เนเธอร์แลนด์ผุด “แผงกั้นน้ำท่วมอัจฉริยะ” ใช้งานได้ ไม่ทำลายทัศนียภาพ

Loading

แผงกั้นน้ำท่วมยาวที่สุดในโลก สร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยในพื้นที่ที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล และไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมได้ สำนักข่าวซินหัวรายงาน เมื่อวันที่ 6 พ.ย. ที่ผ่านมา ประเทศเนเธอร์แลนด์ได้สร้างแผงกั้นน้ำท่วมปิดอัตโนมัติความยาวกว่า 300 เมตร บริเวณท่าเรือประมง Spakenburg นับว่าเป็นสิ่งประดิษฐ์ล่าสุดที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดอุทกภัยภายในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะแลแห่งนี้ อีกทั้งยังถือว่าเป็นแผงกั้นน้ำท่วมที่ยาวที่สุดในโลกอีกด้วย ตามรายงานระบุ แผงกั้นน้ำท่วมดังกล่าวมีความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร และหากไม่ต้องการใช้งาน แผงกั้นจะถูกเก็บลงไปในระดับเดียวกับทางเท้า โดยมีเพียงชิ้นส่วนด้านบนที่เป็นเหล็กเท่านั้นที่โผล่ออกมาบริเวณรอบท่าเรือให้สามารถมองเห็นได้ ทำให้การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะเดิมของท่าเรือที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ อีกทั้งยังใช้พื้นที่น้อยมาก และไม่ทำลายสภาพแวดล้อมของอดีตหมู่บ้านชาวประมงแห่งนี้ ซึ่งกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชือเสียงในปัจจุบันอีกด้วย โดยแผงกั้นน้ำท่วมนี้จะทำงานก็ต่อเมื่อเกิดน้ำท่วมสูง จนกระแสน้ำไหลเข้ามาเป็นแรงดันให้แผงกั้นน้ำท่วมขึ้นมาจากทางเท้าโดยอัตโนมัติ จากนั้น “กระเป๋า” จากแผ่นโลหะเคฟลาร์น้ำหนักเบาที่อยู่ใต้แผงกั้นจะทำหน้าที่เป็นถังกักเก็บน้ำเอาไว้เป็นเวลา 20 นาที นาย Roeland Hillen ผู้อำนวยการโครงการป้องกันน้ำท่วมดัตช์ได้กล่าวว่า การสร้างแผงกั้นน้ำท่วมนี้เป็นวิธีแก้ไขปัญหาที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อปกป้องพื้นที่เปราะบางแห่งนี้ โดยเฉพาะในเขตเมืองที่ไม่สามารถสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมขึ้นได้ อย่างไรก็ตามค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างแผงกั้นน้ำท่วมแห่งนี้มีมูลค่าสูงถึง 7 ล้านยูโร หรือประมาณ 269 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าการสร้างเขื่อนแบบดั้งเดิมถึง 3 เท่า แต่นับว่าเป็นเรื่องที่คุ้มค่า ทั้งประโยชน์ในการใช้งานและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอันสวยงาม ที่มา: XinhuaNewsAgency ——————————————————- From : โพสต์ทูเดย์…

เปิดตัวนิทรรศการ “ผู้บุกรุกบนโลกไซเบอร์” ในอังกฤษ

Loading

ที่ผ่านมาเราอาจเคยได้ยินเรื่องการโจรกรรมข้อมูลบนโลกอินเตอร์เน็ตมามากมาย และเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากขึ้นเรื่อยๆ ล่าสุดนิทรรศการในกรุงลอนดอน ได้รวบรวมเทคโนโลยีที่สามารถรุกล้ำความเป็นส่วนตัวได้โดยที่พวกเราคาดไม่ถึง บนโลกอินเตอร์เน็ต ที่เราค้นหาข้อมูล หรือดาวน์โหลดภาพ เสียง วิดีโอ โปรแกรมต่างๆมาใช้งานได้โดยปราศจากค่าใช้จ่ายนั้น เราอาจต้องแลกด้วยข้อมูลส่วนตัวของเราโดยไม่รู้ตัว และเลวร้ายกว่านั้น บนโลกที่ทุกอย่างไม่มีอะไรได้มาฟรีๆ ณ วันนี้เราอาจกลายเป็นสินค้าฟรีบนโลกออนไลน์ไปเสียเองก็ได้ ซึ่งนิทรรศการ The Glass Room ที่กรุงลอนดอน ของอังกฤษ เป็นหนึ่งในตัวอย่างที่รวบรวมข้อมูลส่วนตัวของผู้คนทั่วโลก เพื่อบอกว่าบนโลกออนไลน์ ไม่มีอะไรที่เป็นส่วนตัวอีกต่อไป นิทรรศการเลือกจัดสถานที่ให้เหมือนกับร้านค้าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีทั้งคอมพิวเตอร์ แทบเล็ต สมาร์ทโฟนจำนวนมาก จัดวางทั่วนิทรรศการ ทว่าไม่มีสินค้าใดวางขายจริงๆ Stephanie Hankey จาก Tactical Tech อธิบายว่า The Glass Room อาจเหมือนร้านขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ แต่เราจัดวางทุกอย่างให้เหมือน พร้อมกับมีเจ้าหน้าที่คอยให้ข้อมูลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลที่คุณใส่ลงไปบนโลกออนไลน์ Frederike Kaltheunder จาก Privacy International บอกว่า เราอาจจะคิดว่าเราสามารถไว้วางใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัวกับองค์กร หรือในที่ทำงาน แต่แท้ที่จริงแล้วเรากำลังถูกล้อมรอบด้วยระบบตรวจจับข้อมูลที่พยายามเก็บข้อมูลส่วนตัวของเรามากกว่านั้น ตัวอย่างเช่น เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ที่สามารถระบุอารมณ์และเพศของใบหน้าที่ฉายบนจอคอมพิวเตอร์ ก่อนจะทำการประมวลผลว่า ตรงกับภาพของบุคคลใดที่มีคลังภาพมหาศาลอยู่ในอินเตอร์เน็ต หรือจะเป็นหนังสือเล่มหนา…

