ข้อมูลส่วนบุุคคลของไทยรั่วกว่า 10 ล้านคน หนุนกิจกรรมโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  ข้อมูลส่วนบุคคลที่รั่วส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย   การอาละวาดหลอกลวงคนของเหล่ามิจฉาชีพในบ้านเราและประเทศอื่น ๆ ในตอนนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงจากข้อมูลส่วนตัวรั่วไหล ล่าสุดบริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ รายงานว่า ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา ข้อมูลคนไทยถูกประกาศขายใน Dark Web เป็นจำนวนมหาศาล ส่วนหนึ่งหลุดมาจากหน่วยงานรัฐ   Resecurity บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับองค์กรขนาดใหญ่และหน่วยงานภาครัฐทั่วโลก ระบุในรายงานว่าสถานการณ์ของประเทศไทย หลังมีอาชญากรไซเบอร์นำข้อมูล PII หรือข้อมูลที่สามารถใช้ระบุตัวตนของบุคคลได้ ซึ่งเป็นข้อมูลของพลเมืองไทยจำนวนมาก ไปประกาศขายผ่าน Dark Web หรือเครื่อข่ายเว็บมืดที่มักถูกใช้เพื่อเข้าถึงข้อมูลผิดกฎหมาย   ช่วงปี 2567 ประเทศไทยเจอปัญหาการรั่วไหลของข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเทียบกับปี 2566 จากสถานการณ์ช่วงเดือนม.ค.ที่ผ่านมาเพียงเดือนเดียว มีการตรวจพบการละเมิดข้อมูลสำคัญของพลเมืองอย่างน้อย 14 ครั้ง ในแพลตฟอร์มของอาชญากรไซเบอร์ ส่วนใหญ่มาจากแพลตฟอร์มที่เน้นข้อมูลผู้บริโภคเป็นหลัก แสดงให้เห็นว่ามีกลุ่มอาชญากรที่กำลังเพ่งเล็งไปที่ข้อมูลของคนไทยอย่างจริงจัง โดยมุ่งเป้าไปที่ทรัพยากรอีคอมเมิร์ซ ฟินเทค และภาครัฐของไทย   หนึ่งในนั้นคือชุดข้อมูลที่ถูกเปิดเผยบน Breachedforums.is โดยมีป้ายกำกับว่าเป็นข้อมูลที่รั่วไหลออกมาจากเว็บไซต์ของกรมกิจการผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล (PII) ที่เกี่ยวข้องกับประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทยเป็นหลัก เป็นข้อมูลจำนวนกว่า…

ข้อมูลผู้ใช้งาน AnyDesk เริ่มถูกวางขายใน Dark Web หลังถูกแฮ็ก

Loading

หลังจากที่ AnyDesk ได้ออกมาเผยว่า Production Server ของตนเองถูกแฮ็ก แต่ระบุว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ กับผู้ใช้งาน ล่าสุดได้มีการวางขายข้อมูลและรหัสผ่านของผู้ใช้งาน AnyDesk วางขายใน Dark Web เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

อีคอมเมิร์ซแอป เป้าหมายใหม่ การโจมตีทางไซเบอร์ (1)

Loading

  ในปี 2566 แนวโน้มทิศทางการโจมตีทางไซเบอร์บนแอปพลิเคชันอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ตกเป็นเป้าหมายหลักเลยก็ว่าได้   เนื่องจากธุรกิจอีคอมเมิร์ซกลายเป็น Omnichannel เพิ่มเรื่อย ๆ และมีการสร้างและปรับใช้อินเทอร์เฟซ API มากขึ้น โดยแฮ็กเกอร์จะใช้ประโยชน์จากการหาช่องโหว่ต่าง ๆ เพื่อเปิดการโจมตี   นี่คือเหตุผลว่าทำไมการทดสอบและการหมั่นตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องจึงมีความสำคัญมากในการช่วยหาจุดอ่อนให้ได้อย่างรวดเร็วและเป็นการป้องกันเว็บแอปพลิเคชันอย่างมีประสิทธิภาพ   วันนี้ผมจึงอยากหยิบยกเรื่องการโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Honda มาพูดถึงว่ามันเกิดขึ้นได้อย่างไร รวมถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อธุรกิจและกลุ่มลูกค้า   การโจมตีแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของฮอนด้าที่จัดจำหน่ายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเครื่องตัดหญ้า เครื่องยนต์ติดท้ายเรือ เป็นต้น ได้เกิดข้อผิดพลาดของ API ที่ทำให้ไม่ว่าจะใครก็สามารถขอรีเซ็ตรหัสผ่านของบัญชีผู้ใช้งานใดก็ได้   หากแฮ็กเกอร์ค้นพบสิ่งนี้ได้ แน่นอนว่าจะเป็นการละเมิดข้อมูลครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เพราะการสูญเสียการควบคุมในการเข้าถึงทำให้บุคคลอื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลทั้งหมดบนแพลตฟอร์มได้ แม้ว่าจะเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีสำหรับใช้ทดสอบ (Test Account) ก็ตาม โดยผู้ทดสอบสามารถเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้ทั้งหมด   คำสั่งซื้อของลูกค้าเกือบ 24,000 รายจากตัวแทนจำหน่ายฮอนด้าทุกแห่งตั้งแต่ ส.ค. 2559 ถึง มี.ค. 2566 รวมถึงชื่อที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ของลูกค้า เว็บไซต์ตัวแทนจำหน่ายที่ใช้งานอยู่ 1,091 แห่งซึ่งสามารถแก้ไขไซต์เหล่านี้ได้, ผู้ใช้งาน/บัญชีตัวแทนจำหน่าย…

DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครเล่น DISCORD เช็กด่วนก่อนถูกแฮ็ก

Loading

อ้างอิง bleepingcomputer     DISCORD.IO ข้อมูลรั่วไหลกว่า 760,000 ไอดี ใครใช้บริการดังกล่าวรีบตรวจสอบบัญชี DISCORD ของคุณด่วน   ทั้งนี้ DISCORD.IO ไม่ใช่ไซต์ Discord อย่างเป็นทางการ แต่เป็นบริการ Third Party ที่ช่วยให้เจ้าของเซิร์ฟเวอร์สามารถสร้างคำเชิญกำหนดชื่อช่อง DISCORD ให้ง่ายขึ้นได้   ล่าสุดเว็บไซต์ DISCORD.IO ประกาศปิดให้บริการ โดยแสดงข้อความว่า “เรากำลังหยุดการดำเนินการทั้งหมดในอนาคตอันใกล้”   และนี่คือสิ่งที่ข้อมูลกว่า 760,000 ID ใน DISCORD.IO ถูกขายใน Dark Web โดยแฮ็กเกอร์     ผู้ใช้ DISCORD ควรทำอย่างไร   •   หากคุณใช้ DISCORD แต่ไม่ใด้ใช้ DISCORD.IO โชคดีคุณยังปลอดภัย แต่ดีสุดก็เปลี่ยนรหัสด้วยจะดีมาก   •   หากคุณใช้…

ข้อมูลผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งชาวมาเลย์ 800,000 คนถูกนำไปขายบนโลกออนไลน์ในราคาเพียง 70,000 บาท

Loading

  ข้อมูลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 800,000 บนฐานข้อมูลของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซียถูกขโมยและนำไปขายบน lowyat.net ซึ่งเป็นตลาดออนไลน์ในราคาราว 73,090 บาท   ในบรรดาข้อมูลที่นำมาขายมีทั้งข้อมูลชื่อ เลขประจำตัวประชาชน อีเมล วันเกิด และที่อยู่ นอกจากนี้ ยังปรากฎรูปภาพของเหยื่อด้วย ผู้สนใจสามารถจ่ายเป็นคริปโทเคอเรนซีในสกุล Bitcoin หรือ Monero   CyberSecurity Malaysia หน่วยงานกลางด้านไซเบอร์ของมาเลเซียรับทราบเรื่องนี้แล้วและกำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนกรณีที่เกิดขึ้น   เจ้าหน้าที่เชื่อว่าแฮกเกอร์ขโมยข้อมูลเหล่านี้มาจากเว็บไซต์ MySPR ของคณะกรรมการการเลือกตั้งมาเลเซีย ซี่งเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งมากกว่า 22 ล้านคน   อย่างไรก็ดี นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ เมื่อเดือนเมษายน ข้อมูลพลเมืองกว่า 22.5 ล้านคนของมาเลเซียที่อยู่บนฐานข้อมูลของกรมทะเบียนมาเลเซีย ก็ถูกนำไปขายบนดาร์กเว็บในราคาราว 360,000 บาท     ที่มา New Straits Times       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …