‘ข่าวปลอม’ Fake news พุ่งไม่หยุด!! ประเด็น ‘สุขภาพ-โควิด’ บิดเบือนสูงสุด

Loading

    “ดีอีเอส”จับตา“ข่าวปลอม”สุขภาพพุ่งไม่หยุด ทั้งเส้นเลือดสมองแตก-โควิด ทำคนตื่นตระหนก เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์ พบข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด   เปิดผลมอนิเตอร์ข่าวปลอมรอบสัปดาห์นี้ พบ ข่าวปลอมเกือบ 100% เกิดจากโลกออนไลน์ โดยมีข่าวต้องคัดกรอง 3,243,222 ข้อความ พบประชาชนให้ความสนใจข่าวปลอมกลุ่มสุขภาพมากที่สุด โดยเฉพาะข่าวปลอม ไม่ควรสระผมก่อนอาบน้ำ เพราะทำให้เส้นเลือดสมองแตก รองลงมาข่าว โควิดสายพันธุ์ XBB และ XBB.1.16 ตรวจพบยาก เป็นพิษมากกว่าเดลต้า 5 เท่า มีอัตราการตายที่สูงกว่า และดื้อต่อภูมิคุ้มกัน ข้อมูลเท็จ ไม่เป็นความจริง อย่าแชร์!   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ระหว่างวันที่ 14- 20 เมษายน 2566 พบข้อความที่เข้ามาทั้งหมด 3,243,222 ข้อความ…

เฉลยแล้ว ! โพสต์สุ่มแทงญี่ปุ่นเป็นเฟกนิวส์ ความจริงแค่ทุบตี

Loading

    ชาวเน็ตหัวไว จับโป๊ะ สาวโพสต์เตือนภัย ‘สุ่มแทงญี่ปุ่น’ สรุปไม่ใช่ความจริง เป็นเพียงคนสติไม่ดีไล่ทุบนักท่องเที่ยว ทัวร์ลงจนต้องปิดเฟซบุ๊ก   กลายเป็นเรื่องราวชวนตื่นตระหนกเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา หลังมีผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อว่า ที่นี่ เที่ยวญี่ปุ่น ได้โพสต์เตือนภัย หลังเจอเหตุการณ์ ‘สุ่มแทง’ ที่ประเทศญี่ปุ่น   ทำให้กลายเป็นข่าวใหญ่โตและถูกกระจายต่อในโลกออนไลน์ไปอย่างกว้างขวาง ก่อนจะมีคนแย้งว่าเหตุการณ์มันดูแปลก ๆ เพราะมีคนไทยหลายคนที่อาศัยอยู่ที่นั่น และไม่ได้ทราบข่าวที่เกิดขึ้นเลย จึงมีการสืบประเด็นนี้กันเกิดขึ้น   ก่อนพบว่าสิ่งที่หญิงสาวเจ้าของเฟซบุ๊กโพสต์คือเรื่องโกหก เพราะภาพเหตุการณ์ที่เธอนำมาลงเป็นเพียงการสุ่มทำร้ายร่างกายโดยการทุบตี ไม่ใช่การใช้อาวุธแทงกัน   ทั้งนี้ยังแย้งประเด็นที่บอกว่าตำรวจญี่ปุ่นมาช้า เพราะจากภาพกล้องวงจรปิดตำรวจใช้เวลาเพียง 5 นาที วิ่งจากป้อมมายังที่เกิดเหตุ ก่อนพุ่งไปจับคนร้ายทันที ซึ่งคนร้ายเป็นคนเร่ร่อนสติไม่ดี   ก่อนทัวร์จะลงเจ้าของเฟซบุ๊กจนต้องปิดเฟซหนี ชาวเน็ตหลายคนเข้าใจว่าอาจเห็นเหตุการณ์จริง และตกใจอยากบอกให้คนอื่นระวัง แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ไม่ควรใช้คำว่าสุ่มแทง เพราะมันร้ายแรงและส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของประเทศเขา           —————————————————————————————————————————————— ที่มา :         …

