เทคโนโลยีจดจำใบหน้าไหลบ่าท่วมจีน กับกระแสวิตกความปลอดภัยข้อมูลใบหน้า

Loading

ใบหน้าของผู้เข้าชมงานนิทรรศการดิจิตัล ไชน่า ในฝูโจว ปรากฏบนจอภาพของเทคโนโลยีจดจำใบหน้า ภาพเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2019 (แฟ้มภาพ รอยเตอร์ส) ระบบการจดจำใบหน้า (facial recognition) กำลังหลั่งบ่าสู่ชีวิตชาวจีนในมิติต่างๆมากขึ้นทุกวันในขณะที่ยังไร้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ระบบระบุอัตลักษณ์ด้วยเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดได้ก่อความเคลือบแคลงวิตกกังวลให้กับบางกลุ่มเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิส่วนตัวและการนำไปในในทางมิดีมิร้ายต่าง ๆ ที่น่าสะพรึงอย่างไม่อาจจิตนาการ หลังจากที่จีนออกกฎข้อบังคับใหม่ให้ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือต้องสแกนใบหน้าเมื่อลงทะเบียนหมายเลขโทรศัพท์ ก็อาจกล่าวได้ว่าขณะนี้แทบไม่มีชาวจีนคนไหนรอดพ้นจากการแวะข้องกับเทคโนโลยีจดจำใบหน้ากันแล้ว กระทรวงสารสนเทศและเทคโนโลยีแห่งจีนซึ่งประกาศกฎข้อบังคับนี้มาตั้งแต่เดือนก.ย. โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ออกโรงอธิบายมาตรการใหม่นี้จะช่วยป้องกันการขายต่อซิมการ์ดและป้องกันพวกมือมืดหรือมิจฉาชีพลงทะเบียนในเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในกรณีที่บัตรประชาชนถูกขโมย สื่อโซเชียลมีเดียและบริการออนไลน์หลายรายในจีนได้เชื่อมโยงกับหมายเลขโทรศัพท์เพื่อที่จะสามารถติดตามผู้ใช้ได้ แอพลิเคชั่นเชิงพาณิชย์และหน่วยงานตำรวจก็ใช้ระบบรู้จำใบหน้ากับคึกคัก เครือข่ายสถานีรถไฟใต้ดินปักกิ่งเป็นรายล่าสุดที่นำระบบรู้จำใบหน้ามาใช้ในปลายเดือนที่ผ่านมา(28 พ.ย.) ขณะที่สถานีรถไฟใต้ดินในหลายๆเมืองในจีนได้ใช้ระบบฯนี้กันไปเรียบร้อยโรงเรียนจีน จีนได้ทะยานขึ้นเป็นจ้าวเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ (AI) ชั้นนำของโลก และกำลังนำเอไอมาใช้ในทุกมิติชีวิต ตามสถานที่สาธารณะเริ่มทยอยติดตั้งกล้องวงจรปิดเทคโนโลยีจดจำใบหน้าทั้งเพื่อการต่างๆ ทั้งการจับขโมย นักล้วงกระเป๋า ไปยันการขโมยกระดาษชำระในห้องน้ำ มีการเปิดเผยอย่างกว้างขวางระบุว่าจำนวนกล้องวงจรปิดที่ใช้ในจีน ราว 200 ล้านตัว และกำลังจะเพิ่มมากขึ้นถึง 626 ล้านตัว ไล่เรียงดูแล้วแทบจะพูดได้ว่าเทคโนโลยีจดจำใบหน้าแพร่ระบาดไปทั่วหย่อมหญ้าจีน แทรกซึมอยู่ในชีวิตประจำวันชาวจีนจนกลายเป็นความปกติธรรมดาไปแล้ว สำหรับผู้ที่มองโลกในแง่ดีบอกว่ามาตรการใหม่ที่ให้สแกนใบหน้าเพื่อลงทะเบียนเปิดเบอร์โทรศัพท์มือถือนี้จะช่วยลดคดีฉ้อฉลในด้านโทรคมนาคม และการหลอกลวงเกี่ยวกับโทรศัพท์ มหาวิทยาลัยหลายแห่งคุยว่าการใช้ระบบจดจำใบหน้ามาเช็คชื่อผู้เข้าเรียนช่วยให้อัตราการเข้าห้องเรียนของนักศึกษาสูงขึ้น เป็นต้น ทว่า ในอีกด้านหนึ่งกลุ่มเคลือบแคลงสงสัยต่อระบบจดจำใบหน้าได้ชี้ถึงผลพวงอันไม่พึงประสงค์ของปัจเจกชน บ้างกล่าวว่ามันเป็นอีกตัวอย่างของการขยายการติดตามพลเมือง บ้างชี้ว่ามันเป็นการละเมิดและอาจจะถูกนำไปใช้ในการฉ้อฉลอย่างน่าสะพรึง…

