ข้อมูลลูกค้าสำนักงานกฎหมายระดับโลกอาจรั่ว หลัง CL0P อาละวาดหนัก

Loading

  ข้อมูลลูกค้าของ Kirkland & Ellis, K&L Gates และ Proskauer Rose สำนักงานกฎหมายชั้นนำของสหรัฐอเมริกาอาจหลุดรั่ว หลังโดนแฮ็กครั้งใหญ่   ผู้ที่อ้างว่าอยู่เบื้องหลังคือกลุ่มแฮ็กเกอร์ที่ชื่อว่า Lance Tempest ที่มีส่วนเชื่อมโยงกับแฮ็กเกอร์ระดับโลกอย่าง CL0P ซึ่งอ้างว่าได้โจมตีบริษัทข้ามชาติอีก 50 แห่งไปด้วยเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา   การแฮ็กดังกล่าวเกิดจากการเจาะผ่านช่องโหว่ของ MOVEit ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่หลายองค์กรทั่วโลกใช้ในการส่งไฟล์   สำหรับ CL0P เป็นกลุ่มที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกเชื่อว่ามีความเกี่ยวข้องกับรัฐบาลรัสเซีย มักจะรีดไถเงินจากเหยื่อเป็นจำนวนหลายล้านเหรียญ และมักจะโจมตีในช่วงวันหยุดยาว   เบรตต์ คัลโลว (Brett Callow) ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ชี้ว่าการแฮ็กครั้งนี้อาจมีผู้เสียหายสูงถึง 16 ล้านคน โดยบรรดาองค์กรที่ถูกแฮ็กมีทั้งมหาวิทยาลัย ธนาคาร และบริษัทประกัน   เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ตั้งค่าหัวมูลค่า 10 ล้านเหรียญ (ราว 351 ล้านบาท) แก่ผู้แจ้งเบาะแสของกลุ่มดังกล่าว     ที่มา…

สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ ทำข้อมูลผู้รับบริการรั่วไหลนานหลายปี

Loading

  สำนักงานสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าของสหรัฐฯ (USPTO) ทำข้อมูลที่อยู่ของผู้ยื่นเอกสารขอออกสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าประมาณ 61,000 ราย ระหว่าง ก.พ.63 ถึง มี.ค.66 รั่วไหลสู่สาธารณะโดยไม่ตั้งใจ ส่งผลกระทบประมาณร้อยละ 3 ของผู้ยื่นเอกสารทั้งหมดในช่วงเวลาดังกล่าว   ทั้งนี้ USPTO ได้ส่งประกาศแจ้งเตือนพร้อมทั้งคำขอโทษไปยังผู้ที่ได้รับผลกระทบทราบแล้ว โดยระบุว่าปัญหาเกิดจากช่องโหว่ของซอฟต์แวร์เชื่อมต่อระบบ หรือ Application Programing Interface – API ที่อนุญาตให้แอปพลิเคชันที่ทั้งเจ้าหน้าที่และผู้จัดเก็บไฟล์สามารถเข้าถึงระบบเพื่อตรวจสอบสถานะของเครื่องหมายการค้าที่รอดำเนินการและจดทะเบียนแล้ว แต่ระบบไม่ได้ปกปิดข้อมูลที่อยู่ของผู้รับบริการ ทำให้ผู้อื่นสามารถเห็นข้อมูลดังกล่าวผ่านทางออนไลน์ได้   หลังจาก USPTO ทราบถึงปัญหาก็ได้ทำการแก้ไขเมื่อ 1 เม.ย.66 โดยการบล็อกการเข้าถึง API ที่ไม่สำคัญในระบบทั้งหมด รวมถึงลบข้อมูลที่ส่งผลกระทบจำนวนมากออกจากระบบจนกว่าจะมีการแก้ไขอย่างถาวร   อย่างไรก็ดี USPTO เชื่อว่าข้อมูลที่หลุดนี้จะไม่ถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด       ————————————————————————————————————————————— ที่มา :             เว็บไซต์ TechCrunch …

