นักการทูตจีนถูกจับกุมลงโทษ หลังมีปัญหาชู้สาวและขายความลับให้ต่างชาติ

Loading

(ภาพถ่ายจากคลิปโทรทัศน์ซีซีทีวี) By KG Chan07/11/2019 รายงานของสถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของทางการจีน (ซีซีทีวี) เปิดเผยว่ามีผู้ปฏิบัติงานรายหนึ่งถูกจับกุมและถูกศาลตัดสินประหารชีวิต ภายหลังมีปัญหาชู้สาวและส่งเอกสารลับจำนวนมากให้พวกสายลับต่างชาติ นักการทูตจีนระดับอาวุโสผู้หนึ่ง ซึ่งขณะรับตำแหน่งประจำการอยู่ในต่างประเทศ ได้ใช้ชีวิตแบบเพลย์บอย , เป็นพ่อของเด็ก 2 คนที่เกิดนอกสมรส, และมีความสัมพันธ์ชู้สาวกับพวกสายลับต่างชาติ ได้ถูกส่งตัวขึ้นพิจารณาคดีในศาลด้วยข้อหาทำความลับระดับท็อปซีเครตของรัฐรั่วไหล ผู้ปฏิบัติงานชาวจีนแซ่จางผู้นี้ ซึ่งกล่าวกันว่าทำงานอยู่ในกระทรวงที่รับผิดชอบด้านเทคโนโลยี ถูกส่งตัวฟ้องร้องต่อศาลด้วยข้อหาฉกรรจ์ๆ เกี่ยวกับการทำให้ความลับระดับสูงของรัฐจำนวนมากรั่วไหลไปถึงเหล่าสปายสายลับต่างชาติ และในที่สุดก็ถูกศาลตัดสินลงโทษประหารชีวิตแต่ให้พักโทษนี้เอาไว้ก่อนเป็นเวลา 2 ปีเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สถานีโทรทัศน์ส่วนกลางของจีน (China Central Television หรือ ซีซีทีวี) ได้เปิดเผย “โทษกรรมแห่งการหาประโยชน์ใส่ตัวอย่างเลวร้ายและการทรยศต่อประเทศชาติ” ของบุคคลผู้นี้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ในรายการที่มุ่งประจานการกระทำความผิดอันร้ายแรง ซึ่งออกอากาศช่วงไพรม์ไทม์ตอนกลางคืน จุดมุ่งหมายของรายการดังกล่าวนี้ อยู่ที่การมุ่งเตือนบรรดาเจ้าหน้าที่และประชาชนให้ตระหนักตื่นรู้ว่า ประเทศจีนยังคง “คลาคล่ำด้วยพวกสายลับต่างชาติ” รวมทั้งผู้ที่ได้รับตำแหน่งไปประจำในต่างแดนก็จะต้องคอยระแวดระวังการที่อาจถูกยั่วยวนล่อลวงและถูกกระตุ้นยั่วยุ สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำกรุงฮานอย (ภาพจากสื่อสังคม “วีแชต” ) ซีซีทีวีไม่ได้เอ่ยว่าจางไปประจำปฏิบัติหน้าที่ยังประเทศใด แต่มีผู้โพสต์ข้อความซึ่งไม่ได้มีการตรวจสอบยืนยันแต่เผยแพร่ไปทางสื่อสังคมจีนอย่าง “วีแชต” และ “เว่ยปั๋ว” ระบุว่า เขากระทำการทรยศชาติขณะทำงานอยู่ในเวียดนาม ยังมีการกล่าวอ้างกันด้วยว่า ลูกนอกสมรสไม่ถูกต้องตามกฎหมายของเขาได้ถูกใช้เป็นตัวประกันเพื่อบังคับให้เขาคอยป้อนความลับต่างๆ เพิ่มมากขึ้นอีก…

ชาวคาตาลันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน

Loading

ชาวคาตาลันนับพันชุมนุมประท้วงราชวงศ์สเปน เผาพระฉายาลักษณ์กษัตริย์เฟลิเปที่ 6 เหตุไม่พอใจประเด็นเอกราชแคว้นคาตาลัน สำนักข่าว El PAIS สื่อท้องถิ่นสเปนรายงานเมื่อวันที่ 5 พ.ย.ที่ผ่านมา ว่าชาวบาร์เซโลน่าจำนวนหลายพันคนได้ชุมนุมประท้วงต่อต้านราชวงศ์สเปน จากการที่สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 พร้อมด้วยสมเด็จพระราชินีเลติเซีย เจ้าหญิงเลโอนอร์ เจ้าหญิงแห่งอัสตูเรียส และเจ้าหญิงโซเฟีย เสด็จพระราชดำเนินไปยังนครบาร์เซโลน่า ในการพระราชทานรางวัล Princess of Girona Awards รายงานระบุว่าผู้ชุมนุมซึ่งเป็นชาวคาตาลันได้รวมตัวกันอย่างน้อย 3 กลุ่มเดินขบวนไปตามถนนทั่วนครบาเซโลนา ได้มีการเผาพระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 รวมถึงพร้อมใจชูป้ายข้อความประท้วงสถาบันกษัตริย์ของสเปน และมีการเผาธงชาติสเปน การเดินขบวนครั้งนี้นับเป็นการสืบเนื่องจากความไม่พอใจต่อราชวงศ์สเปนและรัฐบาลมาดริด จากกรณีความพยาลงประชามติแบ่งแยกแคว้นคาตาลันออกเป็นเอกราชเมื่อปี 2017 จนส่งผลให้เกิดความวุ่นวายทางการเมืองกระทั่งนำไปสู่การที่รัฐบาลมาดริดต้องใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญเข้าควบคุมการเมืองของแคว้นคาตาลัน ความไม่พอใจของชาวคาตาลันยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นจากการที่เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม สมเด็จพระราชาธิบดีเฟลิเปที่ 6 ทรงมีพระราชดำรัสต่อเหตุการณ์ในคาตาลันว่า การลงประชามติเอกราชของคาตาลันไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ อีกทั้งเป็นการละเมิดต่อหลักประชาธิปไตยและความเป็นเอกภาพของประเทศ พระบรมราชดำรัสดังกล่าวนั้นทำให้ชาวคาตาลันยิ่งมองว่าราชวงศ์สเปนไม่แยแสต่อข้อเรียกร้องของพวกเขา และยิ่งทำให้มีการต่อต้านราชวงศ์สเปนในแคว้นคาตาลันมากขึ้น Ernest Maragall แกนนำกลุ่มสนับสนุนสาธารณรัฐคาตาลันกล่าวว่า “ที่เราชุมนุมวันนี้ เพราะเราต้องการคาตาลันที่เป็นสาธารณรัฐ เพราะนั่นคือประชาธิปไตยที่แท้จริงของชาวคาตาลัน กษัตริย์และสถาบันกษัตริย์ไม่มีค่าใดๆในสายตาเราอีกแล้ว” ด้านผู้สนับสนุนการประท้วง โดยเฉพาะผู้นำกลุ่มสาธารณรัฐคาตาลันนิยมฝ่ายซ้าย เอร์เนสต์ มารากัลล์…

สหรัฐฯ ตั้งข้อหาอดีตพนง.ทวิตเตอร์ฐานเป็น ‘สายลับ’ ให้ราชวงศ์ซาอุฯ

Loading

เอเจนซีส์ – กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศดำเนินคดีอาญากับอดีตพนักงานทวิตเตอร์ 2 คน และผู้ต้องหารายที่ 3 ฐานทำงานเป็น “สายลับ” ให้ซาอุดีอาระเบีย โดยมีการเจาะข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ทวิตเตอร์ส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ซาอุฯ เพื่อแลกกับค่าตอบแทน เอกสารคำฟ้องที่ยื่นต่อศาลแขวงซานฟรานซิสโกวานนี้ (6 พ.ย.) ระบุว่า อาลี อัลซาบาเราะห์ (Ali Alzabarah) และ อะหมัด อบูอัมโม (Ahmad Abouammo) ซึ่งเป็นอดีตพนักงานทวิตเตอร์ และ อาเหม็ด อัลมูไตรี (Ahmed Almutairi) ซึ่งทำงานให้ราชวงศ์ซาอุฯ ถูกตั้งข้อหาจารกรรมข้อมูลให้กับรัฐบาลริยาดโดยไม่ได้ขึ้นทะเบียนสายลับต่างชาติ อบูอัมโม ได้เจาะบัญชีทวิตเตอร์ของผู้วิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯ คนหนึ่งหลายครั้งเมื่อช่วงต้นปี 2015 โดยมีอยู่ครั้งหนึ่งที่เขาเข้าไปดูอีเมลแอดเดรสและเบอร์โทรศัพท์ของผู้ใช้คนดังกล่าว นอกจากนี้ยังทำการเจาะบัญชีของผู้โพสต์ข้อความวิจารณ์ราชวงศ์ซาอุฯ รายที่ 2 เพื่อสืบว่าบุคคลดังกล่าวเป็นใคร “ข้อมูลดังกล่าวอาจถูกนำไปใช้เพื่อระบุตัวตนและที่อยู่ของผู้ใช้ทวิตเตอร์ซึ่งโพสต์ข้อความเหล่านี้” กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ระบุ เอกสารคำฟ้องระบุว่า ผู้ต้องหาทั้ง 3 คนได้รับการชี้นำจากเจ้าหน้าที่ซาอุฯ คนหนึ่ง และเจ้าหน้าที่คนนี้ทำงานให้กับ ‘สมาชิกราชวงศ์หมายเลข 1’ ซึ่งหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์รานงานว่าหมายถึง…

