คณะกรรมาธิการยุโรปแนะอียูตั้งกฎความมั่นคงทางไซเบอร์สำหรับองค์กร

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์   คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ประกาศคำแนะนำสำหรับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ในวันอังคาร(22มี.ค.) ระบุว่า ควรมีการจัดตั้งกรอบการทำงานเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ ท่ามกลางความวิตกกังวลที่เพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับการโจมตีทางไซเบอร์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่สำคัญและข้อมูลอ่อนไหวได้   ข้อเสนอดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของร่างนโยบายการป้องกันประเทศทางไซเบอร์ของอียูซึ่งมีจุดประสงค์ในการจัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cybersecurity Board) เพื่อกำกับดูแลการบังคับใช้นโยบายเหล่านี้   “ในสภาพแวดล้อมที่ทุกอย่างเชื่อมถึงกัน การโจมตีทางไซเบอร์เพียงครั้งเดียวก็อาจส่งผลกระทบต่อทั้งองค์กร การสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์และเหตุการณ์ที่อาจกระทบการทำงานของเราจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งยวด” นายโจฮันส์ ฮาห์น ประธานคณะกรรมาธิการด้านงบประมาณ กล่าวในแถลงการณ์   ภายใต้นโยบายดังกล่าว สถาบัน, องค์กร และหน่วยงานต่าง ๆ ในอียูจะต้องวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ พัฒนาแผนเพื่อเสริมความมั่นคงทางไซเบอร์ ตลอดจนมีการประเมินอย่างต่อเนื่องและเปิดเผยข้อมูลเมื่อเกิดเหตุโจมตี   สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ได้ประกาศเตือนว่า รัสเซียและพันธมิตรอาจปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์เพื่อตอบโต้มาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ส่งผลให้ธนาคารต่าง ๆ ยกระดับการตรวจสอบและการวางแผน รวมถึงจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับมือกรณีเกิดเหตุโจมตี     ———————————————————————————————————————————————————-…

Microsoft ยอมรับ แฮ็กเกอร์ Lapsus$ ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนจริง ยืนยันไม่ใช่ข้อมูลสำคัญ

Loading

  กลุ่มแฮ็กเกอร์ Lapsus$ ซึ่งระยะหลังเริ่มมีการลงมืออย่างต่อเนื่อง โดยได้เข้าไปโจมตี ซัมซุง, อินวิเดีย, ยูบิซอฟต์ ล่าสุดไมโครซอฟท์ ยอมรับว่าพวกเขาเป็นเหยื่อรายล่าสุดของแฮ็กเกอร์กลุ่มนี้จริง   Lapsus$ กลุ่มแฮ็กเกอร์หน้าใหม่ ซึ่งกำลังเร่งสร้างชื่อเสียงในขณะนี้ ได้ออกมาเปิดเผยเมื่อ 1-2 วันก่อนว่า พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลภายในของไมโครซอฟท์ โดยข้อมูลที่พวกเขาได้ไปนั้น เป็นซอร์สโค้ดของบิง (Bing) และคอร์ทานา (Cortana) มีขนาดไฟล์ทั้งสิ้น 37GB   วันอังคารตามเวลาท้องถิ่นสหรัฐอเมริกา ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ออกมายอมรับว่า แฮ็กเกอร์ได้ขโมยซอร์สโค้ดบางส่วนไปจริง ทั้งนี้ ไมโครซอฟท์ได้ติดตามกลุ่ม Lapsus$ มาสักระยะหนึ่งแล้ว เพื่อดูวิธีการทำงาน ไปจนถึงการโจมตีของกลุ่มดังกล่าว   ไมโครซอฟท์ กล่าวด้วยว่า ข้อมูลที่รั่วไหลไปนั้นไม่ได้เป็นข้อมูลที่รุนแรง หรือน่าเป็นห่วงที่จะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อบริษัท อีกทั้งยังไม่มีข้อมูลสำคัญของลูกค้าใดๆ หลุดออกไป อย่างไรก็ตาม บริษัทได้ทำการปิดช่องทางต่างๆ เพื่อเป็นการป้องกันเอาไว้เรียบร้อยแล้ว   ช่วงที่ผ่านมา ต้องบอกว่า Lapsus$ เริ่มถูกพูดถึงบนหน้าข่าวเทคโนโลยีมากขึ้น จากการที่พวกเขาทำผลงานด้วยการแฮ็กระบบของอินวิเดีย (Nvidia), ซัมซุง…

