หนุ่มใหญ่มะกันขโมยกดเงินกว่า 3 ล้านด้วยการปลอมตัวสวมหน้ากากชายชรา-ขโมยตัวตน

Loading

มิจฉาชีพปลอมหน้าเป็นชายชรา กับปลอมใบขับขี่ ขโมยเงินลูกค้ากาสิโนผ่านตู้อัตโนมัติ กว่าจะรู้สูญเงินกว่า 3 ล้าน จอห์น คริสโตเฟอร์ คอลเลตติ ชาวเมืองฮาร์เปอร์วูดส์ รัฐมิชิแกน ถูกจับกุมในหลายข้อหา จากการขโมยกดเงินกว่า 1 แสนดอลลาร์ (กว่า 3 ล้านบาท ) ด้วยวิธีแยบยล  ใช้หน้ากากยางปลอมหน้าเป็นชายชรา ปลอมใบขับขี่ และขโมยตัวตนด้วยการซื้อข้อมูลส่วนตัวของเหยื่อจากอินเทอร์เน็ต ก่อนนำไปใช้ถอนเงินจากตู้อัตโนมัติบ่อนกาสิโน สำนักงานสืบสวนกลางสหรัฐ (เอฟบีไอ) เปิดสอบสวนโดยทำงานร่วมกับเอ็มจีเอ็ม แกรนด์ กาสิโน พบลูกค้า 10 ราย สูญเงินรวมกันประมาณ 1 แสนดอลลาร์ช่วง 26 เม.ย-27 พ.ค.2562 ก่อนส่งเรื่องให้ตำรวจรัฐมิชิแกนดำเนินการต่อ ที่ต่อมาพบผู้ต้องสงสัยจากกล้องวงจรปิด แต่ทุกครั้ง ปรากฏเป็นภาพบุคคลสวมหน้ากากดูคล้ายกับผู้สูงอายุผิวขาว สวมหมวก ใส่แว่นตา มีครั้งหนึ่ง คอลเลตติ ถอนเงิน 15 ครั้ง ครั้งละ 2,000 ดอลลาร์ รวม 3 หมื่นดอลลาร์ …

ทวิตเตอร์โดนแฮกครั้งใหญ่ บัญชีคนดังแห่โพสต์หลอกคนโอนเงินบิตคอยน์

Loading

ทวิตเตอร์โดนโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ มีบัญชีผู้ใช้ของผู้มีชื่อเสียงมากมายถูกแฮกให้ทวีตข้อความหลอกลวงคนให้บริจาคเงินบิตคอยน์ ซึ่งทางทวิตเตอร์กำลังดำเนินการแก้ไข สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 15 ก.ค. 2563 บัญชีผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่ผ่านการยืนยันแล้วว่าเป็นตัวจริง (verified account) ของผู้มีชื่อเสียงมากมาย เช่น โจ ไบเดน, บิล เกตส์, อีลอน มัสก์ และบริษัท แอปเปิล ต่างตกเป็นเหยื่อการโจมตีทางไซเบอร์ และโพสต์ข้อความเชิญชวนให้ผู้ติดตามบริจาคเงินให้พวกเขาในรูปแบบบิตคอยน์ “ทุกคนขอให้ผมคืนเงินแก่สังคม ตอนนี้ถึงเวลาแล้ว” ข้อความซึ่งถูกทวีตผ่านบัญชีผู้ใช้ของบิล เกตส์ ระบุ และขอให้ผู้ติดตามบริจาคเงินให้เขาผ่านที่อยู่บิตคอยน์ที่แนบมา แล้วเขาจะคืนเงินให้ 2 เท่าภายในเวลา 30 นาที บิล เกตส์, โจ ไบเดน, อีลอน มัสก์ และ เจฟฟ์ เบซอส บัญชีทวิตเตอร์ของอดีตประธานาธิบดี บารัค โอบามา, คานเย เวสต์ แร็ปเปอร์ชื่อดัง กับคิม คาร์ดาเชียน เวสต์ ภรรยา, วอร์เรน บัฟเฟ็ตต์…

อุปกรณ์พกพาเพื่อการตรวจหาการสัมผัสเชื้อในสิงคโปร์ ทำงานอย่างไร

Loading

ไซรา อาเชอร์ บีบีซี นิวส์ สิงคโปร์ อุปกรณ์ขนาดพกพาที่ชื่อ เทรซ ทูเกตเตอร์ โทเคน (Trace Together Tokens) คือเทคโนโลยีล่าสุดของสิงคโปร์ในการรับมือกับโควิด-19 อุปกรณ์ที่พกติดตัวได้นี้ช่วยให้แอปพลิเคชันตรวจจับการสัมผัสเชื้อไวรัสโคโรน่าที่มีการใช้งานอยู่แล้วทำงานได้ดีขึ้น ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อไวรัสจากผู้ที่มีเชื้ออยู่แล้ว ผู้ใช้งานต้องพกพาอุปกรณ์นี้ ซึ่งทำงานด้วยแบตเตอรีที่มีพลังงานสะสมถึง 9 เดือน เรื่องนี้สร้างความ “ตกตะลึง” แก่ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง หน่วยงานของรัฐบาลที่พัฒนาอุปกรณ์นี้ ทราบดีว่า อุปกรณ์ประเภทนี้ และเทคโนโลยีโดยทั่วไป ไม่ใช่ “ยาวิเศษ” ที่จะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่มันจะมาช่วยเสริมความพยายามในการตรวจจับการสัมผัสเชื้อของคน คนกลุ่มแรกที่จะได้รับอุปกรณ์นี้ไปใช้งานคือ ผู้สูงอายุหลายพันคน ที่ไม่มีสมาร์ทโฟนเป็นของตัวเอง โดยพวกเขาจะต้องแจ้งหมายเลขประจำตัวประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์ เช่นเดียวกับผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน เทรซทูเกตเตอร์ (Trace Together) ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ถูกตรวจพบว่าติดโรคโควิด-19 พวกเขาต้องส่งมอบอุปกรณ์คืนให้กระทรวงสาธารณสุข เพราะอุปกรณ์นี้ไม่สามารถส่งข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตได้หมือนแอปฯ ดังกล่าว จากนั้น อุปกรณ์นี้ จะใช้ข้อมูลที่ถูกเก็บบันทึกไว้ ในการระบุตัวผู้ที่อาจจะติดเชื้อ เครื่องมือขนาดพกพาในกระเป๋ากางเกงได้นี้ทำงานโดยการสื่อสารทางบลูทูธกับเครื่องมือชนิดเดียวกัน หรือโทรศัพท์มือถือที่มีแอปฯเดียวกัน โดยเก็บข้อมูลการสื่อสารไว้ 25 วัน แล้วลบทิ้ง ถ้าผู้ใช้อุปกรณ์นี้ ถูกตรวจพบว่าติดเชื้อโรคโควิด-19 ต้องนำเครื่องนี้มาให้ทางการเพือตรวจสอบข้อมูลใเนครื่องว่าติดต่อกับใครบ้าง…

หญิงจีนถูกขโมยตัวตน 16 ปีก่อน อนาคตพลิกผัน ฝันสลายเข้ามหาวิทยาลัย

Loading

จากอนาคตสดใสต้องไปทำงานโรงงาน หญิงจีนถูกขโมยตัวตน สอบเข้ามหาวิทยาลัยได้แต่โดนสวมรอย เมื่อ 16 ปีก่อน เฉิน ชุนสุ่ย ชาวเมืองกวนเซียน มณฑลชานตง ตัดสินใจพึ่งกฎหมายปกป้องสิทธิ์และผลประโยชน์ของตนเอง  หลังจากสตรีอีกคนหนึ่งเข้าเรียนมหาวิทยาลัยเมื่อ 16 ปีก่อนได้ด้วยการขโมยตัวตนของเธอ  คู่กรณีซึ่งนามสกุล เฉิน เช่นกันและอยู่ในเมืองเดียวกัน ถูกสั่งพักงานเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. หนึ่งวันหลังจากทีมสอบสวนซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการตรวจสอบวินัยและกำกับดูแลประจำเขต และเจ้าหน้าที่หน่วยงานการศึกษา  เปิดสอบสวนเรื่องนี้ ส่วนมหาวิทยาลัยตัดสินใจลบประวัติการศึกษาของเธอทิ้งถาวร เฉิน ชุนสุ่ย ปัจจุบัน อายุ 36 ปี เข้าสอบ”เกาเข่า” หรือเอนทรานซ์ในปี 2547 แต่ไม่ได้รับแจ้งจากสถาบันการศึกษาใดตอบรับ ทั้งที่เธอทำคะแนนแอดมิดชันได้สูงกว่าเกณฑ์ หลังจากหมดหวังเป็นบัณฑิต เธอตัดสินใจเดินทางออกจากหมู่บ้านไปหางานทำในเมืองอื่น  เธอเคยทำงานในโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ เป็นพนักงานเสิร์ฟในภัตตาคาร ก่อนได้มาเป็นครูอนุบาล และเพิ่งมาพบความจริงเจ็บปวดขณะกรอกเอกสารใบสมัครเรียนศึกษาผู้ใหญ่เมื่อ 21 พ.ค. บนเวบไซต์ศูนย์ข้อมูลอาชีพและนักศึกษาอุดมศึกษาจีน หน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ว่าถูกขโมยตัวตน สตรีคนหนึ่งใช้ชื่อและเลขบัตรประจำตัวของเธอ เข้าศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์และการค้าระหว่างประเทศ  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีชานตง ( SDUT ) ในปี 2547 คณะที่เธอเคยฝันไว้เมื่อ…