ชิลีจำใจถอนตัวเจ้าภาพประชุม APEC หลังเกิดเหตุประท้วงรุนแรงในประเทศ

Loading

ชิลี – ชิลีประกาศในวันพุธ (30 ต.ค.) ขอถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพการประชุมซัมมิตนานาชาติสำคัญ 2 รายการ ประกอบด้วยเอเปกและการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่พวกเขากำลังพยายามคืนความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง ท่ามกลางเหตุปะทะระหว่างพวกผู้ประท้วงกับกองกำลังด้านความมั่นคงที่คร่าชีวิตแล้วอย่างน้อย 20 ศพ เซบาสเตียน พิเนรา ประธานาธิบดีชิลีระบุว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่ต้องตัดสินใจถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพประชุมซัมมิตความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) และการประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 25 (COP25) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์แห่งสหรัฐฯบอกว่าเขามีแผนพบปะกับ สี จิ้นผิง ผู้นำจีน เพื่อหาทางลงเอยข้อตกลงการค้า “เฟส1” ระหว่างร่วมประชุมเอเปกในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนนี้ ในขณะที่มันจะช่วยยุติสงครามการค้าระหว่างสองชาติเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ที่สุดของโลกที่ยืดเยื้อมานานกว่า 18 เดือนลงบางส่วน อย่างไรก็ตามหลังการประท้วงบนท้องถนนที่ยืดเยื้อมา 10 วันและลุกลามบานปลายเข้าสู่ความรุนแรง พิเนรายอมรับว่าชิลีไม่อยู่ในฐานะที่จำเป็นเจ้าภาพได้ ทั้งการประชุมเอเปกและ COP25 ซึ่งกำหนดไว้ในวันที่ 2-13 ธันวาคม “มันเป็นการตัดสินใจที่ยากลำบากอย่างยิ่ง มันเป็นการตัดสินใจที่เจ็บปวดอย่างสาหัส เพราะเรารู้ว่าการประชุมเอเปกและ COP มีความสำคัญกับชิลีและกับโลกใบนี้มากแค่ไหน” เขากล่าว อย่างไรก็ตามพิเนราบอกว่ามันเป็นสามัญสำนึกที่เขาต้องตระหนักว่าเขามีเรื่องสำคัญอื่นๆให้ดำเนินการ “เมื่อพ่อของคุณมีปัญหา ประเด็นครอบครัวต้องมาก่อนทางเลือกอื่นๆเสมอ เช่นเดียวกับผู้เป็นประธานาธิบดี เขาต้องให้ความสำคัญกับเพื่อนร่วมชาติก่อนเสมอ ก่อนจะไปคำนึงถึงเรื่องอื่นๆ” เขากล่าว…