บัญชีธนาคารของคุณปลอดภัยจากแฮกเกอร์แค่ไหน?

Loading

  โดย ฐิติพล ปัญญาลิมปนันท์   ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ในไทยผลักดันให้ลูกค้าหันมาทำธุรกรรมการเงินออนไลน์ ซึ่งนอกจากจะช่วยประหยัดเวลา ลดต้นทุนของธนาคาร ธนาคารมักยืนยันว่ามีความปลอดภัย แต่ลูกค้ามั่นใจได้จริงแค่ไหน พิชญะ โมริโมโต พยายามแฮกเข้าระบบของธนาคารเป็นประจำและมักประสบผลสำเร็จ แต่ต่างจากอาชญากรไซเบอร์ เพราะเขาเป็น “แฮกเกอร์สายขาว” ซึ่งหน้าที่ก็คือช่วยให้เงินฝากในบัญชีของธนาคารปลอดภัยมากยิ่งขึ้น สิ่งที่เขาพบก็คือระบบการรักษาความปลอดภัยของธนาคารโดยรวมยังมีจุดอ่อน “ยังไม่ค่อยปลอดภัยเท่าที่ควร ยังมีหลาย ๆ ครั้ง ที่พบช่องโหว่ที่มีความรุนแรงสูงมาก แต่ไม่มีการซ่อมแซม” พิชญะ ผู้มีตำแหน่งผู้ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัย ของบริษัท SEC Consult กล่าว บริการยิ่งหลากหลายยิ่งเสี่ยงมากขึ้น ตามระเบียบของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งในประเทศจะต้องทดสอบความปลอดภัยของระบบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งโดยผู้ตรวจสอบจากนอกองค์กร นั่นหมายถึงธนาคารต้องจ้างมืออาชีพตรวจสอบด้านความปลอดภัยระบบอย่าง พิชญะ เข้ามาทำงาน สิ่งที่เขาทำคือจำลองสถานการณ์เหมือนเป็นแฮกเกอร์ที่พยายามเจาะระบบ เพื่อวิเคราะห์ว่าสามารถโจมตีทางใดได้บ้างและรายงานต่อธนาคารเพื่อแก้ไข พิชญะ อธิบายว่าความเสี่ยงของระบบนั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่เรียกว่า attack surface นั่นคือช่องทางหรือพื้นที่แฮกเกอร์สามารถทำงานได้ กล่าวคือ ยิ่งมีบริการออนไลน์หลายรูปแบบ ยิ่งมีโอกาสเกิดช่องโหว่ได้มากขึ้น “เขาอาจจะมองว่าถึงมีช่องโหว่จริง แต่เขาก็มีทีมมอร์นิเตอร์และมั่นใจว่าจะระงับเหตุได้ทันท่วงที” พิชญะกล่าว แต่ในมุมมองของเขา ธนาคารควรจะแก้ไขทันทีและปิดไม่ให้ใช้งานในส่วนนั้นจนกว่าจะแก้ไขเสร็จ ไม่ใช่เลือกดำเนินการเฉพาะเมื่อเรื่องนั้น “กลายเป็นกระแสบนพันทิปหรือเฟซบุ๊ก” เพราะถึงแม้จะมีการสอดส่องตลอดเวลา…

กรณี Deloitte ยังไม่จบ! ข้อมูล Login สำหรับ VPN และ Proxy ถูกเปิดสาธารณะ เปิด RDP ให้เข้าจากภายนอกโดยตรงได้จำนวนมาก