‘ไอบีเอ็ม’ ยุติพัฒนา-จำหน่ายเอไอ ‘จดจำใบหน้า’ ชี้แฝงอคติเหยียดสีผิว

Loading

สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า “ไอบีเอ็ม” บริษัทผู้ผลิตและให้บริการคอมพิวเตอร์ระดับโลกประกาศยุติการจัดจำหน่ายและการพัฒนา “เทคโนโลยีจดจำใบหน้า” (facial recognition) ของบริษัท รวมถึงเรียกร้องรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาหยิบยกเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การอภิปรายอย่างเร่งด่วน เพื่อปฏิรูปกฎหมายควบคุมการใช้งานเทคโนโลยีนี้โดยเจ้าหน้าที่ ให้ปราศจากการเหยียดสีผิวและเป็นธรรมทางเชื้อชาติ โดยนายอาร์วินด์ คริชนา ซีอีโอของไอบีเอ็มได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐสภาสหรัฐระบุว่า บริษัทต้องการทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติ เพื่อหารือถึงแนวทางด้านกฎหมายในการสร้างความเป็นธรรมและความเหมาะสมในการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้า รวมถึงการใช้งานเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม การตัดสินใจของไอบีเอ็มที่จะยุติธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้าครั้งนี้ เกิดขึ้นท่ามกลางการประท้วงที่ยังคงลุกลามบานปลายจากกรณีของนายจอร์จ ฟลอยด์ ชายชาวผิวสีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ความรุนแรงจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่งผลให้ประเด็นเรื่องปฏิรูปองค์กรตำรวจของสหรัฐ และการเรียกร้องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติสีผิวกลายเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจ ขณะที่ กระแสการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออคติที่แฝงอยู่ในเทคโนโลยีจดจำใบหน้ามีมาโดยตลอด โดยข้อมูลงานวิจัยของ “จอย โบโอแลมวินี” นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ผู้ก่อตั้งสมาคมอัลกอริทึมมิกจัสติซ (Algorithmic Justice League) ระบุว่า เทคโนโลยีดังกล่าวของบางบริษัทแสดงให้เห็นถึงอคติทางเชื้อชาติสีผิวและอคติทางเพศอย่างชัดเจน ซึ่งคนบางกลุ่มเห็นว่า ไม่ควรจำหน่ายเทคโนโลยีนี้ให้กับหน่วยภาครัฐ เพื่อรักษาความปลอดภัยของความเป็นส่วนตัวและสิทธิพลเมือง จดหมายของนายคริชนาระบุว่า “ไอบีเอ็มคัดค้านและไม่ยินยอมให้มีการใช้เทคโนโลยีใด ๆ รวมถึงเทคโนโลยีจดจำใบหน้า เพื่อการสอดแนมประชาชน การเหยียดเชื้อชาติ การละเมิดสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน หรือเพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดที่ไม่สอดคล้องกับค่านิยม หลักการความน่าเชื่อถือและความโปร่งใสของเรา เราเชื่อว่าขณะนี้เป็นวาระแห่งชาติที่จะเริ่มอภิปรายในประเด็นว่า ควรใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้าในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายหรือไม่และอย่างไร” นายคริชนาเข้ารับตำแหน่งซีอีโอของไอบีเอ็มในเดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบคลาวด์เซอร์วิสของบิรษัทมากขึ้น แต่ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนาธุรกิจเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ สำหรับการประมวลผลข้อมูลจำนวนมากในสำนักงานด้วย โดยขณะนี้บริษัทมีมูลค่าตลาดอยู่ที่ราว 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แม้ว่าธุรกิจเทคโนโลยีจดจำใบหน้าจะไม่ใช่ธุรกิจที่สร้างรายได้ให้กับไอบีเอ็มมากนัก แต่การตัดสินใจครั้งนี้ก็สร้างความตื่นตัวในประเด็นเรื่องความเท่าเทียมทางเชื้อชาติให้กับรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่ของไอบีเอ็ม “ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) เป็นเครื่องมืออันทรงพลัง ที่สามารถช่วยให้ผู้บังคับใช้กฎหมายดำเนินการรักษาความปลอดภัยให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ผู้จำหน่ายและผู้ใช้งานระบบเอไอมีความรับผิดชอบที่จะต้องดำเนินการทดสอบอคติที่แฝงอยู่ในระบบเอไอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประยุกต์ใช้กับการบังคับใช้กฎหมาย…

