แก้ปัญหาโกงวุฒิการศึกษา ดิจิทัล เวนเจอร์ส เปิดตัว B.VER แพลตฟอร์มตรวจสอบวุฒิการศึกษาออนไลน์

Loading

โดย อธิชญา สุขธรรมรัตน์ ดิจิทัล เวนเจอร์ส ร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ เปิดตัว B.VER (Blockchain Solution for Academic Document Verification) แพลตฟอร์มดิจิทัลสำหรับตรวจสอบเอกสารทางการศึกษาด้วยเทคโนโลยีบล็อคเชน (Blockchain) ที่ให้สถาบันการศึกษา หรือองค์กรต่างๆ สามารถตรวจสอบวุฒิการศึกษา หรือ Transcript ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ได้แบบเรียลไทม์ ช่วยป้องกันปัญหาการปลอมแปลงวุฒิการศึกษา อรพงศ์ เทียนเงิน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่าปัญหาเรื่องการปลอมแปลงวุฒิการศึกษามีมาอย่างยาวนาน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จึงอยากจะนำเทคโนโลยีขั้นสูงอย่างบล็อคเชนมาแก้ปัญหาดังกล่าว จึงพัฒนาเป็นแพลตฟอร์ม B.VER เพื่อให้มหาวิทยาลัยและองค์กรต่างๆ ใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบวุฒิการศึกษา ด้านจีรพล มัทวพันธุ์ Head of Project Delivery ของบริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด อธิบายการทำงานของ B.VER ว่าการถูกแบ่งเป็น 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือการอัพโหลดไฟล์ต้นฉบับขึ้นสู่แพลตฟอร์มโดยมหาวิทยาลัย จากนั้นระบบจะดำเนินการเข้ารหัสและเก็บเอกสารไว้ในบล็อคเชน…

แบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1) และหลักฐานที่ยื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

Loading

สำหรับผู้ที่มีสิทธิเข้าสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่งประเภทวิชาการและตำแหน่งประเภททั่วไป ตามประกาศสำนักข่าวกรองแห่งชาติ ลงวันที่ 5 ต.ค.2561 ดาวน์โหลดแบบประวัติบุคคล สำนักข่าวกรองแห่งชาติ (รปภ.สขช.1)       คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ รปภ.สขช.1 ออกมากรอกรายละเอียดด้วยลายมือให้ครบถ้วน (ยังไม่ต้องลงลายมือชื่อใน รปภ.สขช.1) โดยให้เขียนตำแหน่งที่สอบพร้อมเลขประจำตัวสอบไว้ที่มุมขวาบนของ รปภ.สขช.1 (เฉพาะหน้าแรก) และนำ รปภ.สขช.1 ที่กรอกรายละเอียดแล้วมายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์)     ผู้เข้าสอบจะต้องนำหลักฐานดังต่อไปนี้มายื่นในวันสอบแข่งขันเพื่อวัดความเหมาะสมกับตำแหน่ง (วันเข้ารับการสอบสัมภาษณ์) 1.ใบสมัครที่พิมพ์จากอินเทอร์เน็ต ให้ติดรูปถ่ายหน้าตรง ไม่สวมหมวก และไม่สวมแว่นตาดำ ถ่ายไม่เกิน 1 ปี ขนาด 1×1.5 นิ้ว จำนวน 1 รูป (เขียนชื่อ-สกุล และเลขประจำตัวสอบหลังรูป) ลงลายมือชื่อในใบสมัครให้ครบถ้วน 2.สำเนาปริญญาบัตร/สำเนาประกาศนียบัตร คุณวุฒิตามตำแหน่งที่สมัครสอบ และ/หรือ สำเนาระเบียนแสดงผลการศึกษา (Transcript of Records) ที่แสดงว่าเป็นผู้มีคุณวุฒิทางการศึกษาตรงตามประกาศรับสมัครโดยต้องสำเร็จการศึกษาและได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจอนุมัติภายในวันปิดรับสมัคร (วันปิดรับสมัครสอบ คือ วันที่ 8…

