การปกป้องข้อมูลด้วยการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม ป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ได้จริงไหม

Loading

  รู้จัก การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมและการรับมือกับอาชญากรรมทางไซเบอร์ด้วย QKD เหตุใด “โตชิบา” จึงลงทุนวิจัยเชิงลึกเกี่ยวกับ QKD และวิทยาศาสตร์ควอนตัมเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการป้องกันภัยทางไซเบอร์ วิกฤตโรคระบาดกำลังทำให้แรนซัมแวร์ในลักษณะ Double-threat , การโจรกรรมข้อมูล และการโจมตีด้วยเทคนิค Supply-chain attack ที่ซับซ้อนเพิ่มสูงขึ้น โชคยังดีที่อาชญากรทางไซเบอร์ถูกขัดขวางไว้ด้วยการเข้ารหัสในระดับองค์กร ซึ่งไม่อาจถูกเจาะเข้าไปได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม ด้วยการมาถึงของการประมวลผลควอนตัม แม้แต่การปกป้องข้อมูลด้วยวิธีนี้ก็ตกอยู่ในอันตราย เมื่อขุมพลังในการประมวลผลอันทรงพลังอยู่ใกล้แค่เอื้อม อาชญากรทางไซเบอร์จะสามารถหาทางเจาะผ่านอัลกอริทึมการเข้ารหัสได้ งานวิจัยที่เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซียและประเทศไทยได้แสดงให้เห็นแล้วถึงการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ควอนตัมในวิทยาการเข้ารหัส และอาชญากรทางไซเบอร์ก็กำลังจับตามองการพัฒนาดังกล่าวอย่างใกล้ชิด นี่คือเหตุผลที่เรายกระดับงานวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับควอนตัมของโตชิบาเพื่อให้เท่าทันต่อผู้ไม่ประสงค์ดีเหล่านี้ เมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ทางบริษัทได้ประกาศความร่วมมือกับ SpeQtral บริษัทด้านเทคโนโลยีควอนตัมที่ตั้งอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์ เพื่อเสนอโซลูชันด้านการสื่อสารที่ปลอดภัยในเชิงควอนตัมที่ได้รับการสนับสนุนจากเทคโนโลยีการกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ของโตชิบา การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัมคืออะไร การกระจายกุญแจเข้ารหัสเชิงควอนตัม (QKD) ใช้ในการกระจายรหัสลับดิจิทัลที่สำคัญเพื่อปกป้องข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูงที่จำเป็นอย่างยิ่งต่ออุตสาหกรรมหลายภาคส่วน ข้อมูลที่ปลดล็อกจะเข้าถึงได้เฉพาะเมื่อรหัสดิจิทัลที่ถูกต้องอยู่ในมือของผู้รับแล้วเท่านั้น แต่ปัญหาคือรหัสดิจิทัลอาจถูกขโมยหรือถูกใช้ในทางที่ผิดได้ แฮกเกอร์ทางไซเบอร์สามารถปลดล็อกข้อมูลที่ขโมยมาได้โดยใช้รหัสที่มีความปลอดภัยบกพร่องได้ ส่วนสำคัญของการรักษาความปลอดภัยด้วย QKD ขึ้นอยู่กับการเข้ารหัสแต่ละบิตผ่านโฟตอน (อนุภาคของแสง) แต่ละตัวที่ถูกส่งออกมา ตัวอย่างเช่น ผ่านเส้นใยแก้วนำแสงทั่วไป เนื่องจากความพยายามในการอ่านโฟตอนจะเปลี่ยนการเข้ารหัสที่ทำไว้ จึงทำให้การรักษาความลับของรหัสแต่ละตัวสามารถได้รับการทดสอบและยืนยันได้ นอกจากนี้ QKD ยังคงมีความปลอดภัยแม้จะมีความก้าวหน้าทางด้านคณิตศาสตร์และการประมวลผลในอนาคต รวมถึงพลังในการประมวลผลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ควอนตัมอีกด้วย ซึ่งไม่เหมือนกับโซลูชันด้านความปลอดภัยอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยี QKD ข้อมูลที่เข้ารหัสไม่เพียงแต่จะปลอดภัยจากการปลดล็อก แต่ความพยายามใดๆ ในการแฮ็กรหัสดิจิทัลยังถูกตรวจจับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและข้อความต่างๆ จะเข้าถึงได้โดยผู้รับที่ตั้งใจไว้เท่านั้น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มหาวิทยาลัยเเห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) กำลังดำเนินการเพื่อให้เทคโนโลยี QKD ใช้งานได้อย่างแพร่หลายมากขึ้นในอุตสาหกรรมเพื่อบ่มเพาะ “ตัวเข้ารหัสที่ทนต่อควอนตัม” ประเภทใหม่ลงในบริการด้านการเงิน ภาครัฐ และธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพที่ทำงานร่วมกับข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง นอกจากนี้ ประเทศไทยก็มีการค้นคว้าวิจัยด้านวิทยาการเข้ารหัสที่เข้มข้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ร่วมมือกับศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ในการศึกษาระบบการดักจับอะตอมเดี่ยว นอกจากนี้ยังมีมหาวิทยาลัยอื่นที่กำลังศึกษาเทคโนโลยีควอนตัม เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ รวมถึงกิจการเพื่อสังคมอย่าง บริษัท ควอนตัมเทคโนโลยีฟาวเดชั่น (ประเทศไทย) จำกัด…