ชายอินเดียปลอมเป็นนักบินเพื่อขึ้นบินไว-อ้างซื้อบัตรเก๊ในไทย

Loading

อีกกรณีปลอมตัวอย่างน่าตื่นตะลึงที่อินเดีย เดินทางบ่อย ไม่อยากรอนาน ซื้อชุดนักบินมาใส่เลยง่ายๆ นายราจัน มาห์บูบานี เจ้าของบริษัทที่ปรึกษาแห่งหนึ่งในกรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ถูกจับกุมที่สนามบินนานาชาติอินทรา คานธี เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (19 พ.ย.) หลังพบว่าเขาปลอมตัวแต่งเป็นนักบินสายการบิน ลุฟต์ฮันซา ของเยอรมนี นักธุรกิจวัย 49 ปีรายนี้ กำลังจะขึ้นเครื่อง แอร์เอเชีย ไปยังนครโกลกาตา ในคราบนักบินและมีบัตรประจำตัวด้วย แต่เจ้าหน้าที่สายการบินเอร์เอเชีย โทรศัพท์ไปยังสำนักงานลุฟต์ฮันซา เพื่อขอคำยืนยันการเดินทางของนักบินต้องสงสัย และเมื่อเจอกับเจ้าหน้าที่ลุฟต์ฮันซาที่รุดไปตรวจสอบที่บอร์ดดิง เกต นายราจันก็ยอมรับว่าปลอมตัว ผลสอบสวนพบว่า นายราจัน เดินทางโดยเครื่องบินบ่อยครั้ง และใช้การปลอมตัวเป็นนักบิน เป็นทางลัด เลี่ยงการผ่านด่านรักษาความปลอดภัยตามขั้นตอนปกติ อินเดีย ทูเดย์ รายงานเพิ่มเติม นายราจันแต่งชุดนักบินขึ้นเครื่องอย่างน้อย 15 เที่ยว ใช้ผ่านทางที่สนามบินโกลกาตา และนิวเดลี ในช่วง 6 เดือน ก่อนถูกจับได้ และด้วยเครื่องแบบกัปตัน ยังทำให้เขาได้อภิสิทธิ์อื่นอีกหลายอย่าง เช่น ขึ้นเครื่องได้เลยไม่ต้องต่อแถวรอคิว การดูแลบนเครื่องบิน โอกาสได้รับการอัพเกรดที่นั่งโดยไม่ต้องจ่ายเพิ่ม หรือแม้แต่เข้าไปถ่ายรูปในห้องนักบินได้ นักบินกำมะลอ…

บทเรียนขึงลวดไฟฟ้า

Loading

โดย “สหบาท” คนถูกไฟช็อตเพราะเจ้าของบ้านปล่อยกระแสไฟป้องกัน “โจร-ขโมย” อีกแล้ว รู้สึกสะท้อนใจ เพราะเป็นคดีที่เกิดขึ้นโดยไม่จำเป็น ถ้าบ้านเมืองสงบสุข โจรผู้ร้ายชุกชุมแบบนี้? เลยเอาข้อกฎหมายมาให้อ่านก่อนตัดสินใจ กลายเป็นผู้ต้องหามีคดีติดตัว… ในกฎหมายอาญามีกรณีบัญญัติว่า ให้การกระทำนั้นไม่เป็นความผิดเลยคือ การป้องกันโดยชอบ เขียนไว้ในมาตรา 68 ความว่า“ผู้ใดจำต้องกระทำการใดเพื่อป้องกันสิทธิ์ของตนหรือของผู้อื่น ให้พ้นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย และเป็นภยันตรายใกล้จะถึง ถ้ากระทำพอสมควรแก่เหตุ การกระทำนั้นเป็นการป้องกันโดยชอบ ผู้นั้นไม่มีความผิด” เหตุผลที่กฎหมายยอมให้อ้าง “ป้องกัน” ได้ เพราะกฎหมายยอมรับความจริงว่า รัฐไม่สามารถให้ความคุ้มครองประชาชนได้ทันทุกกรณี จำต้องให้อำนาจประชาชนผู้บริสุทธิ์ขจัดปัดเป่าภยันตรายที่กำลังมาถึง ส่วนเรื่อง “การป้องกันภยันตรายไว้ล่วงหน้า” เกิดเป็นข่าวบ่อย เช่น การขึงลวดไฟฟ้าเดินไฟรอบบ้าน พอมีคนมาโดนก็ช็อตตาย มีปัญหาว่า เจ้าของบ้านผิดหรือไม่? มีแนวคำพิพากษาหลายแนวครับ หลักๆคือ ถ้ามีเหตุอ้างได้ว่ามีภยันตรายจะเกิดขึ้นจริง ก็อ้างป้องกันได้ ไม่เป็นความผิด ไม่ต้องติดคุก แต่ถ้าอ้างแล้วฟังไม่ขึ้นก็ต้องมีความผิด! ดูคำพิพากษาฎีกาสุดคลาสสิกที่ 1923/2519 จำเลยเจ้าบ้านเก็บของมีค่าไว้ในโรงเก็บของในสวน ย่านดังกล่าวมีโจรผู้ร้ายชุกชุม ผู้ตายกับพวกบุกเข้าไปยามวิกาลเจตนาลักเอาของดังกล่าว ถูกเส้นลวดที่จำเลยขึงปล่อยกระแสไฟฟ้าไว้ถึงแก่ความตาย จำเลยมีสิทธิ์ทำร้ายผู้ตายกับพวกเพื่อป้องกันทรัพย์สินได้ การกระทำเป็นการป้องกันสิทธิ์พอสมควรแก่เหตุ จำเลยไม่มีความผิด ให้ยกฟ้อง… มาดูอีกตัวอย่าง อันนี้จะอ้างสิทธิ์ป้องกันไม่ได้เลย…