Facebook ถูกแฮ็ก – 10 ประเด็นล่าสุดที่คุณควรรู้

Loading

Facebook ได้ออกแถลงการณ์ ระบุว่าพบแฮ็กเกอร์เจาะช่องโหว่ 3 รายการบนเว็บไซต์และขโมยข้อมูลผู้ใช้ไปกว่า 50 ล้านรายชื่อ เพื่อตอบโต้เหตุดังกล่าว Facebook จึงได้ทำการรีเซ็ต Access Tokens ของผู้ใช้ที่อาจได้รับผลกระทบ ส่งผลให้มีผู้ใช้เกือบ 90 ล้านคนถูกบังคับให้ล็อกเอาต์และลงชื่อเข้าใช้ใหม่ และนี่คือ 10 ประเด็นล่าสุดที่ผู้ใช้ Facebook ทุกคนควรรับทราบเอาไว้ 1. Facebook ตรวจจับเหตุ Data Breach ได้หลังพบว่ามีทราฟฟิกกระโดดขึ้นสูงผิดปกติ ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทีมรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ Facebook ตรวจพบว่ามีทราฟฟิกกระโดดขึ้นสูงผิดปกติบน Server ของตน หลังจากทำการตรวจสสอบพบว่าเป็นการโจมตีไซเบอร์ โดยเหตุการณ์เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา คาดว่ามีเป้าหมายเพื่อขโมยข้อมูลผู้ใช้ Facebook 2. แฮ็กเกอร์เจาะระบบผ่านช่องโหว่ 3 รายการ แฮ็กเกอร์เจาะเว็บไซต์ของ Facebook ได้สำเร็จโดยใช้การผสานรวมของช่องโหว่ 3 รายการ ดังนี้ ช่องโหว่แรกแสดงตัวเลือกการอัปโหลดวิดีโอบนบางโพสต์แก่ผู้ใช้ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถอวยพร ‘Happy Birthday’ เมื่อเข้าถึงผ่านทางเพจ “View As”…

เจ๋ง! นักศึกษาในฟลอริดา พัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมข้อมูลที่ตู้ ATM

Loading

นอกจากจะมีเหล่าแฮคเกอร์ หรือนักเจาะข้อมูล ที่ขโมยหมายเลขบัตรเครดิตทางอินเตอร์เนตแล้ว ยังมีมิจฉาชีพกลุ่มอื่นๆ ที่ขโมยข้อมูลจากตัวบัตรโดยตรงหรือที่ตู้ ATM ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา คิดค้นอุปกรณ์ที่ยับยั้งการโจรกรรมเหล่านี้ได้ ด้วยต้นทุนไม่แพงแล้ว แม้ว่าบัตรเครดิตและบัตรเดบิตรุ่นใหม่ๆ จะมีแถบชิพอิเล็กทรอนิค ที่ยากต่อการคัดลอกหมายเลขบัตร แต่ก็ยังมีบัตรเครดิตจำนวนมากที่ยังใช้แถบแม่เหล็กและต้องใช้เครื่องอ่านบัตรแบบเก่ากันอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามร้านค้าเล็กๆ หรือปั๊มน้ำมัน ซึ่งมักจะตกเป็นเป้าหมายของเหล่ามิจฉาชีพ อาจารย์ Patrick Traynor จากมหาวิทยาลัยฟลอริดา อธิบายว่า บัตรเครดิตจะถูกเข้าถึงข้อมูลภายในบัตรได้ ด้วยเครื่องอ่านบัตรเครดิต หรือ Card Reader ซึ่งจะมีเครื่องอ่านบัตรเพียงเครื่องเดียวที่ปรากฏอยู่ในช่องเสียบบัตรของตู้ ATM หรือร้านค้า แต่วิธีของเหล่ามิจฉาชีพจะติดหัวอ่านปลอมเข้ากับหัวอ่านแถบแม่เหล็กของบัตรของจริงอย่างแยบยล และเมื่อลูกค้าใส่บัตรเครดิตเข้าไป หัวอ่านนั้นจะคัดลอกข้อมูล และนำไปทำบัตรเครดิตปลอมมาใช้ เจ้าหน้าที่รักษากฏหมายของสหรัฐฯ เรียกการโจรกรรมดังกล่าวว่า Skimmer ซึ่งในแต่ละปีสามารถขโมยเงินได้มากกว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ การโจรกรรมแบบ Skimmer กำลังแพร่หลาย โดยเฉพาะตามเมืองใหญ่ เช่นที่มหานครนิวยอร์ค ทว่าที่นั่นกลับมีตำรวจสืบสวนเพียง 4 คนเท่านั้น ที่ได้รับการฝึกอบรมให้สามารถตรวจสอบหัวอ่านปลอมที่ถูกนำไปติดตั้งตามตู้ ATM ได้ ล่าสุด นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่มหาวิทยาลัยฟลอริดา ภายใต้การนำของอาจารย์ Patrick Traynor คิดค้นพัฒนาอุปกรณ์ที่มีชื่อเรียกว่า…

รักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนตัวบน “เฟซบุ๊ก”

Loading

  ในขณะที่ราคาหุ้นของเฟซบุ๊กกำลังตกลงอย่างต่อเนื่อง และแฮชแทก #DeleteFacebook หรือ #ลบเฟซบุ๊ก กำลังเป็นที่นิยมอยู่ในทวิตเตอร์ขณะนี้ คำถามสำหรับผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายคนคือ ข้อมูลส่วนตัวของเราถูกใครเอาไปใช้บ้าง และเราสามารถทวงคืนมันกลับมาได้หรือเปล่า? คำถามนี้เกิดขึ้นจากกรณีข้อกล่าวหาที่ว่าบริษัทที่ปรึกษาด้านการเมือง เคมบริดจ์ อนาลิติกา (Cambridge Analytica) นำข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กกว่า 50 ล้านคนไปใช้ และล่าสุดคณะกรรมาธิการสอบข้อเท็จจริงของสภาสามัญชนของอังกฤษ ก็ได้เรียกตัว มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งและซีอีโอเฟซบุ๊ก เข้าให้ปากคำ สำหรับเฟซบุ๊กแล้ว ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้เป็นสิ่งจูงใจให้บริษัทต่าง ๆ เข้ามาซื้อโฆษณา และเป็นที่รู้กันดีว่าเฟซบุ๊กสามารถเข้าใจตัวตนและสร้างโปรไฟล์ของผู้ใช้ขึ้นมาอย่างละเอียดลึกซึ้งผ่านการกดไลค์ การกดอันไลค์ ดูรูปแบบการใช้ชีวิต และความคิดทางการเมือง ของผู้ใช้ และด้วยเหตุนี้ คำถามที่สำคัญก็คือ เฟซบุ๊กได้ให้ข้อมูลเหล่านี้ไปกับใครบ้าง และเราจะทวงคืนข้อมูลส่วนตัวเรากลับมาได้หรือไม่   มาลองทดสอบไอคิวของคุณกัน เราหลายคนอาจเคยเล่น ควิซ หรือ แบบทดสอบบนเฟซบุ๊ก อาจจะเป็นทดสอบบุคลิกส่วนตัวคุณ หรือไม่ก็วัดระดับสติปัญญาหรือไอคิว และแบบทดสอบที่กำลังเป็นที่ถกเถียงอยู่ในขณะนี้คือแบบทดสอบที่ชื่อ This is Your Digital Life โดยบริษัทเคมบริดจ์   อนาลิติกา ถูกกล่าวหาว่าได้ใช้แบบทดสอบนี้เพื่อดึงข้อมูลของผู้ใช้เฟซบุ๊กหลายล้านคนไปใช้เพื่อชักจูงผลโหวตการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ เมื่อปี…

ชาวอังกฤษหลายพันซื้อ “ปริญญาปลอม” จากบริษัทต้มตุ๋นในปากีสถาน

Loading

รายการ “File on Four” ของสถานีวิทยุบีบีซี เรดิโอ 4 แฉ พลเมืองในสหราชอาณาจักรหลายพันคนซื้อ “ปริญญาปลอม” จากบริษัทต้มตุ๋นในปากีสถาน ซึ่งมีมูลค่าธุรกิจหลายล้านปอนด์ “เอแซค” (Axact) ซึ่งอ้างตนว่าเป็น “บริษัทเทคโนโลยีสารสนเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก” ทำธุรกิจสร้างมหาวิทยาลัยออนไลน์ปลอมหลายร้อยแห่ง ซึ่งดำเนินการโดย พนักงานคอลเซนเตอร์ในนครการาจี ในปากีสถาน รายการ “File on Four” รายงานว่า ระหว่างปี 2013-2014 ลูกค้าในสหราชอาณาจักรซื้อใบปริญญาปลอมมากกว่า 3 พันใบ ทั้งระดับปริญญาตรี โท เอก บริษัทดังกล่าวบริหารจัดการมหาวิทยาลัยปลอม เช่น “มหาวิทยาลัยบรูคลิน พาร์ค”, “มหาวิทยาลัยนิกสัน” โดยในเว็บไซต์มีรูปนักศึกษาวิทยาลัยยิ้มแย้ม และมีแม้กระทั่งบทความปลอม ๆ ที่เขียนเยินยอสถาบัน ผู้ที่ซื้อปริญญาดังกล่าวมีตั้งแต่พนักงานของบริษัทจัดซื้อจัดจ้างอาวุธและยุทธภัณฑ์ และเจ้าหน้าที่ของสำนักงานบริการสุขภาพแห่งชาติของ สหราชอาณาจักร (NHS) ไม่ว่าจะเป็น อายุรแพทย์ จักษุแพทย์ จิตแพทย์ และพยาบาล แพทย์รายหนึ่งที่โรงเรียนแพทย์แห่งหนึ่งในลอนดอนซื้อปริญญาตรีด้านอายุรศาสตร์จากสถาบันเถื่อนในนาม “มหาวิทยาลัยเบลฟอร์ด” ในขณะที่แพทย์อีกคนหนึ่งบอกว่าเขาซื้อปริญญาด้านการจัดการโรงพยาบาล แต่บอกว่าไม่ได้ใช้ใบวุฒิการศึกษานี้ในสหราชอาณาจักร…