กระทรวงมาตุภูมิฯสหรัฐฯออกไอเดียให้ “พลเมืองสหรัฐฯ” ทุกคนต้องสแกนใบหน้าเข้าออกประเทศ

Loading

รอยเตอร์ – รัฐบาสหรัฐฯชุดทรัมป์ต้องการบังคับใช้ข้อกำหนดใหม่ในปีหน้า กำหนดให้ผู้เดินทางผ่านเข้าออกประเทศทุกคน รวมพลเมืองสหรัฐฯต้องถูกถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานทุกครั้ง รอยเตอร์รายงานวันนี้ (3 พ.ย) ว่า ข้อกำหนดที่ถูกเสนอออกมาเมื่อกฎกฎาคมที่ผ่านมาโดยกระทรวงมาตุภูมิและความมั่นคงสหรัฐฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในภาพกว้างของระบบติดตามตัวนักเดินทางเข้าและออก อย่างไรก็ตามแผนที่ว่านี้ได้รับการต่อต้านออกจากกลุ่มผู้สนับสนุนสิทธิส่วนบุคคล โดยเจย์ สแตนลีย์ (Jay Stanley) นักวิเคราะห์นโยบายอาวุโสให้กับสหภาพสิทธิพลเมืองสหรัฐฯ ACLU ได้ออกมาโต้แย้งแนวความคิดการให้สแกนใบหน้าพลเมืองอเมริกันในการผ่านเข้าออกประเทศผ่านแถลงการณ์ว่า “นักท่องเที่ยวรวมถึงพลเมืองสหรัฐฯไม่สมควรต้องยอมจำนนต่อการตรวจทางชีววิทยาที่เหมือนเป็นการบุกรุก เนื่องมาจากเงื่อนไขในการปกป้องสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญในการเดินทางของพวกเขา” ทั้งนี้พบว่าสาธารณะมีเวลาราว 30-60 วันในการแสดงความเห็นต่อข้อกำหนดของสหรัฐฯ และหลังจากนั้นหน่วยงานรัฐบาลกลางสหรัฐฯจะทำการพิจารณาทบทวนและตอบต่อความเห็นเหล่านั้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการที่ใช้ระยะเวลามากที่สุด นอกจากนี้รัฐบาลสหรัฐฯชุดทรัมป์ยังกล่าวในวาระกฎเกณฑ์ว่า ทางสหรัฐฯมีแผนที่จะออกข้อกำหนดฟาสต์แทร็กที่แยกออกมาต่างหากภายในเดือนนี้เพื่อทำให้โปรเจกต์เข้า-ออกนั้นไปไกลกว่าสถานะนำร่อง สำนักงานศุลกากรและปกป้องพรมแดนสหรัฐฯที่อยู่ภายใต้กระทรวงมาตุภูมิและความมั่นคงสหรัฐฯได้ออกโครงการนำร่องทำการรวบรวมภาพถ่ายและลายนิ้วมือของนักท่องเที่ยวต่างชาติ อย่างไรก็ตามในปี 2018 ฝ่ายตรวจสอบภายในได้พบปัญหาด้านปฎิบัติการและเทคนิคที่สนามบิน 9 แห่งในสหรัฐฯ ซึ่งทำให้สร้างความสงสัยว่าทางกระทรวงมาตุภูมิสหรัฐฯจะสามารถทำได้ทันกำหนดเส้นตายของตัวเองหรือไม่ที่จะสมารถยืนยันการเดินทางออกนอกประเทศของชาวต่างชาติทุกคนได้ทันในสนามบินขนาดใหญ่ 20 แห่งทั่วประเทศภายในปีงบประมาณปี 2021 ————————————– ที่มา : MGR Online / 3 ธันวาคม 2562 Link : https://mgronline.com/around/detail/9620000115756

