ภัยออนไลน์ ที่จ้องเล่นงานคุณ

Loading

    ภัยออนไลน์ ที่ยังระบาดอย่างต่อเนื่อง ระวังตัวให้ดี เงินที่หามาแสนลำบาก อาจโดนปล้นไปโดยไม่รู้ตัว งั้นวันนี้เรามาอัพเดทกันหน่อยดีกว่าว่า โจรที่มากับโลกอินเทอร์เน็ต จะมาขโมยเงินของเราในรูปแบบไหนบ้าง และวิธีป้องกัน   เริ่มจากภัยหลายๆ คนมองข้าม คิดว่าไม่มีอะไร แต่หารู้ไม่ว่ากำลังเปิดประตูให้โจรเข้ามาในเครื่องของคุณ นั้นก็คือการ WiFi ฟรี   ภัยออนไลน์ WiFi ฟรี   WiFi ฟรีที่มาจากร้านกาแฟ ร้านอาหาร สนามบิน ที่ดูเหมือนจะไม่มีอะไร แต่เราจะรู้ได้ยังว่า WiFi ตัวนั้นปล่อยออกมาจากร้านนั้นจริงๆ ไม่ได้มีใครก็ไม่รู้ที่เปิดคอมพิวเตอร์แล้วปล่อยสัญญาณ WiFi ที่ตั้งชื่อแบบเดียวกัน ซึ่งเรื่องนี้ เราไม่มีทางรู้เลย แล้วคนร้ายที่แอบปล่อยสัญญาณก็สามารถเห็นการกระทำบนโลกอินเทอร์เน็ตของเราทุกอย่าง ถึงหลายคนจะบอกว่า https นั้นเข้ารหัส แต่มันก็ใช้ว่าจะถอดไม่ได้ เมื่อคุณอยู๋ในวง WiFi ของเขา ก็เหมือนคุณอยู่ในเงื้อมือของเขาเช่นกัน เพราะทุกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คนร้ายจะเป็นคนกลาง หรือที่เรียกว่า Man in the Middle เขาสามารถเห็นทุกอย่าง และยังสามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกอย่างได้ด้วย​…

กูเกิลเปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench สู้ co-pilot ของไมโครซอฟท์ที่ใช้ GPT-4

Loading

    ในสนามสงครามธุรกิจคลาวด์ ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ Generative AI สามารถนำมาใช้งานเพื่อให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมได้ในเวลาสั้นลง เหมือนมี AI เป็นผู้ช่วย ซึ่งไมโครซอฟท์ ก็ได้นำเอนจิ้น GPT มาใช้งานกับ Microsoft Azure คลาวด์ของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   แน่นอนว่า กูเกิลก็ไม่สามารถอยู่เฉยได้ ล่าสุดในงาน RSA Conference 2023 กูเกิลได้เปิดตัว Google Cloud Security AI Workbench เป็นแพลตฟอร์มใช้สำหรับงานความปลอดภัยไซเบอร์โดยเฉพาะ โดยใช้พลังจาก Sec-PaLM ระบบโมเดลภาษาขนาดใหญ่ ที่สร้างมาเพื่อทำงานเกี่ยวกับความปลอดภัยไซเบอร์   ตัวอย่างหนึ่งที่กูเกิลยกมาคือ ระบบ VirusTotal Code Insight ช่วยให้วิศวกรความปลอดภัย สามารถนำเข้าสคริปต์ และวิเคราะห์พฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้ หรืออีกระบบคือ Mandiant Breach Analytics แจ้งเตือนผู้ใช้งานอัตโนมัติเมื่อพบพฤติกรรมละเมิด   Security AI Workbench เปิด API…

