‘ก่อการร้าย’ แน่นอน!! ตร.อังกฤษยืนยันแล้ว เหตุไล่แทงคนสุดโหดในสวนสาธารณะเมืองเรดดิ้ง

Loading

ตำรวจนิติเวชศาสตร์ เดินอยู่ในสวนสาธารณะฟอร์บิวรี การ์เดนส์ เมืองเรดดิง ทางตอนใต้ของอังกฤษ เมื่อวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) สวนแห่งนี้เป็นที่เกิดเหตุคนร้ายใช้มีดไล่แทงผู้คนในตอนค่ำวันเสาร์ (20) รอยเตอร์ – เหตุไล่แทงผู้คนในสวนสาธารณะที่เมืองเรดดิง ทางตอนใต้ของอังกฤษ ซึ่งมีผู้ถูกสังหารไป 3 คน และได้รับบาดเจ็บต้องนำส่งโรงพยาบาลอีก 3 คน คือพฤติการณ์ก่อการร้าย ตำรวจระบุในวันอาทิตย์ (21 มิ.ย.) พร้อมกับเรียกการโจมตีคราวนี้ว่าโหดเหี้ยมทารุณ พวกพนักงานสืบสวนสอบสวนของตำรวจระบุว่า คนร้ายซึ่งเป็นชายผู้หนึ่งได้วิ่งเข้าไปในสวนสาธารณะแห่งหนึ่งในเมืองเรดดิง ที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงลอนดอนไปทางตะวันตกราว 65 กิโลเมตร ขณะมีชาวท้องถิ่นจำนวนมากกำลังเข้าไปพักผ่อนสังสรรค์ชื่นชมแสงแดดยามค่ำเมื่อวันเสาร์ (20) จากนั้นคนร้ายผู้นี้ก็ใช้มีดไล่ทำร้ายผู้คน ก่อนถูกจับกุมโดยพวกตำรวจที่ไม่มีอาวุธ ตามการแถลงของทางการตำรวจ ชายวัย 25 ปีผู้หนึ่ง ที่มิได้มีการระบุชื่อได้ถูกจับกุม เนื่องจากต้องสงสัยว่ากระทำฆาตกรรม แต่ในเวลาต่อมาก็ถูกจับกุมอีกครั้งตามกฎหมายต่อต้านการก่อการร้าย และเวลานี้บุคคลผู้นี้ยังคงถูกควบคุมตัว อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวด้านความมั่นคงฝ่ายตะวันตกรายหนึ่ง ซึ่งขอให้สงวนนาม ได้บอกกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ชายคนที่ถูกจับผู้นี้เป็นชาวลิเบีย มีชื่อว่า คาอิริ ซาอาดัลเลาะห์ (Khairi Saadallah) ในตอนแรกทั้งตำรวจและรัฐบาลต่างระบุว่า การโจมตีคราวนี้ดูไม่มีลักษณะเป็นการก่อการร้าย อย่างไรก็ดี…

รู้จัก ‘สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี’ หลังถูก ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้ง

