื่องใหม่ และเกิดขึ้นบ่อยๆ!! โดยเรื่องนี้ทาง พลโท ดร.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) กล่าวว่า กลุ่มเฮลท์แคร์ หรือ เกี่ยวกับสุขภาพ ถือเป็นเซกเตอร์ที่มีความเปราะบาง เนื่องจากขาดแคลนบุคลากรด้านไอที ยังไม่รวมถึงบุคลากรด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ รวมถึงแต่ละโรงพยาบาลก็มี งบประมาณจำกัด จึงให้เจ้าหน้าที่ด้านไอทีของตัวเองพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่นขึ้นมาใช้งานเองภายใน ที่เรียกว่า อินทราเน็ต แต่พอมีโควิด-19  ทำให้มีการเวิร์ก ฟรอม โฮม มีการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้แฮกเกอร์สามารถโจมตีได้ง่าย ซึ่งขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุขไม่ได้มีเพียงหน่วยเดียวที่ถูกโจมตี มีหลายหน่วยแต่อาจยังไม่เป็นข่าว เพราะไม่มีความรุนแรง หรือมีข้อมูลความเสียหายไม่มาก!? จึงจำเป็นที่ทางกระทวงสาธารณสุข ต้องจัดทำระบบที่รวมศูนย์มากขึ้น ไม่ใช่ต่างคนต่างทำ ซึ่งจะทำให้ การเฝ้าระวังทำได้ง่ายขึ้น ขณะที่ นาวาอากาศเอก  อมร ชมเชย  รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ​ ​(กมช.) บอกว่า การป้องกันต่อจากนี้จะต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีขึ้น รวมถึงบุคลากรที่เกี่ยวข้อง โดยแผนระยะสั้น จะมีการอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้องอย่างเร่งด่วนให้ยกระดับขีดความสามารถ ขณะที่หน่วยงานของรัฐจะต้องมีการดำเนินการตามกรอบมาตรฐานที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ…

คณะที่ปรึกษากลาโหมเกาหลีใต้ได้รับอีเมลลวงหวังล้วงข้อมูล คาดฝีมือแฮ็กเกอร์

Loading

  บริษัทอีเอสที ซีเคียวริตี้ (ESTsecurity) ซึ่งเป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในเกาหลีใต้รายงานว่า กลุ่มแฮ็กเกอร์ชื่อว่า “แธลเลียม” (Thallium) ที่มีความเชื่อมโยงกับเกาหลีเหนือนั้น ได้พยายามโจรกรรมข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นสมาชิกคณะที่ปรึกษาของกระทรวงกลาโหมแห่งเกาหลีใต้ บริษัทระบุว่า กลุ่มแธลเลียมส่งอีเมลถึงสมาชิกคณะที่ปรึกษาในช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา โดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยงานด้านเกาหลีเหนือของกระทรวงกลาโหมที่ต้องการแจ้งให้ทราบถึงการประชุมสัมมนาที่กำลังจะจัดขึ้น จากนั้นจึงส่งอีเมลอีกฉบับโดยมีการแนบไฟล์เอกสาร พร้อมใช้รูปภาพประกอบเพื่อทำให้ไฟล์ดังกล่าวดูเหมือนเอกสารจริงจากหน่วยงานรัฐบาลเกาหลีใต้ โดยกลุ่มแฮ็กเกอร์ได้แนบไฟล์มัลแวร์มากับเอกสารดังกล่าว ซึ่งหากติดตั้งในคอมพิวเตอร์สำเร็จ ก็จะเปิดทางให้แฮ็กเกอร์โจรกรรมข้อมูลได้ ทั้งนี้ บริษัทอีเอสที ซีเคียวริตี้ระบุว่า ยังไม่มีรายงานความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว   —————————————————————————————————————————- ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์    / วันที่เผยแพร่   12 ก.ย.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/125325