แฮ็กเกอร์สั่งให้เครื่องพิมพ์ของมหาวิทยาลัยในออสเตรเลียพิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ หลังโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่

Loading

  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีควีนส์แลนด์ (QUT) มหาวิทยาลัยใหญ่เป็นอันดับ 2 ของรัฐควีนส์แลนด์ ออสเตรเลีย ถูกโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่จนทำให้เครื่องพิมพ์สั่งพิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ออกมาเอง   ในเบื้องต้น ทาง QUT ต้องระงับการใช้งานระบบไอทีหลายระบบเพื่อเป็นการมาตรการป้องกันการถูกขโมยข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมระบุว่าระบบหลักที่เกี่ยวกับนักศึกษา บุคลากร และระบบการเงินยังปลอดภัยดี เพียงแต่ปิดใช้งานเอาไว้ก่อน   ศาสตราจารย์ มาร์กาเรต ชีล (Margaret Sheil) รองอธิการบดีของ QUT เผยว่าเครื่องพิมพ์ส่วนตัวก็ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้เช่นกัน จนทำให้พิมพ์จดหมายเรียกค่าไถ่ออกมาจนไม่เหลือกระดาษให้พิมพ์อีก   ในจดหมายเรียกค่าไถ่ระบุว่ามาจากกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า Royal ransomware ตามด้วยข้อความที่ชี้ว่าแฮ็กเกอร์ได้คัดลอกข้อมูลในระบบของ QUT ไปแล้ว และหากทางมหาวิทยาลัยฯ ไม่จ่ายค่าไถ่ ก็จะมีการเผยแพร่บนโลกออนไลน์ทันที   QUT ยังได้รับความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญภายนอกในการตรวจสอบการแฮกที่เกิดขึ้น และได้แจ้งนักศึกษาและบุคลากรเกี่ยวกับกรณีที่เกิดขึ้นแล้ว โดยมีการติดต่อไปยังนักศึกษาที่ได้รับข้อเสนอให้มาศึกษาต่อยังมหาวิทยาลัยฯ แต่นักศึกษาเหล่านี้จะยังไม่สามารถกรอกเอกสารได้จนกว่าระบบไอทีจะกลับมาทำงานเป็นปกติ   ชีลยังบอกด้วยว่ามหาวิทยาลัยฯ มีแผนรองรับการโจมตีทางไซเบอร์ และได้แจ้งไปยังหน่วยงานของรัฐบาลกลางแล้ว ซึ่งทางกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลกลางออสเตรเลียยืนยันว่าได้รับทราบถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว   ก่อนหน้านี้ กระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์ของสหรัฐอเมริกา (HHS) เคยออกคำเตือนโรงพยาบาลต่าง ๆ เกี่ยวกับ…