Loading

ทำความรู้จักบทบาทหน้าที่ของ “สำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี” ในเมืองพรมแดนเกาหลีเหนือ หลังถูกเปียงยางระเบิดทิ้งในวันนี้ (16 มิ.ย.) ถือเป็น “จุดแตกหัก” ล่าสุดระหว่างสองประเทศที่ขัดแย้งกันมาหลายทศวรรษ กระทรวงรวมชาติของเกาหลีใต้ ซึ่งกำกับดูแลความสัมพันธ์ระหว่างสองเกาหลี แถลงว่า รัฐบาลเกาหลีเหนือทำการระเบิดทิ้งสำนักประสานงานกับเกาหลีใต้ในเมืองแกซอง ซึ่งติดกับพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อเวลา 14.49 น.ของวันอังคาร (16 มิ.ย.) ตามเวลาท้องถิ่น เหตุระเบิดนี้มีขึ้นไม่กี่ชั่วโมงหลังสำนักงานคณะเสนาธิการทหารแห่งกองทัพประชาชนเกาหลี (เคพีเอ) เพิ่มคำขู่ใช้ “มาตรการทางทหาร” ต่อเกาหลีใต้และไม่กี่วันหลัง คิม โย จอง น้องสาวผู้ทรงอำนาจของ คิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดโสมแดง ประกาศว่า อีกไม่นาน จะได้เห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญที่สำนักประสานงานร่วมเกาหลีเหนือ-ใต้อันไร้ประโยชน์นี้ “ราบเป็นหน้ากลอง” อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง: พังราบ! ‘โสมแดง’ บึ้มทิ้งสำนักประสานงานร่วมสองเกาหลี ก่อนถูกเกาหลีเหนือระเบิดทิ้ง สำนักประสานงานร่วมเกาหลีซึ่งก่อตั้งขึ้นในนิคมอุตสาหกรรมแกซอง ทางภาคใต้ของเกาหลีเหนือติดพรมแดนเกาหลีใต้เมื่อวันที่ 14 ก.ย. 2561 ถือเป็นหน่วยงานในการประสานงานด้านต่าง ๆ ระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายไม่ได้มีความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการ คณะผู้แทนจากสองเกาหลีถ่ายรูปร่วมกันในพิธีเปิดสำนักประสานงานร่วม เมื่อปี 2561 สำนักงานแห่งนี้ทำหน้าที่เสมือนเป็น “สถานทูต” ในทางพฤตินัย และยังเป็นช่องทางสื่อสารโดยตรงระหว่างสองเกาหลีด้วย โดยมีผู้แทนของแต่ละฝ่ายดูแลสำนักงานฯร่วมกัน ผู้แทนฝั่งเกาหลีเหนือคือ “จอน จอง-ซู” รองประธานคณะกรรมาธิการรวมชาติอย่างสันติแห่งปิตุภูมิ และฝั่งเกาหลีใต้คือ “ชุน แฮ-ซอง” รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงรวมชาติ ทั้งนี้ การก่อตั้งสำนักประสานงานร่วมเกาหลี ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก “ปฏิญญาปันมุนจอม” ที่ลงนามโดย คิม จอง-อึน ผู้นำสูงสุดเกาหลีเหนือ และ มุน…

เกาหลีเหนือระเบิดสำนักประสานงานร่วมกับเกาหลีใต้ หลังถูกกลุ่มผู้แปรพักตร์เคลื่อนไหวโจมตีจากชายแดน

Loading

  กระทรวงการรวมชาติของเกาหลีใต้บอกว่าระเบิดเกิดขึ้นที่สำนักประสานงานร่วม เมื่อ 14:49 น. ตามเวลาท้องถิ่น ขณะที่ไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านั้น เกาหลีเหนือเพิ่งขู่ว่าจะเริ่มปฏิบัติการทางทหารบริเวณพรมแดน หลังจากความสัมพันธ์ของสองประเทศตึงเครียดขึ้นเรื่อย ๆ มาหลายสัปดาห์ อันมีจุดเริ่มต้นจากการที่กลุ่มผู้แปรพักตร์ในฝั่งเกาหลีใต้ที่เคลื่อนไหวโครงการโฆษณาชวนเชื่อจากพรมแดนข้ามกลับไปในฝั่งเกาหลีเหนือ เกาหลีใต้ระบุผ่านแถลงการณ์ว่าจะตอบโต้อย่างแข็งขันหากเกาหลีเหนือทำให้สถานการณ์แย่ไปกว่านี้อีก และชี้ว่าการทำลายสำนักประสานงานร่วมนี้ “ทำลายความหวังของทุกคนที่อยากจะให้ความสัมพันธ์ของสองชาติเกาหลีพัฒนา และให้มีสันติภาพบนคาบสมุทรเกาหลี” รัฐบาลเกาหลีใต้บอกด้วยว่าเกาหลีเหนือเป็นต้นเหตุของสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแต่เพียงผู้เดียว เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นางคิม โย จอง น้องสาวของนายคิม จอง อึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ เพิ่งออกมาขู่ว่าจะทำลายสำนักงานนี้ ก่อนหน้านี้เคยมีความหวังว่าความสัมพันธ์สองประเทศจะดีขึ้นหลังจากประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ พบกับนายคิมที่ชายแดนเกาหลีเหนือ-ใต้ เมื่อเดือน มิ.ย. ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ก็ไม่ได้ดีขึ้น เกาหลีเหนือกำลังเผชิญกับความยากลำบากหลังถูกสหรัฐฯ และสหประชาชาติคว่ำบาตรเพื่อกดดันไม่ให้พัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่นักวิเคราะห์มองว่าเกาหลีเหนืออาจจะพยายามสร้างวิกฤตเพื่อใช้เป็นเครื่องมือช่วยเจรจาเรื่องอาวุธนิวเคลียร์กับสหรัฐฯ ที่ยังไม่คืบหน้าไปไหน ส่วนสหรัฐฯ นั้นยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุด ลูกบอลลูนและโดรน ในช่วงที่ผ่านมา เกาหลีเหนือมักออกมาประณามเกาหลีใต้ที่อนุญาตให้กลุ่มคนที่แปรพักตร์ ส่งเนื้อหาโฆษณาชวนเชื่อผ่านลูกบอลลูน หรือแม้กระทั่งโดรนที่ลอยเข้าไปยังเกาหลีเหนือ เมื่อวันอังคารที่แล้ว ทางการเกาหลีเหนือได้ประกาศตัดช่องทางติดต่อทางการทั้งหมดกับเกาหลีใต้ และในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา นายคิม จอง อึน ก็ขู่ว่าจะส่งทหารไปยังเขตปลอดทหาร (Demilitarized Zone –…