อียูเริ่มตรวจสอบวิธีเก็บข้อมูลผู้ใช้ของ ‘กูเกิล’ เข้าข่ายผิดกฎหมายหรือไม่?

Loading

FILE – Google CEO Sundar Pichai (R) and Philipp Justus, Google Vice President for Central Europe and the German-speaking Countries, attend the opening of the new Alphabet’s Google Berlin office in Berlin, Germany, Jan. 22, 2019. สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมการต่อต้านการผูกขาดของสหภาพยุโรปกำลังตรวจสอบวิธีจัดเก็บข้อมูลของบริษัทเทคโนโลยีกูเกิล ว่าขัดกับกฎหมายของอียูหรือไม่ โดยการตรวจสอบดังกล่าวจะมุ่งไปในประเด็นที่ว่า กูเกิลจัดเก็บข้อมูลอย่างไรและทำไมจึงต้องเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้ ผู้ตรวจสอบของอียูกล่าวกับรอยเตอร์ว่า ในเบื้องต้นได้มีการส่งแบบสอบถามไปยังกูเกิลแล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสอบสวนเกี่ยวกับข้อมูลการค้นหาต่าง ๆ ที่กูเกิลจัดเก็บไว้ รวมถึงการโฆษณาออนไลน์ การเจาะกลุ่มเป้าหมาย การท่องเว็บไซต์ และพฤติกรรมอื่น ๆ ของผู้ใช้กูเกิล ในช่วงสองปีที่ผ่านมา คณะกรรมการสนับสนุนการแข่งขันอย่างเท่าเทียมในสหภาพยุโรป ได้สั่งปรับเงินกูเกิลไปแล้วกว่า…

จีนเริ่มใช้กฎสแกนใบหน้าผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ

Loading

รัฐบาลจีนเริ่มบังคับใช้กฎระเบียบใหม่ ที่กำหนดให้ประชาชนในประเทศ ต้องสแกนใบหน้า เมื่อจดทะเบียนขอใช้บริการโทรศัพท์มือถือ ส่วนหนึ่งของมาตรการที่รัฐบาลพยายามระบุตัวตน ประชาชนหลายร้อยล้านคน ที่ใช้อินเทอร์เน็ตในจีน กฎระเบียบใหม่ ซึ่งประกาศครั้งแรกในเดือน ก.ย. เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ 1 ธ.ค. 2562 รัฐบาลจีนกล่าวว่า ต้องการปกป้อง “สิทธิและผลประโยชน์ที่ถูกต้องตามกฎหมายของพลเมืองในโลกไซเบอร์” ก่อนหน้านี้ทางการจีนได้ติดตั้ง เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ตามสถานที่สาธารณะทั่วประเทศ เพื่อสำรวจประชากรของตน จีนถือเป็นผู้นำโลก ทางด้านเทคโนโลยีเหล่านี้ แต่การใช้ระบบเพื่อตรวจสอบอย่างเข้มข้นมากขึ้นของทางการ ในระยะหลายปีที่ผ่านมา กลายเป็นประเด็นถกเถียงในวงกว้าง เกี่ยวกับการละเมิดสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล. ———————————————- ที่มา : NEW18 / 2 ธันวาคม 2562 Link : https://www.newtv.co.th/news/45435