SSD ที่หายจากศูนย์ข้อมูลของ SAP ไปโผล่ใน eBay

Loading

  หน่วยเก็บข้อมูล SSD ที่หายไปจากศูนย์ข้อมูลของบริษัทข้ามชาติ SAP จากเมืองวัลล์ดอร์ฟ เยอรมนี ไปโผล่อยู่ใน eBay แพลตฟอร์มซื้อขายออนไลน์ ทำให้บริษัทต้องรีบตรวจสอบ   แหล่งข่าวระบุว่า ในเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว SSD จากศูนย์ข้อมูลวัลล์ดอร์ฟหายไปถึง 4 ตัว ก่อนที่ต่อมา SSD 1 ใน 4 ตัวนั้นจะไปโผล่ใน eBay และมีพนักงาน SAP ซื้อคืนไป   SSD ตัวนี้บรรจุข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน SAP กว่า 100 คนเอาไว้ แต่โฆษกของบริษัทชี้ว่าใน SSD ทั้ง 4 ตัวไม่มีข้อมูลที่ใช้ระบุตัวตนได้ (PII) และไม่มีหลักฐานว่าข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าถูกขโมยไปผ่าน SSD เหล่านี้   การตรวจสอบภายในของ SAP พบว่ามีผู้ขโมย SSD ตัวนี้ออกไป แต่ก็ไม่ได้ตัดประเด็นความผิดพลาดที่เกิดจากมนุษย์และความล้มเหลวของระบบ เนื่องจาก พบว่าไม่มีการตรวจสอบคนเข้าออกศูนย์ข้อมูล   SSD ทั้ง…

เปิดเว็บโชว์รูปลับลูก “โจ ไบเดน”

Loading

  สำนักข่าวฟ็อกซ์นิวส์รายงานว่า นายแกร์เรตต์ ซีเกลอร์ อดีตผู้ช่วยของอดีตประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ และเป็นผู้ก่อตั้งมาร์โค โปโล องค์กรไม่แสวงผลกำไร เผยว่า ภาพถ่ายกิจกรรมลับสุดเหวี่ยงราว 10,000 รูป จากแล็ปท็อปของฮันเตอร์ ไบเดน บุตรชายของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ของสหรัฐฯ ได้ถูกนำมาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ใหม่ BidenLaptopMedia.com เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. เพื่อให้สาธารณชนได้รับรู้เห็นความเป็นอยู่เชิงลึกของสมาชิกครอบครัวหมายเลข 1 อย่างโปร่งใส หลังจากทีมงานใช้เวลา 2-3 เดือน ตรวจสอบภาพถ่ายทั้งหมด   แล็ปท็อปดังกล่าวถูกนำไปซ่อมที่ร้านซ่อมคอมพิวเตอร์ของจอห์น ไอแซค ในรัฐเดลาแวร์ เมื่อเดือน เม.ย.2562 และไม่เคยมารับกลับ   ไอแซค จึงอ้างว่าแล็ปท็อปตกเป็นทรัพย์สินของร้านตามสัญญาที่ฮันเตอร์ลงนาม ขณะที่ซีเกลอร์เป็นหนึ่งในไม่กี่คนที่ได้รับสำเนาภาพจากแล็ปท็อป ซึ่งเต็มไปด้วยกิจกรรมทางเพศ ภาพโป๊เปลือย การใช้ยาเสพติด รวมทั้งข้อตกลงลับตั้งแต่ปี 2551-2562 ซึ่งยืนยันว่าไม่มีเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ และยังเซ็นเซอร์อวัยวะเพศ ย้ำว่าไม่ใช่การโจมตีครอบครัวไบเดน ชาวอเมริกันตัดสินเองได้ว่ารู้สึกอย่างไรกับครอบครัวหมายเลข 1 ผ่านรูปเหล่านี้.  …