กลุ่มรัฐอิสลามจะทำอย่างไรต่อไป หลังขาดผู้นำ

Loading

ภายใต้การนำของอาบู บาการ์ อัล-บักห์ดาดี กลุ่มรัฐอิสลาม (Islamic State–IS) ที่นิยมใช้ความรุนแรงแบบสุดโต่ง ได้พัฒนาจากกลุ่มก่อความไม่สงบ กลายเป็นกลุ่มติดอาวุธที่น่าหวาดกลัวและยากที่จะกำราบมากที่สุดในโลก ไอเอส ได้ขยายอิทธิพลข้ามทวีปจากแอฟริกาไปจนถึงออสเตรเลีย แต่หลังจากการเสียชีวิตของหัวหน้ากลุ่ม ไอเอส จะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ อย่างไร รีบหาผู้สืบทอดตำแหน่ง ผู้นำไอเอสคนอื่น ๆ คงคิดไว้นานแล้วว่า วันนี้จะมาถึง ทางกลุ่มคงต้องการแสดงให้เห็นถึงพลังของตัวเอง และส่งสัญญาณต่อบรรดาสาวกว่า “ไอเอสยังอยู่” แม้ว่า เสียศูนย์ไปบ้างจากการสูญเสียผู้นำคนสำคัญ คณะกรรมการชูรา ซึ่งประกอบด้วยผู้นำอาวุโสที่เป็นผู้ชายทั้งหมด คงพิจารณาบุคคลที่เหมาะสมจำนวนหนึ่งไว้แล้ว คุณสมบัติแรกที่ผู้นำกลุ่มไอเอสจะต้องมีก็คือ การภักดีต่อไอเอสอย่างไร้ข้อสงสัย มีความสามารถในการวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ที่ผ่านการพิสูจน์แล้ว มีประวัติทางด้านศาสนาที่สมบูรณ์แบบ มีประสบการณ์ในการสู้รบมาบ้าง และบางทีอาจจะเป็นที่เลื่องลือในการสั่งลงโทษที่โหดเหี้ยมด้วย ไอเอสเกิดจากการรวมตัวกันที่แปลกประหลาดระหว่างนักรบญิฮาดที่สุดโต่ง กับอดีตสมาชิกกองทัพและหน่วยข่าวกรองที่รู้จักกันในชื่อ บาทิสต์ส (Baathists) ของนายซัดดัม ฮุสเซน อดีตผู้นำอิรัก บาทิสต์สรับผิดชอบเรื่องการจัดหาอาวุธ วัตถุระเบิด สนับสนุนงานด้านข่าวกรองและการวางแผน เพราะไม่มีใครรู้จักอิรักดีไปกว่าพวกเขา ขณะที่บรรดานักรบญิฮาดจะก่อเหตุที่บ้าคลั่งและจัดหาอาสาสมัครมือระเบิดฆ่าตัวตาย ผู้ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากบักห์ดาดี น่าจะเป็นคนที่มีสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทั้งสองข้างของสมการนี้ ไอเอสน่าจะรู้สึกเจ็บปวดกับการสูญเสียบักห์ดาดีไปสักพักหนึ่ง ตอนที่นักรบญิฮาดทั่วโลกประกาศสวามิภักดิ์ต่อไอเอส ก็ถือว่าพวกเขาสวามิภักดิ์ต่อบักห์ดาดีด้วย และเรียกเขาว่า “กาหลิบอิบราฮิม” (Caliph Ibrahim)…

ชะตากรรม ‘กลุ่มไอซิส’ หลังการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุด

Loading

สหรัฐฯ ยืนยันว่าจะไม่มีการฟื้นกำลังของกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ISIS ขึ้นมาอีก หลังการเสียชีวิตของนายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์หลายคนเตือนว่า กลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลระดับผู้นำเพียงไม่กี่คน นายอาบู อัคร์ อัล-แบกห์ดาดี เริ่มบทบาทในฐานะผู้นำสาขาย่อยของกลุ่มอัล-ไคยด้า ในอิรัก เมื่อปี ค.ศ.2010 ก่อนที่จะปรับเปลี่ยนสถานะของกลุ่มก่อการร้ายนี้ให้กลายเป็นกลุ่มรัฐอิสลาม หรือ ไอซิส ที่อยู่เบื้องหลังการโจมตีในหลายเมืองทั่วโลกในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ปลายปี 2015 ในช่วงที่กลุ่มไอซิสกำลังมีอำนาจมากที่สุด กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐฯ พยายามที่จะสกัดกั้นการขยายพื้นที่การครอบครองของไอซิส โดยใช้การโจมตีทางอากาศสังหารนักรบระดับนำของกลุ่มไอซิสเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยสองวันต่อหนึ่งคน ในเวลานั้น เจ้าหน้าที่อเมริกันระบุว่ายุทธวิธีการโจมตีทางอากาศของสหรัฐฯ ได้สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวงต่อกลุ่มรัฐอิสลาม แต่ปฏิบัติการของกลุ่มไอซิสก็ยังคงดำเนินไปอย่างต่อเนื่องอีกหลายปี เนื่องจากกลุ่มไอซิสถูกสร้างขึ้นมาโดยไม่มีผู้นำคนใดคนหนึ่งเป็นศูนย์กลาง ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มอัล-ไคยด้า ในยุคของอุสซาม่า บิน ลาเดน สำหรับในครั้งนี้ เจมส์ แคลปเปอร์ อดีตผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ กล่าวกับวีโอเอว่า แม้การเสียชีวิตของนายแบกห์ดาดี ถือเป็นความสูญเสียครั้งใหญ่ของกลุ่มรัฐอิสลาม เนื่องจากเขาคือสัญลักษณ์สำคัญของไอซิส แต่ตนเชื่อว่านั่นยังไม่เพียงพอจะทำให้กลุ่มไอซิสล่มสลาย เพราะบรรดาผู้นำของกลุ่มนี้ถูกฝึกมาเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่มีผู้นำสูงสุดอยู่แล้ว ด้านคุณไมเคิล โฮโรวิทซ์ นักวิเคราะห์ด้านการก่อการร้ายขององค์กรที่ปรึกษา Le Beck ชี้ว่า ปกติแล้วการเสียชีวิตของผู้นำสูงสุดของกลุ่มก่อการร้ายกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง…