แนวทางประเมินความเสี่ยงและแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มาตรา 37 (4) กำหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ “แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล” แก่สำนักงานโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง   นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล   อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่การละเมิดมีความเสี่ยงสูงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้แจ้งเหตุการละเมิดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบพร้อมกับแนวทางการเยียวยาโดยไม่ชักช้าด้วย   ตามมาตรา 37 (4) แสดงให้เห็นว่า “การประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล” เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบว่าตนเองนั้นมีหน้าที่ต้องแจ้งหรือไม่ต้องแจ้งเหตุ แก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลให้ทราบถึงเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น   ดังนั้น ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประเมินความเสี่ยงต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล เมื่อเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลเกิดขึ้น     คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้กำหนดปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอาจใช้ในการประเมินความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลไว้ในประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลฯ ข้อ 12   โดยผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล อาจพิจารณาจากปัจจัย ดังต่อไปนี้   (1) ลักษณะและประเภทของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   (2) ลักษณะหรือประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด   (3) ปริมาณของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการละเมิด ซึ่งอาจพิจารณาจากจำนวนเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือจำนวนรายการ (records)…

กระอัก ออสเตรเลีย ถูกเจาะระบบซ้ำ ข้อมูลสุขภาพรั่วไหล 4 ล้านคน

Loading

  วันที่ 26 ต.ค. เอเอฟพี รายงานว่า นักเจาะระบบคอมพิวเตอร์หรือแฮ็กเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวทางด้านสุขภาพนับล้านรายการภายในบริษัทเมดิแบงก์ หนึ่งในเอกชนทำธุรกิจด้านการประกันสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ ออสเตรเลีย คาดว่าข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหลไปถึง 3.9 ล้านคน ส่งผลให้รัฐบาลออกมายอมรับว่าบรรดาเอกชนยังมีระบบการรักษาความปลอดภัยที่ไม่เพียงพอ   การเจาะระบบล่าสุดเกิดหลังการโจมตีไซเบอร์ครั้งใหญ่ที่แฮกเกอร์ลักลอบเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวผู้ใช้งานของบริษัทออพตัส ผู้ให้บริการด้านการสื่อสารรายใหญ่ในออสเตรเลีย ส่งผลให้ข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ากว่า 9 ล้านคนรั่วไหล นับเป็นหนึ่งในการเจาะระบบครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย   นายมาร์ก เดรย์ฟัส อัยการสูงสุดออสเตรเลีย กล่าวว่า บรรดาเอกชนเหล่านี้กำลังเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนตัวของลูกค้ามากเกินความจำเป็นและล้มเหลวในการปกป้องข้อมูลเหล่านี้ พร้อมขู่จะลงโทษบรรดาเอกชนขั้นสูงสุดด้วยค่าปรับกว่า 1.2 พันล้านบาท ขณะที่นางแคลร์ โอนีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกิจการภายใน (เทียบเท่ามหาดไทย) ยอมรับว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเกินเยียวยา     ———————————————————————————————————————————————— ที่มา :                          ข่าวสดออนไลน์       …