โตโยต้า พบฐานข้อมูลสำคัญของลูกค้ารั่วไหล อาจถูกบุคคลภายนอกเข้าถึง

Loading

  บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด   วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประกาศว่า ข้อมูลของลูกค้าในของลูกค้าในบางประเทศในเอเชีย (ไม่รวมญี่ปุ่น) อาจถูกเปิดเผยต่อสาธารณชน ตั้งแต่ เดือนตุลาคม 2559 – เดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งข้อมูลของลูกค้าที่อาจเข้าถึงได้จากภายนอก ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล และหมายเลขประจำรถและหมายเลขทะเบียน     โดยปัญหาล่าสุดถูกพบหลังการตรวจสอบระบบคลาวด์ที่จัดการโดย Toyota Connected Corp หลังจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ที่ข้อมูลรถยนต์ของผู้ใช้ 2.15 ล้านรายในญี่ปุ่นหรือฐานลูกค้าเกือบทั้งหมดที่ลงทะเบียนใช้งานแพลตฟอร์มบริการคลาวด์หลักตั้งแต่ปี 2555 ถูกเปิดเผยต่อสาธารณะจากความผิดพลาดของมนุษย์   ในขณะที่เราเชื่อว่าเหตุการณ์นี้เกิดจากการเผยแพร่และการบังคับใช้กฎการจัดการข้อมูลไม่เพียงพอ … เราได้ติดตั้งระบบเพื่อตรวจสอบการกำหนดค่าคลาวด์   โฆษกของโตโยต้า กล่าวว่า บริษัทกำลังตรวจสอบปัญหานี้ตามกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศโดยไม่ได้ระบุว่ามีลูกค้ากี่รายที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์นี้และอยู่ในประเทศใด และลูกค้า Lexus ได้รับผลกระทบด้วยหรือไม่   นอกจากนี้ โตโยต้า ยังได้ตรวจสอบด้วยว่ามีการคัดลอกของบุคคลที่สามหรือใช้ข้อมูลลูกค้าหรือไม่…

ข้อมูลลูกค้า-พนักงาน-พันธมิตรของ “เทสลา” รั่วไหลกว่า 100 กิกะไบต์

Loading

  สื่อต่างประเทศรายงาน ข้อมูลลับขนาด 100 กิกะไบต์ของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า “เทสลา” ได้รั่วไหลออกมา   Handelsblatt สื่อเยอรมนีรายงานว่า มีผู้แจ้งเบาะแสว่า ข้อมูลลับขนาด 100 กิกะไบต์ของบริษัทผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า “เทสลา” (Tesla) ได้รั่วไหลออกมา โดยประกอบด้วยข้อมูลลูกค้า พนักงาน และพันธมิตรทางธุรกิจ และรวมถึงข้อร้องเรียนจากลูกค้าหลายพันรายเกี่ยวกับระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่   รายงานของ Handelsblatt ระบุว่า ในชุดข้อมูลที่มีป้ายกำกับว่า “Tesla Files” มีข้อมูลลูกค้าจำนวนมาก รวมถึงตารางรายชื่อพนักงานทั้งเก่าและปัจจุบันมากกว่า 100,000 ชื่อ   นอกจากนี้ ในชุดข้อมูลยังมีหมายเลขประกันสังคมของ อีลอน มัสก์ ซีอีโอของเทสลา พร้อมด้วยที่อยู่อีเมลส่วนตัว หมายเลขโทรศัพท์ เงินเดือนพนักงาน รายละเอียดธนาคารของลูกค้า และรายละเอียดลับเกี่ยวกับการผลิต   หากพบว่าการรั่วไหวนี้เป็นความจริง จะถือว่าเทสลาละเมิดระเบียบการคุ้มครองข้อมูลทั่วไป (GDPR) และอาจถูกปรับสูงถึง 4% ของยอดขายต่อปี หรือก็คือจะอยู่ที่ราว 3.26 พันล้านยูโร (1.2 แสนล้านบาท)…