นักวิเคราะห์เตือนแอป “พินตัวตัว” สามารถสอดแนมกิจกรรมบนโทรศัพท์มือถือ

Loading

  นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เปิดเผยกับสำนักข่าวซีเอ็นเอ็นว่า “พินตัวตัว” (Pinduoduo) แอปพลิเคชันชอปปิงยอดนิยมที่สุดแอปหนึ่งของจีนนั้น สามารถฝ่าระบบป้องกันความปลอดภัยบนโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้วสอดแนมกิจกรรมบนแอปอื่น ๆ ตลอดจนตรวจสอบการแจ้งเตือน อ่านข้อความส่วนตัว และเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า   โดยแอปดังกล่าวขายสินค้าเกือบทุกประเภท ตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค โดยมีผู้ใช้งานกว่า 750 ล้านรายต่อเดือน   ขณะเดียวกัน นักวิจัยด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เตือนด้วยว่า เมื่อติดตั้งแอปพินตัวตัวแล้วก็ยากที่จะลบมัลแวร์สอดแนมออกจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้   แม้แอปจำนวนมากรวบรวมข้อมูลผู้ใช้งานกันเป็นปกติ โดยบางครั้งก็ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูล แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายเตือนว่า พินตัวตัวนั้นละเมิดความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยด้านข้อมูลมากกว่าแอปทั่ว ๆ ไป   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นได้พูดคุยกับทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ประมาณ 6 ทีมจากเอเชีย ยุโรป และสหรัฐ รวมถึงพนักงานทั้งในอดีตและปัจจุบันของพินตัวตัว โดยผู้เชี่ยวชาญหลายรายระบุว่ามีมัลแวร์อยู่บนแอปพินตัวตัว ซึ่งฉวยโอกาสจากความเปราะบางในระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ขณะเดียวกันกลุ่มคนวงในระบุว่า มัลแวร์ดังกล่าวใช้ในการสอดแนมผู้ใช้งานและคู่แข่ง เพื่อกระตุ้นยอดขาย   “เราไม่เคยเห็นแอปขนาดใหญ่เช่นนี้พยายามเข้าถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ไม่ควรเข้าถึง โดยถือเป็นเรื่องผิดปกติเอามาก ๆ และไม่ดีต่อพินตัวตัวนัก” มิกโก ฮิปโพเนน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยบริษัทวิธซีเคียว (WithSecure) บริษัทความปลอดภัยทางไซเบอร์จากฟินแลนด์กล่าว   มัลแวร์นั้นอ้างอิงถึงซอฟต์แวร์ทุกชนิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อขโมยข้อมูลหรือรุกล้ำระบบคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยการเปิดเผยเรื่องมัลแวร์ในแอปพินตัวตัวมีขึ้นในช่วงที่สหรัฐตรวจสอบแอปติ๊กต๊อกอย่างเข้มงวด เนื่องจากวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านข้อมูล…

จีนจัดงานสัปดาห์ความปลอดภัยไซเบอร์ 5 – 11 ก.ย. หวังสร้างความตระหนักรู้ต่อ ปชช.

Loading

  สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า งานสัปดาห์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ของจีนประจำปี 2565 เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 5-11 ก.ย. ในเมืองเหอเฝย์ ประจำมณฑลอานฮุย ทางตะวันออกของประเทศ โดยธีมในปีนี้จะเน้นว่า สภาพแวดล้อมในโลกไซเบอร์ที่ปลอดภัยต้องพึ่งพาอาศัยและรับใช้ประชาชน   ในงานนี้มีบริษัทและองค์กรมากกว่า 60 แห่ง มาเข้าร่วมกันอย่างคับคั่งในพื้นที่ราว 20,000 ตร.ม. โดยบริษัทยานยนต์บางรายได้รับเชิญมาร่วมงานสัปดาห์ฯ นี้เป็นครั้งแรกเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อประชาชนในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลรถยนต์ผ่านการสาธิตในงาน   ตลอดทั้งสัปดาห์จะมีการจัด 9 เวทีเสวนาในหัวข้อต่าง ๆ อาทิ เทคโนโลยีความปลอดภัยทางไซเบอร์ ความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับวัยรุ่น ความปลอดภัยของข้อมูลรถ ปัญญาประดิษฐ์ และการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล   นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมพิเศษจัดขึ้นในชุมชน วิทยาเขต หมู่บ้าน และองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อประชาชนในด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์อีกด้วย   อนึ่ง ข้อมูลรายงานการพัฒนาอินเทอร์เน็ตของจีนที่เผยแพร่โดยศูนย์ข้อมูลเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจีนระบุว่า ณ เดือน มิ.ย. จำนวนชาวเน็ตในจีนเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 1.05 พันล้านคน โดยมีอัตราส่วนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั่วประเทศอยู่ที่ 74.4%        …

