ช่องโหว่ ‘VPN Software’ เพียงเล็กน้อยก็โดนแฮ็กได้

Loading

  แฮ็กเกอร์พยายามหาช่องโหว่เพื่อเจาะระบบและโจมตี เวลานี้ประเทศไทยตกเป็นเป้าหมายในการโจมตีของแรนซัมแวร์อย่างหนักในช่วงเวลานี้   ความเจริญก้าวหน้าทางดิจิทัลที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทำให้ VPN หรือ Virtual Private Network เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลายคนและหลายองค์กรที่ใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานในปัจจุบัน   แต่แน่นอนว่าจะมีสิ่งที่ตามมาด้วยนั่นคือ ภัยคุกคามที่เหล่าบรรดาแฮ็กเกอร์พยายามหาช่องโหว่ไม่ว่าจะเป็นข้อบกพร่องต่างๆ เพียงเล็กน้อยเพื่อเจาะระบบและโจมตีด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งความเสียหายขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กรว่าโดนโจมตีมากน้อยเพียงใด   สำหรับวันนี้ผมจะขอพูดถึงกรณีที่กำลังตกเป็นประเด็นอย่าง Libreswan VPN ที่มีการใช้งานกันอยู่อย่างแพร่หลาย เนื่องจากมีการตรวจพบช่องโหว่ที่สำคัญในซอฟต์แวร์เครือข่ายทำให้ผู้ใช้หลายล้านคนตกอยู่ในความเสี่ยงอย่างไม่รู้ตัว   โดยช่องโหว่ที่ว่าคือ CVE-2024-3652 ใน Libreswan เวอร์ชัน 3.22 – 4.14 ที่เกี่ยวข้องกับการรับส่งข้อมูลเครือข่ายและการตรวจสอบ incoming packet ที่ไม่เหมาะสมซึ่งอาจนำไปสู่การโจมตีแบบ Denial-of-Service (DoS)   กล่าวคือ การโจมตีที่มีแหล่งที่มาเพียงแหล่งเดียวแต่มีคำขอส่งข้อมูลมุ่งไปยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในปริมาณที่มากเกินไปเพื่อทำให้ระบบไม่สามารถให้บริการได้   สำหรับเคสนี้แฮ็กเกอร์ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่นี้และส่ง packet ที่ทำขึ้นเป็นพิเศษส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์ VPN เพื่อทำให้ระบบทั้งหมดล่ม กระทบต่อบริการที่สำคัญและเปิดเผยข้อมูลที่ละเอียดอ่อนซึ่งอาจส่งผลร้ายแรง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่ใช้ VPN สำหรับการเข้าถึงระยะไกลและการส่งข้อมูลอย่างปลอดภัยเป็นประจำ แต่โชคดีที่ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขแล้วในซอฟต์แวร์เวอร์ชัน 3.0 –…

รมว.กลาโหมผู้ดีสงสัย “ปักกิ่ง” เกี่ยวข้อง “แฮ็กระบบบัญชีเงินตอบแทน” ทหารอังกฤษกว่า 2 แสน รวม “ส.ส.พรรคคอนเซอร์เวทีฟ” ได้รับแจ้งเตือนด่วนทางมือถือ

Loading

ระบบัญชีเงินค่าตอบแทนทหารอังกฤษกว่า 200,000 คนที่มีรายละเอียดทั้งหมายเลขบัญชีธนาคารส่วนตัว และหมายเลขประกันสุขแห่งชาติอังกฤษปรากฏโดนมือมืดสามารถเจาะเข้าไปได้สำเร็จ เชื่อเป็นผลงานกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่มี “ปักกิ่ง” อยู่เบื้องหลัง

