ลูกชาย “ทรัมป์” โดนแฮ็ก โพสต์ปล่อยข่าว “โดนัลด์ ทรัมป์” เสียชีวิต

Loading

ข้อความหยาบคาย และเฟกนิวส์ ถูกโพสต์จากแอคเคานต์ส่วนตัวของ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายคนโตของอดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ซึ่งมีผู้ติดตามมากกว่า 10 ล้านคน อาทิ “ผมเสียใจที่ต้องประกาศว่า พ่อของผม โดนัลด์ ทรัมป์ เสียชีวิตแล้ว และผมจะลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีปีหน้า”

10 สิ่งคิดก่อนแชร์ข้อความลงโซเชียล ถ้าไม่อยากเข้าคุก

Loading

ก่อนจะแชร์ โพสต์ ต้องคิดให้ดี การโพสต์ข้อความ หรือภาพใด ๆ ออกไปในโลกโซเชียลนั้น การโพสต์เพียงครั้งเดียว ข้อความหรือภาพนั้นจะคงอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ไปอีกนาน ดังนั้นก่อนจะโพสต์ หรือแชร์สิ่งใด ต้องมั่นใจว่า ขาของเราไม่ได้ย่างเข้าไปในคุก

SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ?

Loading

  SIM Swap Fraud การสวมซิมควบคุมเครื่องโทรศัพท์ โอนเงินออกจากบัญชีมีจริงหรือ หลังมีแชร์ในโซเชียลเกี่ยวกับการสวมซิม หรือ SIM SWAP เพื่อควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป   ล่าสุด 26 กรกฎาคม 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าว กรณีมีการหลอกลวงทางเทคโนโลยีขั้นสูงที่เรียกว่า SIM SWAP FRAUD อ้างว่าขณะใช้งานโทรศัพท์อยู่ตามปกติ เครือข่ายโทรศัพท์ไม่มีสัญญาณ (Zero Bar) เป็นระยะเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นไม่นาน มีโทรศัพท์อ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแจ้งว่ามีปัญหาเครือข่ายสัญญาณมือถือ จากนั้นแนะนำให้กด 1 เพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายอีกครั้ง เมื่อกด 1 เครือข่ายจะปรากฏขึ้นทันทีชั่วคราวและจะไม่มีสัญญาณอีกครั้ง (Zero Bar) ช่วงนี้คนร้ายได้ควบคุมเครื่องโทรศัพท์และโอนเงินออกจากบัญชีไป ขณะที่เจ้าของโทรศัพท์จะไม่ได้รับการแจ้งเตือนใด ๆ เนื่องจากซิมถูกเปลี่ยนขณะที่มือถือถูกตัดสัญญาณโทรศัพท์   พ.ต.อ.ก้องกฤษฎา กิตติถิระพงษ์ รองผู้บังคับการตรวจสอบและวิเคราะห์อาชญากรรมทางเทคโนโลยี(รอง ผบก.ตอท.) และ นายเลิศรัตน์ รตะนานุกูล กรรมการบริหารและประชาสัมพันธ์ สมาคมโทรคมนาคมฯ ชี้แจงว่า…

ดีอีเอสเตือนระวังมิจฉาชีพหลอกทำใบขับขี่ปลอม

Loading

  ดีอีเอสพบมิจฉาชีพแอบอ้างกรมขนส่งฯ หลอกทำใบขับปขี่ปลอมที่เว็บไซต์ www.thaidriveexam.com ระวังถูกล้วงเอาข้อมูลสำคัญ ส่วนสถานการณ์ข่าวปลอม “การลงทุน-สินเชื่อกู้ยืม” ยังว่อน เตือนอย่าเสียรู้โจร เช็กข้อมูลทุกด้านให้ดีก่อนหลงเชื่อ   นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวว่า ผลการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 7-13 กรกฎาคม 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,209,611 ข้อความ โดยมีข้อความที่ต้องดำเนินการตรวจสอบ (Verify) ทั้งสิ้น 279 ข้อความ   ช่องทางที่มีการพบเบาะแสมากที่สุด คือ ข้อความที่มาจาก Social Listening จำนวน 244 ข้อความ ตามมาด้วยการแจ้งเบาะแสผ่าน Line Official จำนวน 35 ข้อความ รวมเรื่องที่ต้องดำเนินการตรวจสอบทั้งหมด 180 เรื่อง และจากการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับผลการตรวจสอบกลับมาแล้ว 112 เรื่อง   ทั้งนี้ ดีอีเอสได้แบ่งข่าวปลอมที่ได้รับความสนใจ เป็น…

