เงินดิจิตัล และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง

Loading

  เงินดิจิตัล (Digital currency) ตามพจนานุกรม Investopedia ให้ความหมายไว้คือ เงินตราที่มีอยู่ในรูปของดิจิตัลหรือในรูปแบบของอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ส่วน เงินคริปโท (cryptocurrency ) พจนานุกรม Investopediaได้ให้ความหมายไว้ หมายถึงเงินตราที่เป็นดิจิตัลหรือเงินตราเสมือนที่เกิดจากการเข้ารหัส โดยเทคโนโลยี Cryptography ตามความหมายดังกล่าวข้างต้น Digital currency และ cryptocurrency เป็นสิ่งเดียวกัน   เงินดิจิตัลหรือ เงินคริปโทเป็นเงินที่ถูกกฎหมายหรือไม่ ตามเอกสารรายงานของห้องสมุดกฎหมายสภาครองเกรสแห่งสหรัฐอเมริกา ที่ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ระบุประเทศที่ห้ามใช้เงินคริปโทมี 9ประเทศ คืออียิปต์ อีรัค กาต้าร์ โอมาน มอรอคโค อัลจีเรีย บังคลาเทศ และจีน   ส่วนอีก 42 ประเทศไม่ได้สั่งห้ามโดยตรง แต่ห้ามทางอ้อมโดยการออกกฎระเบียบที่เข้มงวดกับธนาคารในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวกับเงินตราคริปโท หรือห้ามแลกเปลี่ยนเงินตรากับเงินคริปโท   ทั้งนี้เหตุผลที่รัฐบาลบางประเทศห้ามใช้เงินคริปโท เพราะการใช้เงินตราคริปโท มีช่องทางที่ใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย และอาจทำลายเสถียรภาพของระบบการเงินของประเทศ แต่ขณะเดียวกันก็มีรัฐบาลหลายประเทศกำลังมองแนวทางในการวางกฎระเบียบและการกำกับดูแลเงินตราคริปโท   เงินตราคริปโทสกุลต่างๆ : เงินตราคริปโทมีมากมายหลายสกุลที่แพร่หลาย…

ทั่วโลกคุมเข้ม ‘คริปโทฯ’ หวั่นเป็นแหล่งฟอกเงิน

Loading

  มูลค่าของ “คริปโทเคอร์เรนซี” อย่างบิตคอยน์ และอีเทอเรียม เพิ่มขึ้นสูงอย่างมาก ช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา และนักลงทุนแห่ซื้อขายกันอย่างมากมาย ขณะที่ต้นเดือนที่ผ่านมา “ตุรกี” ออกกฎหมายใหม่ แบนการชำระค่าสินค้าและบริการด้วย “สินทรัพย์ดิจิทัล” อย่างคริปโทเคอร์เรนซี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน ทั้งนี้ ไม่ได้มีเพียงตุรกีเท่านั้นที่ออกกฎหมายเข้าควบคุมคริปโทฯ แต่เป็นเทรนด์ของหลายประเทศที่กำลังร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ หรือได้ออกกฎหมายไปแล้ว หรือบางประเทศก็ออกกฎหมายให้คริปโทฯ เป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายไปเลย ซีเอ็นบีซีรายงานว่า กระแสความร้อนแรงของคริปโทเคอร์เรนซีที่เติบโตอย่างรวดเร็ว กำลังเป็นภัยต่อระบบการเงินของแต่ละประเทศอย่างมาก โดยการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านคริปโทฯ ทำให้ธนาคารกลางติดตามการทำธุรกรรมการเงินได้ยากขึ้น ซึ่งจะทำให้อาจเข้ามามีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินนโยบายทางการเงิน รวมทั้งเสถียรภาพระบบการเงินของประเทศ และคริปโทเคอร์เรนซีมักจะเข้าไปเกี่ยวข้องกับกิจกรรมผิดกฎหมาย อย่างการฟอกเงิน และการหลีกเลี่ยงภาษี แม้ว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนทำให้ทุกคนทราบถึง “มูลค่า” ต้นทาง และปลายทางการทำธุรกรรม แต่ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดถึงตัวตนคนทำธุรกรรมคือใคร แม้ว่าการทำธุรกรรมผิดกฎหมายผ่านคริปโทฯ ปีที่แล้วมีเพียง 0.34% จากการทำธุรกรรมทั้งหมด ซึ่งลดลงจากปีก่อนหน้าที่สูงถึง 2% แต่ปัจจัยทั้งด้านเสถียรภาพทางการเงิน รวมถึงความเสี่ยงในการทำผิดกฎหมาย ทำให้รัฐบาลทั่วโลกเดินหน้าร่างกฎหมายเพื่อเข้าควบคุมตลาดคริปโทฯ ก่อนหน้านี้ ประเทศแอลจีเรีย, อียิปต์, โมร็อกโก, โบลิเวีย และเนปาล ได้ออกกฎหมายว่าการครอบครองคริปโทเคอร์เรนซี หรือการทำธุรกรรมการเงินผ่านคริปโทฯ…