คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…

วิธีรับมือกับ “ข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บน Google” ป้องกันมิจฉาชีพนำไปใช้

Loading

  ถ้าสงสัยว่ามีข้อมูลส่วนตัวของตัวเองใน Google หรือไม่ ให้ลองพิมพ์ชื่อ หรือเบอร์โทรศัพท์บน Google หากพบก็ถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับ และข้อมูลส่วนตัวที่อยู่บนโลกออนไลน์อาจส่งผลให้มิจฉาชีพไปใช้และเกิดอันตรายได้   ตัวอย่างข้อมูลอะไรบ้าง? ที่น่ากังวลหากมีอยู่บน Google –  หมายเลขประจำตัวประชาชนของรัฐบาล (ID) , –  เลขที่บัญชีธนาคาร, –  หมายเลขบัตรเครดิต, –  ลายเซ็น, –  รูปภาพเอกสารประจำตัว, –  ข้อมูลติดต่อส่วนบุคคล (ที่อยู่จริง หมายเลขโทรศัพท์ และที่อยู่อีเมล)     วิธีง่ายๆที่สามารถตรวจเช็กก็คือ เข้า Google > ลองพิมพ์ข้อมูลส่วนตัวลงไป เช่น ชื่อ-นามสกุล,บัตรประชาชน และข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ หากพบเจอ ก็สามารถส่งคำขอให้ Google ลบได้โดยวิธีดังนี้ เข้าลิงก์ Google จะพบหน้าดังนี้     คุณยังสามารถขอให้ Google ลบรูปภาพที่ล้าสมัยที่พบใน images.google.com ได้…

ติดกระบองให้ยักษ์

Loading

  ในขณะที่สังคมไทยตื่นตัวกับกฎหมาย PDPA ที่มุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและอาญา ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล   ประเด็นที่ต้องตระหนักไปพร้อมกัน ก็คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้เช่นการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร โรงพยาบาล รวมทั้งความมั่นคงในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงความมั่นคงของประเทศ ที่นับวันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เป็นภัยความมั่นคงระดับประเทศ หรือความเสียหายทางธุรกิจ เช่น กรณี Apple ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและได้พบมัลแวร์ Pegasus ในไอโฟนของนักเคลื่อนไหวการเมืองไทยกว่า 30 คน หรือกรณี ที่ T-Mobileต้องจ่ายเงิน350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,800ล้านบาท เพื่อชดเชนให้ยุตืคดีที่ลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ฐานปล่อยให้ถูกแฮกข้อมูลรั่วไหล 76.6ล้านคน   โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ที่มีการทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เพราะคนอยู่หน้าจอออนไลน์กันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงการติดตามไล่ล่าตัวผู้กระทำผิด และมักคิดถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือตำรวจไซเบอร์เพียงเท่านั้น   อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของแต่ละองค์กรแล้ว ปัจจุบันไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการโจตีทางไซเบอร์ โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562  …

ดีป้า เดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นผู้บริโภคด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE ตัวช่วยคัดกรองผลิตภัณฑ์-บริการดิจิทัล ได้มาตรฐานสากล ตรงปกไม่โดนหลอก

Loading

  ดีป้า เดินหน้าปั้นตราสัญลักษณ์แห่งความปลอดภัย ได้คุณภาพตามมาตรฐานระดับสากลสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลในชื่อ “dSURE” เพื่อสร้างความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งานแก่ผู้บริโภค พร้อมเปิดให้ผู้ประกอบการไทยขอรับตราลักษณ์ได้แล้ววันนี้     ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ มีการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกบริบทของการดำรงชีวิต ซึ่งปัจจัยดังกล่าวกระตุ้นให้เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการด้านดิจิทัลออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นทางเลือกแก่ผู้บริโภคที่มีความเฉพาะทางและหลากหลายยิ่งขึ้น แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่ายังสามารถพบผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ทั้งที่ได้มาตรฐานและต่ำกว่ามาตรฐานวางขายปะปนตามท้องตลาด นั่นจึงเป็นที่มาของการจัดทำตราสัญลักษณ์ “dSURE” (ดีชัวร์)     “ดีป้า ได้ดำเนินการกำหนดขอบเขตมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล ก่อนออกตราสัญลักษณ์ dSURE ให้กับผู้ประกอบการ ทั้งผู้ผลิตและผู้นำเข้า ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์หรือบริการดิจิทัลที่ได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าวผ่านการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และคัดกรองแล้วว่าได้คุณภาพตามมาตรฐานสากล ช่วยให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจในการเลือกซื้อและใช้งาน ลดความเสี่ยงที่ต้องพบ โดยเฉพาะปัญหาด้านความปลอดภัย และการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล อีกทั้งเป็นกลไกสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัลที่มีคุณภาพ ต่อยอดสู่การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในตลาดสากล” ผู้อำนวยการใหญ่ ดีป้า กล่าว   ผศ.ดร.ณัฐพล กล่าวต่อว่า ระยะแรก ดีป้า…

กองทัพสวิส ยุติการใช้งาน Whatsapp ยกเหตุผลความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว

Loading

    กองทัพสวิส ออกโรงเปลี่ยนแอปพลิเคชันแชต จากเดิมที่เคยใช้วอตส์แอป (Whatsapp) มาเป็น Threema ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันท้องถิ่นของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาเหตุที่เปลี่ยนแอปเพราะความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว   กองทัพสวิส ประกาศสั่งห้ามใช้แอปพลิเคชันชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นวอตส์แอป, ซิกแนล (Signal) และเทเลแกรม (Telegram) ในการใช้ส่งข้อความภายในองค์กร พร้อมกับสั่งให้เจ้าหน้าที่หันมาใช้แอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Threema แทน ซึ่งแอปพลิเคชันดังกล่าว เป็นแอปพลิเคชันที่พัฒนาโดยบริษัทในสวิตเซอร์แลนด์ นั่นเอง   Threema เป็นแอปแชตที่เริ่มให้บริการในช่วงปี 2012 มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปัจจุบันมีผู้ใช้งานราว 10 ล้านราย รองรับทั้ง iOS และ Android   สาเหตุที่มีการออกประกาศดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากการที่กองทัพสวิส มีความกังวลต่อนโยบายความเป็นส่วนตัวของแอปพลิเคชันต่างๆ ซึ่งโดยปกติแล้ว แอปหลักที่ใช้งานเป็นประจำก็คือวอตส์แอป อีกทั้งกองทัพสวิสยังมีความกังวลหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ อาจสามารถเข้าถึงข้อมูลสำคัญของกองทัพสวิสได้   พร้อมกันนี้ ความกังวลของกองทัพสวิสน่าจะเป็นเรื่องของเจ้าหน้าที่จากวอชิงตัน ดี.ซี. สามารถเข้าถึงข้อมูลของบริษัทที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของรัฐบาลสหรัฐฯ   ขณะที่แอปพลิเคชัน Threema เป็นบริษัทที่มาจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และไม่มีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในสหรัฐอเมริกา…

หน่วยงาน FCC สหรัฐอเมริกา เรียกร้องให้แบนโดรน DJI อ้างเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ

Loading

  กรรมาธิการของหน่วยงาน FCC สหรัฐอเมริกา เบรนแดน คาร์ (Brendan Carr) ออกมาเรียกร้องให้เพิ่มโดรนของ DJI ในบัญชี FCC Covered List ซึ่งอาจทำให้ DJI ไม่สามารถขายผลิตภัณฑ์ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อีกต่อไป เนื่องจากความเสี่ยงด้านความมั่นคงแห่งชาติ จากข้อความที่เผยแพร่ในหน้าเว็บไซต์ของ FCC คาร์กล่าวว่าบริษัท DJI มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้จำนวนมหาศาล ตั้งแต่ภาพความละเอียดสูงไปจนถึงเทคโนโลยีการจดจำใบหน้า และเซนเซอร์ระยะไกลที่สามารถวัดอุณหภูมิร่างกายหรืออัตราการเต้นหัวใจของแต่ละคนได้     ยังมีการกล่าวต่อว่านักวิจัยด้่านความปลอดภัยยังชี้ให้เห็นถึงแอปในสมาร์ตโฟนของทาง DJI รวบรวมข้อมูลของผู้ใช้จำนวนมาก รวมถึงอดีตเจ้าหน้าที่ของเพนตากอนเองยังออกมาบอกว่าหน่วยงานของรัฐรับทราบเรื่องนี้ และเป็นเรื่องจริงที่โดรนของ DJI ส่งข้อมูลเหล่านี้กลับไปยังจีน   การที่ DJI รวบรวมข้อมูลจำนวนมากเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่ดูจะน่าหนักใจเป็นพิเศษ เนื่องจากกฎหมายข่าวกรองแห่งชาติของจีนให้อำนาจรัฐบาลจีนสามารถสั่งให้ DJI สามารถช่วยเหลือในเรื่องจารกรรมข้อมูลได้อย่างเต็มที่ และต้องบอกว่าทาง DJI ถูกจัดอยู่ใน ‘บัญชีดำทางเศรษฐกิจ’ ของกระทรวงพาณิชย์ตั้งแต่เมื่อปีที่แล้ว แม้ตามปกติแล้วบริษัทที่อยู่ในบัญชีดำจะขายผลิตภัณฑ์ในสหรัฐอเมริกาได้ยากขึ้น แต่ดูเหมือนทาง DJI จะยังไม่ได้ประสบปัญหาเหล่านี้   คาร์ยังกล่าวให้เห็นทุกข้อกังวลมากมายที่มีต่อ DJI ให้หน่วยงานต่าง ๆ…