ญี่ปุ่นสนใจเทคโนโลยีเกี่ยวกับ cyber security ของอิสราเอล

Loading

ญี่ปุ่นให้ความสนใจเทคโนโลยีเกี่ยวกับ cyber security ของอิสราเอล      บริษัทญี่ปุ่นเข้าสำรวจโอกาสทางธุรกิจ โดยเข้าร่วมในงานแสดงเทคโนโลยีทาง cyber security ประจำปี 2016 ที่กรุงเทลอาวีฟ อิสราเอล ในงานนี้มีบริษัทกว่า 250 แห่ง มาเข้าร่วม รวมทั้ง JETRO หน่วยงานการค้าระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ได้มาร่วมเป็นบูธในงานนี้ด้วย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ JETRO จัดทำ เนื่องจากเป็นทีรับทราบว่าอิสราเอลคือผู้นำด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับ cyber security และบริษัทญี่ปุ่นต้องการขยายบทบาทในอุตสาหกรรมด้านนี้ ———————– ที่มา : NHK WORLD News วันที่ 27 มกราคม 2559

รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องกับแผนการใหม่ที่เสริมความเข้มแข็งในการรักษาความปลอดภัยในระบบ online

Loading

รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นพ้องกับแผนการใหม่ที่เสริมความเข้มแข็งในการรักษาความปลอดภัยในระบบ online แผนนร้ประกอบด้วยมาตรการต่อต้าน เช่น เพิ่มการเฝ้าติดตามจากหน่วยงานและองค์การของรัฐบาล เพิ่มจำนวนเจ้าหน้าที่เฝ้าระวัง และจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะภารกิจนี้ โดยจะเชิญผู้เชียวชาญมาร่วมดำเนินการ โดยหน่วยงานนี้จะตั้งขึ้นภายในปลายเดือนมีนาคม 2559 นอกจากนี้ รัฐบาลเตรียมเสนอให้มีการปรับพื้นฐานของกฎหมายที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ online ต่อรัฐสภาอีกด้วย Form : NHK WORLD News Jan. 25, 2016 – Updated 15:49 UTC+7 Link : http://www3.nhk.or.jp/nhkworld/english/news/20160125_20.html

ไดเมนชั่นฯ จับตาไอทีปี59 แฮกเกอร์ล้วงข้อมูลหวังค่าไถ่

Loading

     นายเอเตียนน์ เรย์เนกเก ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี บริษัท ไดเมนชั่น ดาต้า กล่าวว่า บริษัทได้มีการคาดการณ์ด้านไอทีประจำปี 2559 โดยให้ความสำคัญเรื่อง ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cybersecurity) หรือ ความปลอดภัยทางไซเบอร์ คาดว่า การทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ที่มีชื่อเสียงจะเกิดขึ้นต่อเนื่องในปี 2559 และผู้บริหารจะตกเป็นเป้าของบรรดานักเจาะระบบ (แฮกเกอร์) มากขึ้น      “การทำลายระบบรักษาความปลอดภัยของผู้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักซึ่งเกิดขึ้นในปี 2558 จะยังคงเกิดต่อเนื่องไปในปี 2559 และแนวโน้มใหม่ๆ ที่เรียกกันว่า “วัลลิ่ง” (Whaling) เพื่อสร้างความปั่นป่วนยุ่งเหยิง คือ การเห็นบรรดาแฮกเกอร์ออกล่าเหยื่อที่เป็นผู้บริหารระดับสูง ด้วยการปล่อยไวรัสคอมพิวเตอร์ “แรนซอมแวร์” (Ransomware) เพื่อหวังเอาเงิน หรือข้อมูลของผู้บริหารเหล่านั้นไปใช้ในทางที่ผิด”      นอกจากนี้ยังมี “ไฮบริด คลาวด์ (Hybrid Cloud) W หรือ การปรับใช้ระบบคลาวด์ส่วนตัวเพิ่มขึ้นในปี 2559      “ในเวลา 12…

PwC คาดองค์กรจะลงทุนความปลอดภัยไอทีเพิ่ม หลังภัยไซเบอร์ปี 58 สูงขึ้น

Loading

     PwC เผยจำนวนภัยคุกคามระบบไอที-อาชญากรรมไซเบอร์พุ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 38% คุกคามบริษัททั่วโลกธุรกิจเร่งลงทุนด้านไอทีซิเคียวริตี้ ทั้งบิ๊กดาต้า คลาวด์ และอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (IoT) เพื่อรับมือความเสี่ยงมากขึ้น…      นางสาววิไลพร ทวีลาภพันทอง หุ้นส่วนสายงานธุรกิจที่ปรึกษา บริษัท PwC Consulting (ประเทศไทย) เปิดเผยถึงผลสำรวจ The Global State of Information Security Survey 2016: Turnaround and transformation in cybersecurity จัดทำโดย PwC ร่วมกับนิตยสาร CIO และ CSO ผ่านการสำรวจความคิดเห็นบรรดานักธุรกิจและผู้นำบริษัทไอทีชั้นนำทั่วโลกกว่า 10,000 ราย คลอบคลุมกว่า 127 ประเทศ โดยแบ่งเป็นผู้ถูกสำรวจจากทวีปอเมริกาเหนือ (37%) ยุโรป (30%) เอเชียแปซิฟิก (16%) อเมริกาใต้ (14%) และ…

