สิทธิความเป็นส่วนตัวทางดิจิทัลกำลังเป็นประเด็นพิจารณาในศาลสูงสุดสหรัฐฯ

Loading

  ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ กำลังทบทวนอำนาจของตำรวจในการดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือโดยไม่มีหมายค้น ศาลสูงสุดแห่งสหรัฐฯ เเสดงท่าทีเมื่อเร็วๆ นี้ว่าอาจจะออกกฏระเบียบใหม่เพื่อควบคุมอำนาจของหน่วยงานบังคับใช้กฏหมายของสหรัฐฯ ในการติดตามการเคลื่อนไหวของปัจเจกบุคคลด้วยการเข้าไปดูข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของคนที่ตกเป็นเป้าสงสัย การไต่สวนคำร้องในศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ครั้งนี้ อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่สำคัญในประเด็นที่ถกเถียงกันมาตลอด เกี่ยวกับการปกป้องเสรีภาพประชาชนในยุคที่เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประเด็นที่ถกกันคือ ควรหรือไม่ที่ตำรวจมีอำนาจจะเข้าถึงข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ที่ช่วยระบุว่าผู้ใช้อยู่ที่ไหนได้โดยไม่ต้องขอหมายค้นจากศาล การทบทวนเรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการตัดสินให้ชายอเมริกัน นายทิโมธี คาร์เพนเตอร์ (Timothy Carpenter) มีความผิดในข้อหาการปล้นหลายครั้ง ย้อนไปในปี 2010 กับ 2011 เพราะคณะอัยการได้ข้อมูลในโทรศัพท์มือถือของนายคาร์เพนเตอร์ที่ระบุว่าเขาอยู่ที่ใดในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่เกิดเหตุ ข้อมูลนี้มีส่วนสำคัญที่นำไปสู่การตัดสินว่าเขามีความผิดตามข้อกล่าวหา เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทีมทนายความของ American Civil Liberties Union หรือ ACLU ได้เเสดงข้อโต้เเย้งต่อศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ว่าควรมีข้อกำหนดว่าตำรวจจะต้องได้รับหมายค้นจากศาลเสียก่อนที่จะสามารถเข้าไปดูข้อมูลบันทึกการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหา ทีมทนายความดังกล่าวยังโต้เเย้งด้วยว่า การอนุญาตให้ตำรวจเข้าไปดูข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือของผู้ต้องสงสัยโดยไม่มีหมายค้น ถือว่าละเมิดสิทธิส่วนบุคคลตามที่ระบุไว้ในกฏหมายรัฐธรรมนูญ ในบทบัญญัติฉบับเเก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ที่ห้ามตำรวจทำการค้นตัวเเละยึดของใช้ส่วนตัวของผู้ต้องหาอย่างไม่มีเหตุผล เนธาน ฟรีด วีสสเล่อร์ (Nathan Freed Wessler) ทนายความของเอซีเอลยู (ACLU) กล่าวกับบรรดาผู้สื่อข่าวด้านนอกศาลสูงสุดของสหรัฐฯ ในกรุงวอชิงตัน หลังการไต่สวนของศาลว่า เป็นไปไม่ได้ที่ประชาชนจะใช้ชีวิตประจำวันโดยไม่ทิ้งร่องรอยของการใช้โทรศัพท์มือถือที่ชี้ว่า ณ…