ไต้หวันปฏิเสธข่าวปลอม ร่วมมือสหรัฐปั่นโซเชียลแทรกแซงเลือกตั้งไทย

Loading

    ข่าวปลอมแพร่สะพัด สำนักงานผู้แทนสหรัฐประสานกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ให้ “ปฏิบัติการ IO” ระดมเผยแพร่ข่าวเชิงลบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทย-จีน เพื่อหวังส่งผลต่อการเลือกตั้งของประเทศไทย   ศูนย์ตรวจสอบข้อเท็จจริงไต้หวัน (Taiwan Factcheck Center) ออกรายงานตรวจสอบข่าวปลอม โดยระบุว่า เมื่อเร็วๆ นี้ มีเอกสารทางราชการฉบับหนึ่งเผยแพร่อยู่บนโซเชียลมีเดีย โดยอ้างว่าเป็น เอกสารลับภายในกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ที่ได้รับการประสานงานจากสถาบันอเมริกาในไต้หวัน American Institute in Taiwan หรือ AIT (สถานทูตสหรัฐฯ ประจำไต้หวันโดยพฤตินัย) และทางกระทรวงกลาโหมไต้หวัน ได้สั่งการให้หน่วยทหารข้อมูลข่าวสารทำการเผยแพร่ข้อมูลเชิงลบเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย เพื่อบั่นทอนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศจีน และขัดขวางการพัฒนาธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย   เอกสารปลอมดังกล่าวยังอ้างว่า ให้ทหารของไต้หวันร่วมมือกับผู้แทนสหรัฐประจำไต้หวัน ทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับการกวาดล้าง “ทุนจีนสีเทา” ของรัฐบาลไทย เพื่อต้านทานอิทธิพลของพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยหวังผลต่อการเลือกตั้งของประเทศไทย ทำลายกลุ่มที่ใกล้ชิดประเทศจีน และส่งผลเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทย     ข่าวปลอมดังกล่าวแพร่หลายในสื่อสังคมออนไลน์ของไต้หวัน ฮ่องกง จีน รวมทั้ง โดยอ้างว่า กระทรวงกลาโหมไต้หวันร่วมมือกับสหรัฐ ทำปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร เพื่อแทรกแซงการเลือกตั้งของไทย…

Save พ่อแม่จากเฟกนิวส์ : ลูกหลานสื่อสารอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเชื่อกลุ่มไลน์มากกว่าข้อเท็จจริง

Loading

    ตั้งแต่อิลูมินาติ จนถึง CIA ตั้งฐานทัพในประเทศไทย หรือพระธาตุที่หน้าตาคล้ายซิลิก้าเจล จนถึงการดื่มปัสสาวะรักษาโรค – ข้อมูลข่าวสารมากมายที่แชร์กันผ่านกลุ่มไลน์ อาจยากที่จะแยกว่าอะไรจริงหรือไม่จริง ยิ่งหากเป็นข้อมูลที่มาจากเพื่อนสนิท หรือคนที่ไว้ใจ ก็อาจทำให้หลายคนหลงเชื่อ โดยไม่คิดตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม   โดยทั่วไป เรามักพบว่ากลุ่มที่ตกเป็นเหยื่อของ ‘เฟกนิวส์’ โดยไม่ได้ตั้งใจ ก็คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ยิ่งหากว่าเฟกนิวส์ต่างๆ มาจากช่องทางที่ผู้สูงอายุติดตามเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าวที่โปรดปราน หรือกลุ่มเพื่อนสนิทวัยเก๋าที่ไว้ใจ ก็ยิ่งมีความเป็นไปได้ว่า ปู่ย่าตายายของเราจะเชื่อข้อมูลเหล่านั้น โดยไม่คิดหาเหตุผลโต้แย้ง   มีการศึกษาที่พบว่า ผู้สูงอายุมักตกเป็นเหยื่อของเฟกนิวส์ง่ายกว่าช่วงอายุอื่นๆ โดยการศึกษาพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสหรัฐอเมริกา พบว่า ผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มักแชร์บทความที่ไม่มีข้อเท็จจริงรองรับ สูงกว่าคนที่อายุระหว่าง 18-29 ปี ถึง 7 เท่า   อย่างไรก็ตาม ข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ประเทศไทย ระบุว่าผู้สูงอายุที่มีการใช้สื่อดิจิทัลเพิ่มขึ้น มักแชร์ข้อมูลต่างๆ ออกไปด้วยความปรารถนาดี แต่ปัญหาคือ ก่อนแชร์ข้อมูลมักไม่ทันได้ตรวจสอบว่า ข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด เป็นข้อมูลที่มีความคิดเห็นเจือปน…