นักคิดค้น ‘ขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง’ ของรัสเซีย ถูกกล่าวหาลอบเผยความลับให้จีน

Loading

  ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมในข้อหาขายชาติ และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีความเร็วเหนือเสียงอีกสองคนถูกกล่าวหาว่าลักลอบเปิดเผยความลับให้แก่จีน จากการเปิดเผยของสำนักข่าวรอยเตอร์ที่ได้ข้อมูลมาจากแหล่งข่าวใกล้ชิดเรื่องนี้   รอยเตอร์ระบุว่า อเลกซานเดอร์ ชิปลียุค ผู้อำนวยการสถาบันทฤษฎีและกลศาสตร์ประยุกต์คริสติอาโนวิช หรือ ITAM (Khristianovich Institute of Theoretical and Applied Mechanics) ในไซบีเรีย ต้องสงสัยว่ามอบเอกสารลับให้แก่จีนระหว่างการประชุมด้านวิทยาศาสตร์ในประเทศจีนเมื่อปี 2017   ผอ.ของ ITAM วัย 56 ปี ยืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง พร้อมระบุว่า ข้อมูลที่เขาส่งมอบให้กับจีนนั้นไม่ใช่ข้อมูลลับและสามารถหาได้ทั่วไปตามอินเทอร์เน็ต อ้างอิงจากแหล่งข่าวซึ่งรอยเตอร์ไม่ขอเปิดเผยชื่อเนื่องจากกังวลด้านความปลอดภัย   ชิปลียุค ถูกจับกุมเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้วโดยไม่มีการเปิดเผยถึงข้อกล่าวหาที่มีต่อเขาในตอนนั้น ซึ่งกรณีของชิปลียุคถือเป็นเหตุการณ์ล่าสุดที่มีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียหลายคนถูกจับกุมในรอบไม่กี่ปีมานี้จากข้อกล่าวหาว่าลอบเปิดเผยความลับให้รัฐบาลจีน     ดมิทรี เพสคอฟ โฆษกรัฐบาลรัสเซีย กล่าวถึงกรณีนักวิทยาศาสตร์รัสเซียถูกจับกุมว่า หน่วยงานด้านความมั่นคงของรัสเซียติดตามตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการ “ทรยศมาตุภูมิ” โดยตลอด และถือเป็นหน้าที่สำคัญ   และเมื่อรอยเตอร์สอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศจีนถึงข้อกล่าวหานี้ ได้รับคำตอบว่าความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียอยู่บนพื้นฐานของการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ไม่เผชิญหน้า และไม่เป็นเป้าหมายของบุคคลที่สาม   ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน เน้นย้ำว่า…

อีกมุมมอง “ต่างชาติซื้อบ้าน” ได้ กรณีศึกษาแนวทาง-ข้อกังวล

Loading

  จากกรณีวาระร้อนช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา กับการปลดล็อกเงื่อนไขการลงทุนที่หวังกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเปิดทางให้ต่างชาติซื้อบ้านและที่ดินในไทยได้ นำไปสู่ข้อครหา “ขายชาติ!” ที่หลายฝ่ายยังถกเถียงว่าเป็นเช่นนั้นจริงหรือไม่? ในบริบทที่ว่านี้ ผู้เขียนจึงขอพา “คุณผู้อ่านไทยรัฐออนไลน์” มาลองมองอีกมุมมองจากประเทศอื่นๆ เช่น “ญี่ปุ่น” กันดูว่า “ทำไมเขาถึงกล้าให้คนชาติอื่นเข้ามาจับจองซื้ออสังหาริมทรัพย์ในบ้านตัวเอง โดยไม่สนคำครหาเช่นเดียวกับไทยนี้บ้าง?” ผ่าน “กรณีศึกษา” แนวทางและวิธีการที่เป็นไปได้ แต่ก่อนอื่นนั้น… ต้องมาย้อนดูมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กันยายน 2564 อีกครั้ง เพื่อไล่เรียงทีละข้อว่า รายละเอียดที่ถูกพูดถึงกันมาก และกลายเป็นคำกล่าวหา “ขายชาติ” มีเช่นไรบ้าง? การเปิดทางให้ “ต่างชาติซื้อบ้าน” ในไทยได้นั้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน เพื่อหวังดึงดูดชาวต่างชาติที่มี “ศักยภาพสูง” ซึ่งเป็นข้อเสนอของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่มีทั้งหมด 7 ข้อด้วยกัน และที่ว่านี้ก็อยู่ในข้อที่ 2 โดยระบุว่า “มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) พิจารณาความเหมาะสมในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาวใหม่ รวมทั้งข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ (1)…