‘แคสเปอร์สกี้’ เปิดบทสรุป อุบัติภัยไซเบอร์ปี 2565

Loading

  แคสเปอร์สกี้ เปิดรายงานเชิงวิเคราะห์กิจกรรมบนไซเบอร์สเปซ การเปลี่ยนแปลงสำคัญที่น่าจับตามองในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์ ประจำปี 2565   ผู้เชี่ยวชาญของ “แคสเปอร์สกี้” รายงานว่า ปีนี้เป็นปีที่มีความขัดแย้งทางทหารแบบศตวรรษที่ 20 นำมาซึ่งความไม่แน่นอนและความเสี่ยงร้ายแรงที่กระจายไปทั่วทวีป   จากการวิเคราะห์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของความขัดแย้งในยูเครนในวงกว้างพบว่า เหตุการณ์ทางไซเบอร์จำนวนหนึ่งได้เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งกลายเป็นเรื่องที่สำคัญมาก   ผู้เชี่ยวชาญพบสัญญาณสำคัญและการเพิ่มขึ้นของสงครามไซเบอร์อย่างรวดเร็วในช่วงก่อนการปะทะกันทางทหารในวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา รวมถึงแรนซัมแวร์ปลอมและการโจมตีไวเปอร์คลื่นลูกใหญ่ ซึ่งส่งผลกระทบต่อหน่วยงานของยูเครนอย่างไม่เจาะจง   ทั้งนี้ บางส่วนมีความซับซ้อนสูง แต่ปริมาณของการโจมตีไวเปอร์และแรนซัมแวร์ลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากระลอกแรก โดยมีรายงานเหตุการณ์ที่น่าสังเกตในจำนวนจำกัด กลุ่มที่มีแรงจูงใจในอุดมการณ์ซึ่งนำเสนอตัวเองในการโจมตีระลอกแรกดูเหมือนจะไม่เคลื่อนไหวในขณะนี้     สงครามไซเบอร์รูปแบบใหม่   สำหรับเหตุการณ์ที่เป็นไฮไลต์ ซึ่งมีลักษณะสำคัญบางประการที่กำหนดถึงการเผชิญหน้าทางไซเบอร์ในปี 2565 มีดังนี้   นักเจาะระบบและการโจมตี DDoS : ความขัดแย้งในยูเครนได้สร้างแหล่งเพาะกิจกรรมสงครามไซเบอร์ใหม่ ๆ จากกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงอาชญากรไซเบอร์และนักแฮกข้อมูล ที่ต่างเร่งรีบที่จะสนับสนุนฝ่ายที่ตนชื่นชอบ   บางกลุ่มเช่นกองทัพไอทีของยูเครนหรือ Killnet ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นทางการจากรัฐบาล และช่องโทรเลขมีสมาชิกหลายแสนคน   ขณะที่การโจมตีโดยนักเจาะระบบมีความซับซ้อนค่อนข้างต่ำ ผู้เชี่ยวชาญพบว่ากิจกรรม…

กลุ่ม RansomHouse โจมตีโรงพยาบาลในโคลอมเบียและลาตินอเมริกา

Loading

  องค์กรด้านการดูแลสุขภาพข้ามชาติ Keralty กำลังประสบกับภัยคุกคามการโจมตีด้วย Ransomware โดยกลุ่ม RansomHouse จนทำให้บริษัทในเครือทั้งหมดหยุดชะงัก ส่งผลกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาลของโคลอมเบีย   โดย Keralty เป็นผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของของประเทศโคลอมเบียที่ดำเนินงานเครือข่ายระหว่างประเทศของโรงพยาบาล 12 แห่งและศูนย์การแพทย์ 371 แห่งในลาตินอเมริกา สเปน สหรัฐอเมริกา และเอเชีย ซึ่งนี้มีพนักงานกว่า 24,000 คน และแพทย์ 10,000 คนที่ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้ป่วยมากกว่า 6 ล้านคน   การโจมตีในครั้งนี้ทำให้การบริหารงานด้วยระบบไอที เช่น การจัดตารางนัดหมายทางการแพทย์ และเว็บไซต์ของบริษัท เกิดเหตุขัดข้องจนส่งผลกระทบต่อระบบการรักษาพยาบาลของโคลอมเบีย ทำให้คนไข้รอนานกว่า 12 ชั่วโมงเพื่อเข้ารับการรักษา และผู้ป่วยบางรายเป็นลมเนื่องจากขาดการดูแลทางการแพทย์   ต่อมาเว็บไซต์ bleepingcomputer ได้สอบถาม Keralty เกี่ยวกับความคิดเห็นในการโจมตีครั้งนี้ ซึ่งยังไม่ได้รับคำตอบใด ๆ แต่พบว่ามีผู้ใช้ Twitter รายหนึ่งชื่อ Alexánder ได้ทวีตภาพหน้าจอของเซิร์ฟเวอร์ VMware ESXi พร้อมข้อความเรียกค่าไถ่ที่แสดงข้อความ ‘Dear…

‘พาโลอัลโต’ เปิดเทรนด์ซิเคียวริตี้ เขย่าสมรภูมิธุรกิจปี 2566

Loading

  “พาโลอัลโต” เปิดคาดการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่น่าจับตามองและเฝ้าระวังปี 2566 มาดูกันว่า 5 เทรนด์ที่จะมีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจและใช้ชีวิตจะมีอะไรบ้าง   ปี 2565 อาชญากรไซเบอร์มุ่งเป้าการโจมตีไปที่โครงสร้างระบบ ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ ทั้งยังมีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ เพื่อโจมตีคริปโทเคอร์เรนซี การทำงานแบบไฮบริด รวมไปถึงเอพีไอที่ไม่ปลอดภัย โดยภาพรวมนับว่าสถานการณ์รุนแรงขึ้นและสร้างความเสียหายต่อธุรกิจจำนวนมากขึ้น   พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เผยว่า องค์กรธุรกิจต่างยอมรับว่า เคยพบกับปัญหาด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์และปัญหาข้อมูลรั่วไหลในปีที่ผ่านมา   โดยเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ราว 11 ครั้ง แต่สิ่งที่น่ากังวลไปกว่าก็คือ มีเพียง 2 ใน 5 ที่ระบุว่าคณะกรรมการของบริษัทตระหนักมากขึ้นในเรื่องความเสี่ยงทางไซเบอร์ควบคู่ไปกับการดำเนินกลยุทธ์เพื่อเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัลให้เร็วขึ้น     เตรียมรับมือภัยคุกคามยุคใหม่   เอียน ลิม ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัย ภาคสนาม ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วทุกวันนี้ทำให้ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องทบทวนแนวทางด้านระบบรักษาความปลอดภัยไซเบอร์อยู่ตลอดเวลา   ผู้บริหารต้องเลือกใช้โซลูชัน เทคโนโลยี ตลอดจนแนวทางที่ทันสมัยกว่ากลไกที่เคยใช้ในอดีต ทั้งยังต้องระมัดระวังให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งในปี 2566…

มาเลเซียสอบสวนแรนซัมแวร์เจาะ “แอร์เอเชีย” กระทบพนักงาน-ผู้โดยสารกว่า 5 ล้านคน

Loading

  ทางการมาเลเซียกำลังดำเนินการสืบสวน เพื่อหาแหล่งที่มาของการโจมตีด้วยแรนซัมแวร์ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารมากกว่า 5 ล้านคน และพนักงานทั้งหมดของสายการบิน “แอร์เอเชีย”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากเมืองเปอตาลิงจายา ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ว่า นายฟาห์มี ฟาดซิล รมว.การสื่อสารและดิจิทัลของมาเลเซีย กล่าวว่า กระทรวงกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง เนื่องจากข้อมูลส่วนบุคคลของผู้โดยสารและพนักงานจำนวนมากของแอร์เอเชีย ถูกเจาะโดยกลุ่มแฮกเกอร์ชื่อ Daixin Team   “การสืบสวนก่อนหน้านี้ แสดงให้เห็นว่า การโจมตีทางไซเบอร์ต่อเซิร์ฟเวอร์ของแอร์เอเชีย เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา เกิดจากการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งนำไปสู่การโจมตีแรนซัมแวร์ที่อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหลได้” ฟาห์มี กล่าวในแถลงการณ์ เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   Malaysia conducts probe into AirAsia ransomware attack, data of 5 million people affected https://t.co/qFZd2mZRQq — ST Foreign…

โครงข่ายรัฐบาลวานูอาตูที่ล่มนานกว่า 1 เดือนเต็ม หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ ค่อย ๆ ฟื้นตัวแล้ว

Loading

  เว็บไซต์ Techspot เผยว่าระบบโครงข่ายของรัฐบาลวานูอาตู ประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่มมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลต้องกลับไปใช้ระบบเอกสารแบบกระดาษ จนถึงขณะนี้มีเพียงร้อยละ 70 ของระบบที่กลับมาใช้งานได้แล้ว   ย้อนกลับไปขณะเกิดเหตุ รัฐบาลวานูอาตูที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อ 13 ตุลาคม เริ่มสังเกตเห็นปัญหาทันทีตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 6 พฤศจิกายน เหตุการณ์ในตอนนั้นทำให้ระบบโครงข่ายของรัฐบาลล่มไปทั้งหมด   เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเข้าใช้ระบบอีเมลของรัฐบาล ประชาชนไม่สามารถทำเรื่องต่อใบขับขี่หรือจ่ายภาษีได้ เช่นเดียวกับระบบให้บริการข้อมูลสาธารณสุขและการแพทย์ฉุกเฉินก็ไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน   ออสเตรเลียได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกู้และซ่อมแซมระบบ โดยสำนักข่าว Sydney Morning Herald เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่รัฐบาลวานูอาตูยังไม่เคยออกมาเผยรายละเอียดในเรื่องนี้     ที่มา TechSpot       ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                         …