ไมโครซอฟท์ยกระดับมาตรการความปลอดภัยภายในครั้งใหญ่ หลังโดนแฮ็ก 2 รอบติด

Loading

  ไมโครซอฟท์ประกาศยกระดับนโยบายด้านความปลอดภัยครั้งใหญ่ หลังโดนแฮ็กเกอร์กลุ่ม Storm-0558 ขโมยกุญแจ Azure AD ในเดือนกรกฎาคม 2023 และ กลุ่ม Midnight Blizzard โจมตีระบบภายใน และขโมยข้อมูลบางส่วนของบริษัทเมื่อต้นปี 2024   ไมโครซอฟท์มีนโยบายความปลอดภัยในภาพใหญ่ชื่อ Secure Future Initiative (SFI) เปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน 2023 แต่ล่าสุดทีมบริหารของไมโครซอฟท์บอกว่ายังไม่เพียงพอ ประกาศรอบนี้คือการขยาย SFI ให้ครอบคลุมทั่วทั้งบริษัทในทุกแง่มุม   นโยบายใหม่ของไมโครซอฟท์มีหลักการพื้นฐาน 3 ข้อคือ 1. Secure by design: ในการออกแบบบริการใดๆ ต้องเลือกความปลอดภัยเป็นอย่างแรก เหนือมิติอื่นๆ ที่ต้องคำนึง 2. Secure by default: เปิดใช้ฟีเจอร์ความปลอดภัยเป็นดีฟอลต์เสมอ ห้ามเป็นแค่ตัวเลือก 3. Secure operations: ควบคุมและเฝ้าระวังด้านความปลอดภัยตลอดเวลา และต้องพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ   ในประเด็นของข้อ 1 นั้น…

ป้องกัน! อาชญากรจากโลกออนไลน์ด้วย AI Cybersecurity

Loading

  SHORT CUT •  เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านการโจมตี •  พัฒนาระบบตรวจจับภัยคุกคามขั้นสูง ระบบเหล่านี้สามารถจดจำและวิเคราะห์รูปแบบการโจมตีใหม่ๆ ที่ซับซ้อนได้ •  ระบบ AI จะมีประสิทธิภาพสูงสุด จำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนในส่วนของการสอนและฝึกอบรมบุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญมากพอ   ภัยจากโลกออนไลน์ในตอนนี้ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ทุกคนน่าจะเคยพบเจอกันมาเป็นอย่างดี และไม่ว่าจะองค์หรือตัวบุคคลก็ต้องทำเรียนรู้การป้องกัน การดำเนินงานของตัวเองจากภัยคุกคามทางไซเบอร์   การเข้ามาของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในช่วงที่ผ่านมาให้เข้ากับเทคโนโลยีอื่นๆ นั้นได้กลายเป็นเครื่องอันทรงพลังที่พลิกโฉมประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิง รวมไปถึงในวงการความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วย และ AI ยกระดับประสิทธิภาพและนวัตกรรมที่ไม่เคยมีมาก่อนมาสู่การป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์   พัฒนาการของ AI ในโลกของ Cybersecurity เทคโนโลยี Machine Learning และ การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ในระบบปัญญาประดิษฐ์สามารถทำให้ตัวมันเองเรียนรู้ซ้ำๆ ผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาล ทำงานได้รวดเร็ว ซึ่งส่งผลให้เทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์มีพัฒนาการด้านความเร็ว ความแม่นยำของการตรวจจับภัยคุกคาม การตอบสนอง และการบรรเทาผลกระทบเพิ่มขึ้นมากอย่างก้าวกระโดด  …

ยูไนเต็ดเฮลท์เผยแฮ็กเกอร์อาจขโมยข้อมูลคนอเมริกันไปได้ถึง 1 ใน 3

Loading

นายแอนดรูว์ วิตตี ซีอีโอของยูไนเต็ดเฮลท์ ได้แจ้งต่อคณะกรรมาธิการสภาคองเกรสเมื่อ 1 พ.ค. ว่า แฮกเกอร์ที่เจาะเข้าระบบเทคโนโลยีของบริษัทฯ เมื่อเดือนก.พ.ที่ผ่านมา อาจขโมยข้อมูลของชาวอเมริกันไปได้มากถึง 1 ใน 3