‘แอมะซอน’ งดให้บริการ ‘เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า’ แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี

Loading

รอยเตอร์ – บริษัท Amazon.com Inc ประกาศงดให้บริการเทคโนโลยีตรวจจับใบหน้า (facial recognition software) แก่ตำรวจสหรัฐฯ เป็นเวลา 1 ปี หลังเกิดเหตุประท้วงกรณีตำรวจใช้ความรุนแรงสังหารชายผิวสี นักเคลื่อนไหวเพื่อเสรีภาพพลเมืองในสหรัฐฯ ต่อสู้เรียกร้องมานานถึง 2 ปีว่าระบบตรวจจับใบหน้าของแอมะซอนอาจระบุตัวบุคคลผิดพลาด จนนำไปสู่การจับกุมอย่างไม่เป็นธรรมได้ การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ หนุ่มผิวสีซึ่งถูกตำรวจมินนาอาโพลิสใช้เข่ากดคอจนขาดใจตายเมื่อเดือน พ.ค. ยิ่งกระพือข้อกังวลว่าระบบตรวจจับใบหน้าจะถูกใช้เป็นเครื่องมือเล่นงานผู้ประท้วง นักวิจารณ์ยังชี้ถึงผลการศึกษาในอดีตที่แสดงให้เห็นว่า บริการ ‘Rekognition’ ของแอมะซอนมักมีปัญหาในการระบุเพศของคนผิวสีเข้ม ซึ่งเป็นผลวิจัยที่แอมะซอนออกมาโต้แย้ง ล่าสุด แอมะซอนซึ่งจำหน่ายเทคโนโลยีคลาวด์ผ่านทาง Amazon Web Services ได้แถลงยืนยันวานนี้ (10 มิ.ย.) ว่า บริษัทจะผลักดันให้มีการออกกฎควบคุมการใช้ซอฟต์แวร์ตรวจจับใบหน้าอย่างมีจริยธรรม “เราหวังว่าการระงับบริการ 1 ปีจะช่วยให้สภาคองเกรสมีเวลามากพอที่จะบังคับใช้กฎระเบียบที่เหมาะสม และเราพร้อมจะให้ความช่วยเหลือ หากมีการขอร้องมา” แอมะซอน ระบุ ทั้งนี้ แอมะซอนจะยังคงอนุญาตให้มีการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้าเพื่อสนับสนุนภารกิจของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายในการตามหาเหยื่อค้ามนุษย์ สภาคองเกรสได้เริ่มพิจารณาออกกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีตรวจจับใบหน้ามาเป็นเวลาหลายเดือนแล้ว และล่าสุดเมื่อวันจันทร์ (8) บริษัท ไอบีเอ็ม ได้ส่งหนังสือแจ้งไปยังคองเกรสว่าจะเลิกจำหน่ายและพัฒนาเทคโนโลยีชนิดนี้…