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…

เตือนภัย sms หลอกลวง อ้างคุณคือผู้โชคดีจาก Grab หลอกกรอกข้อมูลส่วนตัว

Loading

  เตือนภัย sms หลอกลวง อ้างคุณคือผู้โชคดีจาก Grab โดยมีการส่งข้อความจากมิจฉาชีพที่เเอบอ้าง ทั้งทาง SMS หรือ LINE เชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด เช่น การประกาศผลเป็นผู้โชคดีในกิจกรรมพิเศษ โดยต้องกดเข้าลิงก์ที่ปรากฏใน SMS หรือต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ-นามสกุล หมายเลขโทรศัพท์ เพื่อยืนยันการรับสิทธิ์ในการรับรางวัลผ่านทางแอปพลิเคชัน LINE นั้น   แกร็บ ประเทศไทย ขอเรียนชี้แจงว่า บริษัทฯ ไม่เคยดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบดังกล่าว และไม่มีนโยบายในการติดต่อผู้ใช้บริการผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่ช่องทางหลักของบริษัทฯ ตลอดจนไม่ส่งเสริมให้ผู้ใช้บริการแชร์ข้อมูลหรือรายละเอียดส่วนตัว รวมถึงทำธุรกรรมทางการเงินผ่านช่องทาง SMS หรือแอปพลิเคชัน LINE   เตือนภัย sms หลอกลวง อ้างคุณคือผู้โชคดีจาก Grab   บริษัทฯ ขอแจ้งเตือนให้ผู้ใช้บริการ รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้โปรดระมัดระวังและอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพที่มีพฤติการณ์ดังกล่าว   ในกรณีที่ท่านได้รับการติดต่อจากบุคคลภายนอกโดยมีการอ้างถึง Grab บริษัทฯ ขอแนะนำให้ท่านตรวจสอบข้อมูลก่อน ผ่านทางช่องทางหลัก อันได้แก่ แอปพลิเคชัน Grab…

ไขข้อสงสัย รับสายมิจฉาชีพ คุยเกิน 3 นาที โดนแฮ็กข้อมูลจริงไหม

Loading

    ไขข้อสงสัย หลังมีคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร หากคุยเกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูลเพื่อไปเปิดบัญชี จริงหรือไม่   วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 มีรายงานว่า แฟนเพจ Anti-Fake News Center Thailand โพสต์ข้อความว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวเรื่องมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารแห่งหนึ่ง โทรหาประชาชน ทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกับ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย พบว่าข้อมูลดังกล่าวนั้น เป็นข้อมูลเท็จ   กรณีที่ปรากฏคลิปเสียงมิจฉาชีพแอบอ้างใช้ชื่อธนาคาร โดยอ้างว่าหากผู้เสียหายคุยกับมิจฉาชีพ เกิน 3 นาที จะโดนแฮ็กข้อมูล เพื่อเอาไปทำบัญชีม้านั้น ทางสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และธนาคารกสิกรไทย ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงว่า ปัจจุบันมีการหลอกลวงแอบอ้างใช้ชื่อธนาคารพูดคุยกับผู้เสียหายผ่านทาง Call Center ซึ่งหากผู้ใช้งานหลงเชื่อหรือให้ข้อมูลทางธุรกรรมด้านการเงินกับมิจฉาชีพผ่านทางโทรศัพท์โดยในระยะเวลา 3 นาที อาจจะเป็นการพูดคุยข้อมูลเบื้องต้นเพื่อให้ผู้ใช้งานคล้อยตามแต่ไม่สามารถแฮ็กข้อมูลได้ เพียงแค่หลอกเอาข้อมูลหรือให้ผู้ใช้งานดาวน์โหลดโปรแกรม ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลทางโทรศัพท์ได้ อีกทั้งทางธนาคารกสิกรก็ไม่มีนโยบายใช้เบอร์ส่วนตัวโทรหาประชาชนก่อน และสำหรับการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารกสิกรไทย ธนาคารจะต้องมีการยืนยันข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนจากผู้เปิดบัญชีโดยตรง หากมีบุคคลอื่นทราบข้อมูลเจ้าของบัญชีแต่ไม่ใช่เจ้าของตัวจริง จะไม่สามารถเปิดบัญชีกับธนาคารได้…

สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดเสวนา “เราจะ Stop Fake, Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”

Loading

  สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ จัดการเสวนา “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?” เพื่อสร้างพลังแห่งการตื่นรู้ด้านดิจิทัล เอาชนะข้อมูลบิดเบือน ระบุเนื้อหาประเภทสุขภาพและการเมือง ถูกบิดเบือนมากที่สุด   เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2566 ที่โรงแรมแกรนด์ ฟอร์จูน กรุงเทพฯ สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) ได้จัดโครงการ หยุดข้อมูลลวง…Stop Fake, Spread Facts “ร่วมปลุกสังคม รู้เท่าทันข้อมูลลวง” โดยภายในงานได้จัดเสวนาหัวข้อ “เราจะ Stop Fake, และ Spread Facts เพื่อเราและสังคม?”   โดยมี พลอากาศตรี อมร ชมเชย เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.),คุณมงคล…