แนวคิดในการนำเอไอมาใช้กับข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

โดย จรัล งามวิโรจน์เจริญ Chief Data Scientist & VP of Data Innovation Lab ในโลกปัจจุบัน เรามีข้อมูลที่ถูกสร้างและถูกเก็บจำนวนมาก โดยมาจากสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา เช่น พฤติกรรมการใช้งานฟังก์ชันต่างๆ จากโทรศัพท์มือถือและจากในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ถูกแปลงไปอยู่ในโลกดิจิทัล เพื่อช่วยให้เอไอและแมชชีนเลิร์นนิง (AI & machine learning) ทำการประมวลผลบางอย่าง เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและสังคม ทั้งในด้านของการช่วยตัดสินใจ การคาดการณ์ (prediction) การทำงานอย่างอัตโนมัติ (automation) โดยองค์กรอาจนำเอาข้อมูลส่วนตัวมาร่วมใช้วิเคราะห์ตัดสินใจควบคู่กันไปด้วย เพื่อทำให้ลูกค้ามีประสบการณ์การใช้งานที่ดี (user experience) และอยู่ใช้บริการกับองค์กรได้นานยิ่งขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าจะช่วยสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากยิ่งขึ้นเช่นกัน จากประโยชน์ของการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อประโยชน์ขององค์กรหรือภาคธุรกิจต่างๆ นี้เอง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาหลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยได้ออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้องค์กรและผู้ประกอบการเกิดความตระหนักและต้องคิดให้รอบคอบมากขึ้นในกรณีที่ต้องการนำข้อมูลต่างๆ มาใช้งาน ซึ่งแน่นอนว่าการที่จะทำ personalization ที่ดีได้นั้น ต้องอาศัยข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของบุคคลจำนวนมาก แต่จะทำอย่างไรให้การนำข้อมูลมาใช้ยังคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล ในขณะที่ก็ให้ประโยชน์กับผู้ใช้งานด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก โดยองค์กรหรือผู้ประกอบการอาจจะเป็นผู้ที่ควบคุมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้ใช้ได้ ภายใต้ข้อบังคับของกฎหมาย บทความนี้ผมอยากนำเสนอแนวคิด…

แถลงข่าว จับกุมหนุ่มแฮก facebook “หลอกโอนเงิน” เข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์

Loading

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยในการร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ที่ผ่านมาและมีสถิติรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้กระทำผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาดำเนินคดีตามกฎหมายและเร่งรัดดำเนินคดีการตามมาตรการป้องกันและปราบปราม ในห้วงที่ผ่านมามีสถิติการจับกุมระหว่างเดือนกรกฎาคม – เดือนกันยายน ๒๕๖๒ มีจำนวนทั้งสิ้น ๗ ราย ดังนี้ เดือนกรกฎาคม ๖ ราย เดือนสิงหาคม ๖ ราย และเดือนกันยายน ๑ ราย วันนี้ (15 พฤศจิกายน) มีการแถลงข่าวจับกุมตัวผู้ต้องหาแฮก facebook หลอกยืมเงินเข้ากระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรูปแบบการกระทำความผิด (แผนประทุษกรรม) ที่ซับซ้อน โดยหลอกลวงรับสมัครงานในโลกออนไลน์เพื่อเอาบัญชีผู้อื่นที่มาสมัครงานเป็นบัญชีผู้รับโอนเงินจากเหยื่อ ซึ่งเมื่อวันที่ 14 พ.ย.62 ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ต.ไพบูลย์ น้อยหุ่น ผบก.ปอท. พ.ต.อ.สมเกียรติ เฉลิมเกียรติ รอง ผบก.ปอท. พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รอง ผบก.ปอท.…