Loading

ยังไม่จบกับเรื่องราวของ Deloitte ที่เพิ่งมีเหตุข้อมูลรั่วไป อ่านต่อได้ที่ (ยืนยัน Deloitte ถูกแฮ็ค ข้อมูลอีเมลลูกค้ารั่วสู่สาธารณะ) ล่าสุดนี้มีการพบหลักฐานมากมายเกี่ยวกับประเด็นปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยของ Deloitte เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นกรณี Credential ของ VPN ถูกเปิดเผยบน GitHub, Credential ของ Proxy ถูกเผยบน Google+ และยังมีการเปิดให้เชื่อมต่อ RDP เข้าไปยังบริการสำคัญภายใน Deloitte จากภายนอกโดยตรงได้อีกจำนวนมาก ในวันอังคารที่ผ่านมาได้มีผู้พบการเปิดเผยข้อมูล VPN Username, Password และวิธีการใช้งานของ Deloitte บน GitHub ที่เปิดสาธารณะ และปัจจุบันได้ถูกลบออกไปแล้ว รวมถึงยังมีกรณีที่พนักงานของ Deloitte เองได้ทำการอัปโหลดข้อมูล Login Credential สำหรับบริการ Proxy ภายใน Deloitte ขึ้นไปบน Google+ มาแล้วเป็นเวลากว่า 6 เดือน ก่อนจะถูกลบออกไปเมื่อไม่นานมานี้ นอกจากนี้ Dan Tentler…

อังกฤษลดระดับเตือนภัยก่อการร้าย

Loading

  สหราชอาณาจักรลดระดับเตือนภัยก่อการร้ายลงมาอยู่ที่ขั้นรุนแรง (severe) จากขั้นวิกฤตซึ่งเป็นระดับสูงสุด หลังเกิดเหตุโจมตีบนรถไฟใต้ดินเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (15 ก.ย.) ระดับเตือนภัยก่อการร้ายขั้น “รุนแรง” หมายความว่าการก่อการร้ายไม่ได้เป็นอันตรายที่ใกล้ตัวมากอีกต่อไป แต่ยังคงมีโอกาสสูงที่จะเกิดขึ้น ตำรวจจับตัวผู้ต้องสงสัยชายรายที่ 2 ซึ่งมีอายุ 21 ปี ได้ที่เมืองฮันส์โลว์ ทางตะวันตกของกรุงลอนดอนเมื่อคืนวันเสาร์ ต่อจากการจับกุมชายวัย 18 ปี ที่ต้องสงสัยว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดบนรถไฟใต้ดินที่สถานีพาร์สันส์ กรีน หลังจากจับกุมชายวัย 21 ปี ตำรวจได้เข้าตรวจค้นที่พักแห่งหนึ่งในสแตนเวลล์ มณฑลเซอร์รีย์ เพิ่มเติม: จับชายต้องสงสัยคนที่ 2 เอี่ยววางระเบิดรถไฟใต้ดินลอนดอน “ก่อการร้าย” รถไฟใต้ดินลอนดอน เจ็บ ย้อนรอย 5 เหตุร้าย ใน สหราชอาณาจักร นางแอมเบอร์ รัดด์ รัฐมนตรีมหาดไทย ระบุว่า ภายในไม่กี่วันข้างหน้านี้ ทหารจะกลับเข้ากองพัน และงานสืบสวนของตำรวจก้าวหน้าไปมาก แต่ยังขอให้ประชาชนทุกคนช่วยกันสอดส่องระวังภัย แต่อย่าตื่นตระหนก รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอน มาร์ก โรว์ลีย์ กล่าวว่า ตำรวจมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับระเบิดที่ถูกเตรียมมา แต่ยังคงมีงานสืบสวนต้องทำอีกมาก…

สิงคโปร์ทดสอบสัญญาณเตือนภัยทั่วทั้งเกาะ

Loading

เสียงสัญญาณดังทั่วเกาะสิงคโปร์เป็นเวลา 1 นาที เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่เกาหลีเหนือทดสอบขีปนาวุธครั้งล่าสุด แต่สองเหตุการณ์นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด สัญญาณไซเรนที่ปลุกชาวญี่ปุ่นจากสันติสุข ขีปนาวุธข้ามฮอกไกโด: ความเห็นของคนในพื้นที่ นี่คือการฝึกซ้อมสัญญาณเตือนภัยที่จัดขึ้นปีละสองครั้งของสิงคโปร์ โดยเสียงสัญญาณเตือนภัยในแต่ละแบบจะเป็นการส่งสัญญาณไปยังประชาชนให้ปฏิบัติตนที่แตกต่างกันออกไป ตั้งแต่การเปิดรับข้อมูลจากสื่อมวลชน จนไปถึงการต้องไปที่หลบภัยในทันที ที่มา :BBC Thai ลิงค์ : http://www.bbc.com/thai/international-41294893?ocid=wsthai.chat-apps.in-app-msg.line.trial.link1_.auin?