รู้ทัน BitB การโจมตีรูปแบบใหม่ แฝงมากับป๊อปอัพ บนเบราว์เซอร์

Loading

    นับวัน ปัญหาด้านความปลอดภัยจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แม้คนที่ระวังตัวเป็นอย่างดีก็อาจพลาดพลั้งกับการโจมตีรูปแบบใหม่ที่แฮกเกอร์พยายามจะ “สรรหา” มาโจมตีเรา   ไม่นานมานี้นักวิจัยเพิ่งค้นพบกับการโจมตีรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า BitB ย่อมาจาก browser-in-the-browser (BitB) attack โดยเราจะเห็นหน้าต่างป๊อปอัพเบราว์เซอร์ปลอมที่ออกแบบมาเฉพาะเพื่อหลอกล่อให้เราคิดว่ามันเป็นหน้าเข้าสู่ระบบที่เราต้องการและก็คิดว่าเป็นไซต์ที่ถูกต้องด้วย ซึ่งมันจะทำอย่างเนียนมาก ๆ แม้กระทั่ง URL จนเราแทบแยกไม่ออก   การโจมตีนี้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อหากเราใช้โปรโตคอลความปลอดภัยที่ให้การรับรองความถูกต้องของ Google, Microsoft หรือ Apple ผ่านป๊อปอัป ซึ่งแฮกเกอร์จะปลอมป๊อปอัปดังกล่าวขึ้นมาและหลอกให้เราให้ข้อมูลในนั้น   เทมเพลตที่ใช้ในการโจมตีด้วย BitB สามารถสร้างหน้าต่าง Chrome ที่ดูเหมือนการเข้าสู่ระบบปกติได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งรวมถึง URL ด้วย และนั่นเป็นข้อได้เปรียบอย่างมากของแฮกเกอร์ ซึ่ง BitB มีแนวโน้มที่จะทำให้ฟิชชิงง่ายเกินไปสำหรับคนที่ต้องการทำ พูดง่าย ๆ ก็คือ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญก็สามารถใช้วิธีการโจมตีนี้ได้   จะป้องกันได้ยังไง ? นักวิจัยแนะนำว่า เราสามารถใช้โปรแกรมจดจำรหัสผ่านอย่าง Lastpass ซึ่งจะมีฟีเจอร์ใส่รหัสให้เราอัตโนมัติหากเราเข้าเว็บเดิมหรือหรือไซต์เดิมที่ใช้ในการยืนยันตัวตน แต่หากไม่ใช่ ฟีเจอร์ดังกล่าวจะไม่ทำงาน…

หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนี แนะองค์กรเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี ออกโรงแนะนำให้ผู้ใช้งานเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มาจากรัสเซีย เพราะอาจถูกนำไปใช้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้การจัดการของรัฐบาลรัสเซีย   เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศเยอรมนี ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอนตีไวรัสของแคสเปอร์สกี (Kaspersky) ให้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นๆ   ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนี ระบุว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรัสเซีย อาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรัสเซีย บังคับให้กระทำการแฮกระบบ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นตัวแทนในการเข้าไปโจมตีทางไซเบอร์อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน   คำเตือนของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี เกิดขึ้นท่ามกลางการเข้าไปรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่รุนแรงมากขึ้น   ทางด้านแคสเปอร์สกี ออกมาปฏิเสธถึงการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า แคสเปอร์สกีเป็นบริษัทเอกชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งพวกเขาบอกด้วยว่า คำเตือนของบีเอสไอ มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าด้านเทคโนโลยี   อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี จะติดต่อไปยังบีเอสไอ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้เพิ่มเติม   นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวด้วยว่า โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทย้ายไปตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ขณะที่ ข้อมูลของผู้ใช้งานชาวเยอรมนี…

อิสราเอลประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังการโจมตีไซเบอร์ทำเว็บไซต์รัฐบาลล่ม

Loading

  เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา หน่วยงานปกป้องภัยด้านไซเบอร์ประกาศสภาวะฉุกเฉิน หลังจากที่เว็บไซต์ของรัฐบาลล่มจากการโจมตีทางไซเบอร์   แหล่งข่าวในกองทัพอิสราเอลระบุว่าการโจมตีทางไซเบอร์ที่เกิดขึ้นถือว่าใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยเกิดขึ้นต่ออิสราเอล ซึ่งทำให้เว็บไซต์ของกระทรวงกิจการภายใน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงสวัสดิการสังคม และสำนักนายกรัฐมนตรีล่มไปตาม ๆ กัน   อย่างไรก็ดี ทุกเว็บไซต์ที่กล่าวมาในข้างต้นสามารถเข้าใช้งานได้ตามปกติแล้ว และการโจมตีดังกล่าวไม่กระทบต่อการทำงานของระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างประปาหรือไฟฟ้าแต่อย่างใด   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าการโจมตีที่เกิดขึ้นอาจเป็นฝีมือของประเทศอื่น แต่ยังไม่ได้ระบุเป็นการชัดเจนว่าเป็นฝีมือของประเทศใด     ที่มา NYPost     ————————————————————————————————————————————- ที่มา :  Beartai             / วันที่เผยแพร่    15 มี.ค.65 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/983751

เทคนิคใหม่ DDoS ล่มเว็บเป้าหมาย อาศัยช่องโหว่ไฟร์วอลล์

Loading

  การโจมตี Distributed denial of service (DDoS) เป็นการโจมตีที่แฮกเกอร์จะส่งแพ็คเกจข้อมูลจำนวนปริมาณมาก ๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการโจมตีเพื่อทำให้เว็บนั้น ๆ ล่มเนื่องจากประมวลผลข้อมูลไม่ทัน   แต่ตอนนี้แฮกเกอร์พบเทคนิคใหม่ในการใช้ DDoS ที่เรียกว่า “TCP Middlebox Reflection” โดยใช้ช่องโหว่ในไฟร์วอลล์และอุปกรณ์ที่ใช้ตรวจสอบเนื้อหาเพื่อขยายแพ็คเกจการโจมตีให้ใหญ่ขึ้น เทคนิคดังกล่าวถูกเปิดเผยในรายงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์และมหาวิทยาลัยโคโลราโดเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว แต่วันนี้ถูกแฮกเกอร์นำมาใช้โจมตีจริง ๆ   ตามข้อมูลของ Akamai ที่เป็นบริษัทด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยว่า การโจมตีแบบ Middlebox สามารถสร้างแพ็คเกจข้อมูลขยะได้มาก 1.5 ล้านแพ็คเกจต่อวินาที (Mpps) รูปแบบคือจะส่งแพ็คเกจเล็ก ๆ ไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีช่องโหว่ จากนั้นก็ทำการขยายแพ็คเกจให้ใหญ่ขึ้นและส่งไปยังเป้าหมายที่ตั้งใจจะโจมตี   ด้วยการโจมตีในลักษณะ ทำให้เกิดการส่งแพ็คเกจข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งแน่นอนว่าหากใครโดนยิงด้วยเทคนิค เว็บจะล่มเพียงไม่กี่อึดใจ ซึ่งตอนนี้แฮกเกอร์ก็กำลังเล็งหน่วยงานต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานรัฐ โรงพยาบาล และกลุ่มธุรกิจอื่น ๆ ครับ   ที่มาข้อมูล https://www.zdnet.com/article/attackers-now-hit-firewalls-to-knock-out-websites/ https://www.wired.com/story/hackers-deliver-devastating-ddos-attacks/    …