อัปเดตอุปกรณ์ด่วน! แอปเปิลพบช่องโหว่ iPhone-iPad-Mac เสี่ยงถูกแฮ็ก

Loading

  แอปเปิลเตือนผู้ใช้ iPhone-iPad-Mac อัปเดตอุปกรณ์ด่วน หลังพบช่องโหว่ในระบบที่ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถควบคุมอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์   เมื่อวันพุธ (17 ส.ค.) บริษัทแอปเปิล (Apple) ได้ออกรายงานความปลอดภัย 2 ฉบับ ซึ่งเปิดเผยว่า มีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่ร้ายแรงในอุปกรณ์ iPhone, iPad และ Mac ที่อาจเปิดโอกาสให้แฮ็กเกอร์สามารถเจาะระบบเข้าควบคุมอุปกรณ์เหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์   บริษัทกล่าวว่า “รับทราบว่าปัญหานี้อาจถูกนำไปใช้แสวงหาผลประโยชน์” และบอกว่า ได้พัฒนาแก้ไขระบบปฏิบัติการให้ปิดรูโหว่เหล่านี้แล้วตั้งแต่วันอังคาร (16 ส.ค.)     สำหรับอุปกรณ์ของแอปเปิลที่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ดังกล่าวนี้ ได้แก่   –   iPhone รุ่นตั้งแต่ 6s เป็นต้นมา –   iPad ทั้งหมดที่ใช้ระบบปฏิบัติการ iPadOS 15 (รวมถึงรุ่น Gen 5 เป็นต้นมา, iPad Pro ทุกโมเดล, iPad mini 4 และ iPad…

“สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU หวังแก้ปมข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์

Loading

  รมว.ดีอีเอส ร่วมเป็นสักขีพยาน “สกมช.- หัวเว่ย” ลงนาม MOU ความปลอดภัยด้านไซเบอร์ของประเทศ หวังผลักดันไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างปลอดภัย ลดเรื่องข้อมูลรั่วไหล   วันที่ 2 ส.ค. 65 ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี้ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์กับ บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด โดยมีนายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (MDES) ร่วมเป็นสักขีพยาน   นายชัยวุฒิ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องข้อมูลรั่วไหลและการโจมตีทางไซเบอร์มีจำนวนครั้งที่เกิดถี่ขึ้นเรื่อยๆ และมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้ปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำด้านองค์ความรู้และทักษะทางดิจิทัลเริ่มส่งผลกระทบกับองค์กรต่างๆ อย่างรุนแรงยิ่งกว่าเดิม นั่นเป็นสาเหตุที่กระทรวงดิจิทัลฯ ได้ร่วมจับมือกับผู้นำด้านนวัตกรรมด้านดิจิทัลอย่างหัวเว่ยในการรับมือกับปัญหานี้ เพื่อช่วยผลักดันประเทศไทยให้เข้าสู่ยุคดิจิทัลแห่งอนาคตที่มีความปลอดภัย   ด้านพล.อ.ปรัชญา เฉลิมวัฒน์ เลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ลธ.กมช.) ได้กล่าวถึงการลงนามความร่วมมือในครั้งนี้ว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความร่วมมือในหมู่องค์กรเอกชน องค์กรสาธารณะ และหน่วยงานรัฐต่างๆ เพื่อให้สามารถสร้างไซเบอร์สเปซที่มีความน่าเชื่อถือในระดับโลกให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ทั้งนี้ ทาง สกมช. เชื่อว่าการลงนามในครั้งนี้…