การต่อต้านข้อมูลบิดเบือน (disinformation): ทางเลือกนโยบายที่เหลืออยู่

Loading

ที่มาภาพ: GLOBSEC Strategic Communication Programme https://counterdisinfo.org/ Written by Kim การรณรงค์ (หาเสียง) ด้วยข้อมูลบิดเบือน (disinformation) สร้างผลกระทบอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่การเปลี่ยนผลการเลือกตั้งไปจนถึงกระตุ้นการก่อความรุนแรง ภาครัฐและเอกชนรวมทั้งรัฐบาลสหรัฐฯและบริษัทสื่อสังคม (social media) เพิ่งเริ่มต้นใช้กลยุทธ์ต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือน ซึ่งนำไปสู่การตอบสนองทีละน้อย ทั้งนี้ การตอบสนองการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ที่มาพร้อมกับ “infodemic”[1] จะต้องพิจารณาอย่างครอบคลุมรวมถึงการใช้กฎหมายใหม่และการคว่ำบาตรตลอดจนขยายทรัพยากรขององค์กร เพื่อจัดการความท้าทายของข้อมูลบิดเบือน อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลไม่ใช่ยาครอบจักรวาล จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ประชาชนจะต้องเสริมสร้างทักษะความรู้ของตัวเองเกี่ยวกับดิจิตอลและสื่อด้วย[2]           การเผยแพร่ข้อมูลบิดเบือนถือเป็นภัยคุกคามเสถียรภาพและสันติภาพระหว่างประเทศ การรณรงค์อย่างซับซ้อนเพื่อสร้างอิทธิพลต่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯในปี 2016 ของรัสเซีย บ่งชี้ถึงการเป็นภัยคุกคามอย่างมีนัยสำคัญ ตัวอย่างจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าทฤษฎีสมคบคิดที่ถูกผลักดันทางออนไลน์ (โลกเสมือนจริง) สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ในโลกกายภาพ ล่าสุดที่ลอสแอนแจลิส วิศวกรรถไฟชื่อ Eduardo Moreno เจตนาทำให้รถไฟตกรางเพื่อขัดขวางความพยายามของรัฐบาลในการต่อสู้กับ COVID-19 โดย Moreno เชื่อว่า เรือโรงพยาบาล (the Mercy) ของกองทัพเรือเป็นส่วนหนึ่งของแผนการยึดครองประเทศของรัฐบาล นอกเหนือจากการปรับใช้ทฤษฎีสมคบคิดและ deepfakes (วิดิโอดัดแปลงด้วยปัญญาประดิษฐ์) เพื่อจัดการความเชื่อของปัจเจกบุคคล บริษัทสื่อสังคมซึ่งเป็นสมรภูมิสำคัญของสงครามข้อมูลบิดเบือนได้ใช้วิธีไม่คงเส้นคงวาในการต่อสู้กับข้อมูลบิดเบือนและ deepfakes โดย Twitter ดำเนินการเชิงรุกด้วยการห้ามโฆษณาทางการเมือง แต่ตัดสินใจติดธง (ไม่ลบ) deepfakes ทางการเมือง ในทางกลับกัน Facebook ประกาศว่าจะไม่ลบโฆษณาทางการเมืองที่ทราบว่าเป็นข้อมูลผิด ปัญหาเหล่านี้ทวีความรุนแรงเมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) เรียกว่า infodemic           รัฐบาลประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯมีนโยบายตอบโต้ข้อมูลบิดเบือนค่อนข้างช้า…