สหรัฐฯ ผลักดันระบบคนเข้าเมืองเเบบเน้น ‘คุณสมบัติ’ เเทนระบบครอบครัว

Loading

ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีนโยบายที่บรรดานักวิจารณ์เรียกว่า “การย้ายถิ่นระบบห่วงโซ่” หรือ chain immigration เเต่คนที่เห็นด้วยเรียกว่า “การย้ายถิ่นระบบครอบครัว” หรือ family-based immigration ระบบคนเข้าเมืองของสหรัฐฯ ขึ้นอยู่กับระบบสนับสนุนหรือ sponsorship ที่ผู้ถือสัญชาติอเมริกันเเละผู้มีสิทธิ์อาศัยอยู่ถาวรอย่างถูกกฏหมาย หรือผู้ถือใบเขียว สามารถสนับสนุนให้ญาติของตนจากประเทศบ้านเกิด ย้ายเข้ามาอาศัยในสหรัฐฯ ได้ คู่สมรสเเละบุตรที่ยังอายุไม่ครบวัยเบญจเพศตามกฏหมาย มีสิทธิ์ในการสมัครในฐานะสมาชิกครอบครัวที่ใกล้ชิด เเละไม่จำเป็นต้องรอให้ได้หมายเลขวีซ่าเสียก่อน และสำหรับสมาชิกครอบครัวในกลุ่มนี้ ไม่มีการจำกัดจำนวนโควต้าว่าได้กี่คน โดยผู้ถือสัญชาติเพียงเเค่ยื่นใบสมัครเพื่อร้องขอเท่านั้น เเต่สำหรับสมาชิกครอบครัวในฐานะพี่ชายหรือน้องชาย พี่สาวหรือน้องสาว เเละบุตรที่โตเป็นผู้ใหญ่เเล้ว ขั้นตอนการพิจารณาอาจจะนานกว่าเเละยากมากขึ้น Naomi Tsu รองประธานด้านกฏหมายแห่ง Southern Poverty Law Center กล่าวว่า การขอวีซ่าย้ายมาอยู่สหรัฐฯ ให้กับพี่น้อง เป็นเรื่องยากมาก เพราะถือว่าเป็นสมาชิกครอบครัวอันดับท้ายๆ เเละจะยากขึ้นไปอีกหากเป็นประชาชนจากประเทศที่มีคนย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยูในสหรัฐฯ เป็นจำนวนมากเเล้ว Stephen Lee อาจารย์ด้านกฏหมายคนเข้าเมืองเเละการจัดการ ที่มหาวิทยาลัยเเคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเออร์ไวน์ กล่าวกับรายการวิทยุเอ็นพีอาร์ว่า มีหลายกรณีที่ญาติอาจถูกตัดสิทธิ์ เขายกตัวอย่างว่า หากผู้สมัครเป็นผู้ก่อการร้าย เเม้ว่าจะเป็นคู่สมรสของผู้ถือสัญชาติ ก็ไม่มีสิทธิ์ย้ายเข้ามาอยู่ในสหรัฐฯ…

ครม.ผ่านร่าง พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร ให้หน่วยงานรัฐเชื่อมข้อมูล ปัดล้วงความลับ ปชช.

Loading

ทีมโฆษกรัฐบาล เผย ครม.เห็นชอบร่าง พ.ร.บ.ทะเบียนราษฎร ให้หน่วยงานรัฐเชื่อมข้อมูลกับทะเบียนราษฎร มท. “สรรเสริญ” เบรก ไม่ได้ล้วงความลับของประชาชน อนุญาตให้เข้าถึงเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง วันนี้ (17 ต.ค.) เมื่อเวลา 15.40 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีประจำวันที่ 17 ต.ค. 2560 ว่าที่ประชุมเห็นชอบหลักการร่าง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับการปฏิบัติเกี่ยวกับทะเบียนราษฎรให้มีประสิทธิภาพ โดยมีสาระสำคัญ คือ 1. อนุญาตให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎรได้ผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เพื่อความเหมาะสมต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานของรัฐในสถานการณ์ปัจจุบัน 2. เพิ่มการรับแจ้งเกิดเด็กที่ถูกทอดทิ้ง เด็กเร่ร่อน เด็กที่ไม่ปรากฎบุพการี หรือไม่สามารถพิสูจน์สถานะการเกิดได้ 3. กำหนดการให้เลขประจำบ้านเฉพาะบ้านที่ปลูกอาศัยถูกต้องตามกฎหมายควบคุมอาคารหรือกฎหมายอื่น กำหนดให้ผู้อำนวยการทะเบียนกลางจะกำหนดให้มีเลขประจำบ้านสำหรับแพ เรือ หรือสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างอื่นเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยประจำ ให้มีทะเบียนบ้านชั่วคราวเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบทางทะเบียน และ 4. แก้ไขเพิ่มเติมมิให้บ้านที่ถูกปลูกสร้างโดยบุกรุกที่ดินสาธารณะประโยชน์ หรือที่ดินของรัฐที่ไม่ใช่ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย หรือที่ดินทรัพย์สินของราชการ ไม่ให้กำหนดเลขประจำบ้าน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐที่มีอำนาจตามกฎหมาย ทั้งนี้ กรณีบ้านที่ปลูกสร้างบุกรุกที่สาธารณะ และได้รับการกำหนดเลขประจำบ้านไปก่อนแล้วให้คงใช้ทะเบียนบ้านชั่วคราวต่อไปได้ แต่ถ้าบ้านดังกล่าวไม่มีผู้อยู่อาศัย หรือเป็นบ้านร้าง…