ข้อมูลคนไทยหลุดซ้ำๆ หน่วยงานไทยยังถูกโจมตีหนัก 1 ปี 3 เดือนไทยเจอภัยกว่า 2,700 ครั้ง

Loading

    ทีมข่าวไอที ก่อนที่ไทยจะเผชิญเหตุแผ่นดินไหวเพียงหนึ่งวัน (27 มี.ค.2568) มีข่าวว่าข้อมูลคนไทยหลุดออกมาขายซ้ำอีกครั้ง โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ออกมาแถลงข่าวกรณีข้อมูลคนไข้ในระบบ A-Med Care Plus 1.3 แสนรายถูกโจรกรรมเอาไปขายบนเว็บบอร์ดซื้อขายข้อมูลแห่งหนึ่งว่า ไม่ได้หลุดจากระบบ แต่เกิดขึ้นระหว่างโอนถ่ายข้อมูล     ล่าสุดเมื่อวานนี้ไปรษณีย์ไทยก็ออกมาแถลงว่าข้อมูลผู้ใช้บริการของตัวเองทั้ง ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ เบอร์โทรศัทพ์ อีเมล ถูกเอาไปเผยแพร่บน Dark Web แต่ข้อมูลที่ถูกเอามาเผยแพร่นี้ไม่มีข้อมูลธุรกรรมทางการเงิน และทางหน่วยงานก็ได้ปิดช่องทางเข้าถึงข้อมูลทันทีพร้อมคุมเข้มยกระดับมาตรการเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้บริการแล้ว     อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้สื่อข่าวลองเข้าไปดูในเว็บบอร์ดที่มีการขายข้อมูลเหล่านี้ยังพบอีกว่ายังมีการขายข้อมูลอีกชุดจากระบบ Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุขอยู่ด้วยมีจำนวน 210 ไฟล์ ขนาดไฟล์รวมทั้งหมด 150 GB ในโพสต์ขายระบุด้วยว่าเป็นข้อมูลจำนวน 622 ล้านบรรทัด และปัจจุบันโพสต์ประกาศขายดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในเว็บบอร์ดนั้น   ประกาศขายข้อมูล Health Data Center ของไทยบนเว็บบอร์ด Breachforums…

ดีอีเอส รู้ตัว 9near แล้ว! รับหลายหน่วยงานรัฐยังมีช่องโหว่จริง

Loading

    ชัยวุฒิ เผยรู้ตัวผู้ใช้งานบัญชี 9near แล้ว พบเป็นคนในประเทศและทำเป็นขบวนการหวังดิสเครดิตรัฐ ยอมรับระบบเทคโนโลยีของภาครัฐยังมีช่องโหว่ อาจส่งผลให้ข้อมูลประชาชนรั่วไหลได้   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) เผยความคืบหน้ากรณี ผู้ใช้ชื่อบัญชี “9near” อ้างว่ามีข้อมูลส่วนตัวของคนไทยกว่า 55 ล้านรายชื่อ   ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ข้อมูลมาพอสมควรและได้ล็อกเป้าคนร้ายแล้ว แต่ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าข้อมูลหลุดออกมาจากหน่วยงานไหน ต้องรอจับคนร้ายให้ได้ก่อนแล้วจึงขยายผล เบื้องต้นเชื่อว่าเป็นการดิสเครดิต ต้องการให้รู้ว่าระบบมีปัญหา ไม่ได้เป็นการเรียกค่าไถ่ หรือหาเงินจากเรื่องนี้   คิดว่าการโจมตีครั้งนี้ มีการทำเป็นขบวนการไม่สามารถทำคนเดียวได้ ยืนยันหากจับคนร้ายได้แล้วข้อมูลไม่รั่วไหลแน่นอน   โดยได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลฯ ประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องเร่งหาข้อเท็จจริง รวมทั้งดูแลผู้เสียหายจากเคส 9near ด้วย   อย่างไรก็ตาม นายชัยวุฒิ มองว่า มีหลายหน่วยงานที่มีโอกาสทำข้อมูลรั่วไหล โดยเฉพาะระบบที่ประชาชนต้องลงทะเบียน รวมถึงการแจ้งผลการลงทะเบียนของประชาชน ที่จำเป็นต้องมีการระบุ ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์บนแพลตฟอร์มที่เป็นสาธารณะ   ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA) ระบุให้หน่วยงานที่รู้ตัวว่าทำข้อมูลหลุดต้องแจ้งต่อ…