สหรัฐประณามศาลรัสเซียสั่งจำคุกชาวอเมริกันคดีสายลับ

Loading

กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐแสดงความไม่พอใจอย่างหนัก ต่อการที่ศาลของรัสเซียพิพากษาให้อดีตนาวิกโยธินชาวอเมริกันรับโทษจำคุก 16 ปี ในข้อหาจารกรรม และเรียกร้องการปล่อยตัวโดยเร็ว ด้านรัฐบาลมอสโกกล่าวว่า “ไม่ใช่เรื่องการเมือง” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. ว่านายไมค์ ปอมเปโอ รมว.กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงเมื่อวันจันทร์ เพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังศาลแขวงกรุงมอสโกมีคำพิพากษาให้พลเมืองสหรัฐ คือนายพอล วีแลน อดีตนาวิกโยธินวัย 50 ปี รับโทษจำคุกเป็นเวลา 16 ปี ฐานมีความผิดจริงในข้อหาจารกรรมข้อมูลลับด้านความมั่นคงของรัสเซีย ว่าเป็นคำตัดสิน “ที่เลวร้าย” และไม่เป็นธรรมอย่างสิ้นเชิง ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการไต่สวน “ซึ่งเป็นความลับ” และไม่มีการสืบพยานชัดเจน พร้อมทั้งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัววีแลนโดยเร็วที่สุด ขณะที่นายจอห์น ซัลลิแวน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงมอสโก กล่าวว่า “ผิดหวังอย่างมาก” กับคำพิพากษาของศาล “แต่ไม่ใช่เรื่องเหนือความคาดหมายมากนัก” เนื่องจากพอจะคาดการณ์ได้ตั้งแต่ต้นว่ากระบวนการของคดีจะเป็นไปในทิศทางใด ทว่าทิ้งท้ายเป็นนัยว่ารัฐบาลวอชิงตัน “ยินดีเจรจาต่อไป” ด้านนายวลาดิเมียร์ เซเรเบนคอฟ ทนายความของวีแลน ยืนยันจะมีการอุทธรณ์แน่นอน และอ้างการที่ลูกความของตัวเองอาจได้เป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนนักโทษระหว่างสหรัฐกับรัสเซีย ต่อมานายดมิทรี เปสคอฟ โฆษกทำเนียบเครมลิน กล่าวว่าบทลงโทษของวีแลนเป็นไปตามครรลองของกระบวนการยุติธรรม  “ซึ่งมีการพิสูจน์และเป็นที่ยอมรับแล้ว” และยืนยันว่าพลเมืองสหรัฐรายนี้…

ประท้วงเรียกร้องสิทธิคนผิวสีลุกลามทั่วยุโรป!

Loading

Protest against police brutality and the death in Minneapolis police custody of George Floyd, in Nantes ตำรวจปราบจลาจลในหลายประเทศของยุโรปยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุมในหลายเมืองของยุโรปในสุดสัปดาห์ ที่ออกมาเรียกร้องสิทธิให้กับคนผิวสีเช่นเดียวกับการประท้วงในอเมริกา ที่กรุงปารีส บรรดาผู้ประท้วงรวมตัวกันที่ Place de la Republique พร้อมตะโกนคำว่า “ไม่มีความยุติธรรม ไม่มีความสงบ” และเกิดการปะทะกันกับตำรวจหลังจากการประท้วงอย่างสงบผ่านไปราวสามชั่วโมง การเสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ ชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกันที่ถูกตำรวจใช้เข่ากดคอไว้จนเสียชีวิตเมื่อเดือนที่แล้ว ทำให้ชาวฝรั่งเศสจำนวนมากลุกขึ้นเพื่อต่อต้านการปฏิบัติอย่างไม่ยุติธรรมต่อประชาชนผิวสีในฝรั่งเศสเช่นกัน ส่วนที่เมืองมาร์กเซย์ล มีรายงานผู้ประท้วงจุดไฟเผาถังขยะและขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจ และที่กรุงลอนดอน อังกฤษ เกิดการปะทะกันระหว่างผู้เดินขบวนสองกลุ่มคือกลุ่มเรียกร้องสิทธิคนผิวสีกับกลุ่มขวาจัด บริเวณสถานีรถไฟวอเตอร์ลู มีการจุดดอกไม้เพลิง และขว้างปาก้อนหินใส่ตำรวจในหลายพื้นที่ นายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน ทวีตข้อความประณามการก่อความรุนแรงตามท้องถนน และระบุว่าใครก็ตามที่ทำร้ายตำรวจจะต้องเผชิญกับการปราบปรามตามกฎหมาย ตำรวจอังกฤษแถลงว่าได้จับกุมผู้ประท้วง 5 คนที่ก่อเหตุรุนแรงและทำร้ายตำรวจ และมีตำรวจได้รับบาดเจ็บ 6 ราย กลุ่มอนุรักษ์นิยมขวาจัด ระบุว่าพวกตนพยายามปกป้องวัฒนธรรมของอังกฤษ โดยเฉพาะอนุสาวรีย์ต่าง ๆ…