ญี่ปุ่นฉุนทหารสหรัฐฯ ท้ามฤตยู อ่านหนังสือ-เซลฟีพร้อมขับเครื่องบิน

Loading

ชาวญี่ปุ่นและทางการเมืองอิวากูนิ จังหวัดยามางูจิ ประท้วงทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการในพื้นที่ หลังจากปรากฏภาพที่ทหารสหรัฐฯ ท้าทายกฎความปลอดภัยยามขับเครื่องบิน สร้างความหวาดหวั่นให้ชาวบ้าน ภาพถ่ายของทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการ ณ ฐานทัพอากาศอิวากูนิ แสดงให้เห็นนักบินหลายคนมีพฤติกรรมท้าทายกฎความปลอดภัยในยามซ้อมขับเครื่องบินรบ ทั้งอ่านหนังสือไปพร้อมกับขับเครื่องบิน, โกนหนวดขณะขับเครื่องบิน, ถ่ายภาพเซลฟีโดยปล่อยมือทั้งสองข้างจากคันบังคับเครื่องบิน และถอดหน้ากากออกซิเจนออก เป็นต้น พฤติกรรมเหล่านี้เป็นการเล่นสนุกสนานของบรรดานักบินกองทัพสหรัฐฯ แต่ละเมิดกฎความปลอดภัย และสร้างความวิตกกังวลให้แก่ชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก นายสึงูมาซะ มูราโอกะ ผู้ว่าการจังหวัดยามางูจิ ได้แสดงความไม่พอใจอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมดังกล่าว และได้ยื่นประท้วงต่อฐานทัพสหรัฐฯ อิวากูนิ และกระทรวงการป้องกันประเทศของญี่ปุ่น ในญี่ปุ่นมีฐานทัพสหรัฐฯ ตั้งอยู่ในหลายพื้นที่ ที่ใหญ่ที่สุดคือเกาะโอกินาวา ซึ่งสร้างความไม่พอใจกับชาวบ้านในพื้นที่มาต่อเนื่องยาวนาน ทั้งจากพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่กองทัพสหรัฐฯ และเรื่องความปลอดภัย โดยเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้ว เคยเกิดเหตุเครื่องบินรบสหรัฐฯ ชนกับเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงให้ชาวบ้านในพื้นที่อย่างมาก พฤติกรรมท้ามฤตยูของทหารสหรัฐฯ ยิ่งทำให้ชาวญี่ปุ่นไม่พอใจฐานทัพสหรัฐฯ มากยิ่งขึ้นว่าไม่ใส่ในเรื่องความปลอดภัย และไม่เคารพชาวญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของพื้นที่ ——————————————– ที่มา : MGR Online / 8 พฤศจิกายน 2562 Link : https://mgronline.com/japan/detail/9620000107215

ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองสหรัฐฯ แพ้คดีการค้นและยึดอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์โดยไม่มีข้อสงสัย, หลังจากนี้ต้องแสดงเหตุอันสมควร

Loading

EFF และ ACLU สององค์กรไม่หวังผลกำไรด้านสิทธิการแสดงออกชนะคดีที่ฟ้องร้องกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) พร้อมกับหน่วยงานดูแลชายแดน CBP (U.S. Customs and Border Protection) และ ICE (U.S. Immigration and Customs Enforcement) จากการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เดินทางเข้าประเทศจำนวน 11 รายโดยไม่สามารถแจ้งเหตุผลอันสมควรได้ การตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือโน้ตบุ๊ก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ โดยปี 2018 ที่ผ่านมามีการตรวจค้นกว่า 33,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นสี่เท่าตัวในห่วงสามปี การตรวจค้นครั้งหนึ่งที่เป็นข่าวก่อนหน้านี้คือ Ismail B. Ajjawi นักศึกษาปีหนึ่งของฮาวาร์ดที่ถูก CBP คุมตัวขณะเดินทางเข้าประเทศ เมื่อตรวจค้นโทรศัพท์และโน้ตบุ๊ก เจ้าหน้าที่พบโพสต่อต้านสหรัฐฯ จากเพื่อนของ Ismail แม้ตัว Ismail ยืนยันว่าไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับโพสนั้น เขาก็ถูกยกเลิกวีซ่าและส่งตัวกลับเลบานอน ———————————————- ที่มา : Blognone / 13 November 2019…

สถานทูตเตือนคนไทยในออสเตรเลีย เกาะติดข่าวสถานการณ์ไฟป่าอย่างใกล้ชิด

Loading

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา ขอเรียนว่า ตามที่ได้มีรายงานข่าวสถานการณ์ไฟป่าในบางพื้นที่ของออสเตรเลียโดยเฉพาะที่รัฐ New South Wales และรัฐ Queensland ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาจนถึงวันจันทร์ที่ 11 พ.ย. 2562 พบว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 3 คน สูญหายและได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก จากภาพถ่ายทางดาวเทียมแสดงให้เห็นควันไฟป่าที่มีระยะทางกว่า 4,000 กม. จาก Tasman Sea ไปจนถึง South Island ของนิวซีแลนด์ ในขณะที่ทางการออสเตรเลียได้ใช้มาตรการต่าง ๆ เพื่อคุ้มครองและรักษาชีวิต รวมทั้งบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชน นายกรัฐมนตรีออสเตรเลียแจ้ง เตือนว่าสถานการณ์ไฟป่ามีแนวโน้มว่าอาจมีความรุนแรงยิ่งขึ้นในพื้นที่ดังกล่าวรวมทั้งรัฐ Western Australia เนื่องจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น อุณหภูมิ ทิศทางและความแรงของลมที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ความชื้นปริมาณต่ำ และปริมาณฝนที่คาดว่าจะมีไม่มากในช่วงเดือน ธ.ค. นี้ จนถึงต้นปีหน้า ในรัฐ New South Wales พบว่ามีไฟป่าเกิดขึ้นถึง 64 จุด โดย…

สนามบินเนเธอร์แลนด์ปิดฉุกเฉิน หลังนักบินพลาดส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบิน

Loading

วานนี้ (6 พฤศจิกายน) เกิดความชุลมุนที่ท่าอากาศยานสคิปโฮลในกรุงอัมสเตอร์ดัมของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสนามบินที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุดในทวีปยุโรป หลังมีการส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินจากเที่ยวบินของสายการบิน Air Europa ที่กำลังเตรียมขึ้นบินสู่จุดหมายในกรุงมาดริดของสเปน ส่งผลให้ตำรวจต้องรีบปฏิบัติการช่วยอพยพผู้โดยสารและลูกเรือออกจากเครื่องบิน พร้อมทั้งปิดสนามบินบางส่วน เพื่อทำการตรวจสอบและดำเนินมาตรการป้องกันความปลอดภัยตามขั้นตอน อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นไม่ถึง 1 ชั่วโมง ทางสายการบิน Air Europa ได้ประกาศว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดของหนึ่งในนักบินที่เผลอเปิดสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินโดยไม่ได้ตั้งใจ “สัญญาณเตือนในเที่ยวบินอัมสเตอร์ดัม-มาดริด ช่วงบ่ายวันนี้ ถูกเปิดใช้งานด้วยความผิดพลาด และส่งผลให้มีการดำเนินการเพื่อรับมือเหตุจี้เครื่องบินที่สนามบิน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ผู้โดยสารทุกคนปลอดภัย และกำลังรอที่จะออกเดินทางในเร็วๆ นี้” สายการบินทวีตข้อความ การปิดสนามบินที่เกิดขึ้นสร้างความสับสนและหวั่นวิตกแก่ผู้โดยสารที่ไม่รู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะที่ยังมีหลายเที่ยวบินร่อนลงจอด และบางเที่ยวบินถูกกักไว้ที่ลานจอดเครื่องบินนานเกือบ 1 ชั่วโมง ทางการเนเธอร์แลนด์ระบุว่า เหตุการณ์นี้ถือเป็นสถานการณ์ร้ายแรงที่เรียกว่าสถานการณ์ GRIP-3 ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบใหญ่หลวงต่อประชาชน ขณะที่ยังไม่แน่ชัดว่ามีการส่งสัญญาณเตือนจี้เครื่องบินผิดพลาดได้อย่างไร ซึ่งทางการกำลังอยู่ระหว่างสอบสวน แต่จากเอกสารกฎระเบียบของสำนักงานบริหารการบินแห่งชาติสหรัฐฯ (FAA) ระบุขั้นตอนส่งสัญญาณเตือนกรณีเกิดการจี้เครื่องบินว่า นักบินต้องพิมพ์รหัส 7500 ซึ่งเป็นรหัสสัญญาณดาวเทียมพิเศษก่อน จึงจะเปิดสัญญาณเตือนได้ หมายเหตุภาพ: เป็นแฟ้มภาพสนามบินสคิปโฮลจาก Getty Images ไม่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้ ————————————– ที่มา…