แฮกเกอร์! ถล่มเว็บศาลฯ คาดไม่พอใจคดีเกาะเต่า โฆษกศาล ยธ.ลั่นเอาผิด

Loading

     “โฆษกศาลยุติธรรม” เผย ตรวจสอบแล้วพบแฮกเกอร์ ถล่มเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม พร้อมดำเนินคดีตามความผิด พ.ร.บ.คอมพ์ มาตรา 10,12 โทษจำคุก 3-15 ปี เชื่อผลพวง ตัดสินคดีเกาะเต่า หลังพบข้อความภาษาอังกฤษ เรียกร้องความยุติธรรม ย้ำ ไม่อาจเปลี่ยนคำพิพากษาได้      เมื่อวันที่ 13 ม.ค.59 นายสืบพงษ์ ศรีพงษ์กุล โฆษกศาลยุติธรรม กล่าวถึงกรณีที่หน้าเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรม ถูกแฮกเกอร์บุกรุกจนไม่สามารถใช้งานได้ว่า จากการตรวจสอบการเชื่อมต่อโครงข่ายข้อมูลหน้าเว็บไซต์สำนักงานศาลยุติธรรมนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตั้งแต่เวลา 22.00 น.ของวันที่ 12 ม.ค.ที่ผ่านมา โดยครั้งแรกที่ตรวจสอบพบว่า หน้าเว็บเพจหน้าแรกของสำนักงานศาลยุติธรรม กลายเป็นบนพื้นสีดำ และมีรูปสัญลักษณ์คล้ายหน้ากากสีขาว พร้อมข้อความภาษาอังกฤษ เขียนว่า “BLINK HACKER GROUP” และ “Failed Law We Want Justice ! # Boycott Thailand” และจากการสืบค้นพบว่า “BLINK…

ทำเนียบขาวเล็งหารือบ.ไอทีสกัดไอเอส

Loading

ทำเนียบขาว หน่วยข่าวกรอง และฝ่ายความมั่นคงสหรัฐเตรียมคุยผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีหาทางรับมือกลุ่มติดอาวุธใช้โซเชียลมีเดียหาสมาชิก แหล่งข่าวผู้ใกล้ชิดกับการประชุมเปิดเผยว่า ผู้ที่เข้าร่วมประชุมมีทั้งหัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาว “นายเดนิส แม็คโดนาฟ” ประธานที่ปรึกษาต่อต้านการก่อการร้าย “นางลิซา โมนาโก” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม “นางลอเร็ตต้า ลินช์“ ผู้อำนวยการสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐ หรือเอฟบีไอ ”นายเจมส์ โคมีย์” ผู้อำนวยการข่าวกรองแห่งชาติ “นายเจมส์ แคลปเปอร์” และผู้อำนวยการสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ “นายไมค์ โรเจอร์ส” ส่วนภาคเอกชนที่เข้าร่วมประชุมมีทั้งทวิตเตอร์, แอ๊ปเปิ้ล อิงค์, เฟซบุ๊ค, กูเกิล ไมโครซอฟท์ คอร์ป, ดร็อปบ็อกซ์ และบริษัทอินเทอร์เน็ตอีกจำนวนมาก คาดว่าทั้งหมดจะส่งผู้บริหารระดับสูงเข้าประชุมแต่ไม่ใช่หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่บริหารหรือซีอีโอ โดยประเด็นที่จะหารือกันเน้นไปที่เนื้อหาของโซเชียลมีเดีย การสื่อสารที่ไม่เข้ารหัส และหัวข้ออื่น ๆ ขณะนี้ บริษัทเทคโนโลยีรวมทั้งโซเชียลมีเดีย เช่น ทวิตเตอร์ อิงค์, อัลฟาเบต อิงค์ เจ้าของยูทูบ และเฟซบุ๊ค อิงค์ ต้องเจอแรงกดดันที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อย ๆ ให้จัดการกับการโฆษณาชวนเชื่อออนไลน์จากกลุ่มติดอาวุธ เช่น กลุ่มรัฐอิสลามหรือไอเอสให้มากกว่านี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์โจมตีอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ไปจนถึงเหตุกราดยิงในซานเบอร์นาร์ดิโน…