รัสเซียกล่าวหานักการทูตสหราชอาณาจักรเป็นสายลับ เตรียมขับออกนอกประเทศ

Loading

หน่วยงานความมั่นคงของรัสเซีย หรือ FSB ออกประกาศในวันนี้ (13 ก.ย.67) กล่าวหาเจ้าหน้าที่การทูตสหราชอาณาจักร 6 คนว่ามีพฤติกรรมสอดแนม รวบรวมข่าวกรองและดำเนินกิจกรรมก่อการร้ายกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย จึงให้เพิกถอนการรับรองสถานะทางการทูตและเตรียมขับออกนอกประเทศ

กู้ระทึก! วัตถุต้องสงสัยกลางปัตตานี – รวบแก๊งโจมตีฐาน ชคต.

Loading

ในช่วงใกล้จะครบรอบ 20 ปี เหตุการณ์ตากใบ ท่ามกลางการคุมเข้มของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ก็ยังคงพบความพยายามสร้างสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จากกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง

‘สุทิน-รมว.กลาโหม’ ร่วมเวทีวิชาการ ม.รังสิต เผยภัยคุกคามใหม่ 9 ด้าน

Loading

นายสุทิน คลังแสง สะท้อนมุมมองว่า ได้เดินทางไปพบบุคคลต่าง ๆ เพื่อหาความรู้จากหลายที่ ก่อนรับตำแหน่ง โดยหนักใจว่านิยามความมั่นคงของแต่ละฝ่ายจะตรงกันหรือไม่ และได้ไปรับฟังข้อมูลจากสภาความมั่นคงระบุว่า นิยามความมั่นคงคือต่อสู้ภัยคุกคามใหม่ 9 ด้าน

หลักยุทธศาสตร์ความมั่นคงเยอรมนีในบริบทโลก

Loading

ภาพ: The EURO FIGHTER 2000 (Typhoon) เครดิตภาพ: https://www.nationalesicherheitsstrategie.de/National-Security-Strategy-EN.pdf   มิถุนายน 2023 รัฐบาลโอลาฟ โชลซ์ (Olaf Scholz) ออกยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกในชื่อ National Security Strategy 2023 ไม่น่าจะถูกต้องถ้าบอกว่าเยอรมนีไม่เคยมียุทธศาสตร์ เพียงแต่ครั้งนี้ตั้งชุดทำงานใหม่ ฉบับที่นำเสนอต่อสาธารณะมีสาระสำคัญดังนี้   เยอรมนีในบริบทยุโรปและโลก:   เยอรมนีมองความมั่นคงในกรอบกว้างครอบคลุมทุกด้าน ปกป้องสงคราม เหตุรุนแรง อยู่อย่างเสรีในระเบียบเสรีประชาธิปไตยของพวกเรา ปกป้องทรัพยากรต่างๆ ที่จำต้องมี ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยความพยายามของทั้งสังคม   รัฐบาลมุ่งมั่นให้อยู่ในสถานการณ์เช่นว่านี้ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติฉบับแรกนำเสนอภัยคุกคามภายนอกเป็นหลัก โดยตระหนักว่าความมั่นคงภายนอกกับภายในแยกกันไม่ออก มั่นใจว่าจะสามารถรักษาความมั่นคงได้ ปกป้องทั้งตัวเองกับพันธมิตร สังคมกับเศรษฐกิจจะต้องยืดหยุ่น ปรับตัว และเข้มแข็ง เพื่อเสริมสร้างสันติภาพโลกที่ยุโรปเป็นหนึ่งเดียว สร้างระเบียบโลกเสรีที่เคารพกฎหมายระหว่างประเทศ ยึดถือกฎบัตรสหประชาชาติ อธิปไตยของแต่ละประเทศเท่าเทียม ต้านการคุกคาม การใช้กำลัง ปกป้องสิทธิของทุกหมู่เหล่าที่จะตัดสินใจด้วยตัวเอง ยึดสิทธิมนุษยชนสากล ให้มั่นใจว่าสามารถรักษาได้ตลอดไป   คุณค่ากับผลประโยชน์ของเรา:   สังคมของเราตั้งอยู่บนรากฐานคุณค่าที่เรายึดถือ…

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…

ญี่ปุ่นปรับกระบวนยุทธ์อย่างสำคัญ

Loading

      ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่เริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก ก่อนจะถูกโจมตีด้วยระเบิดปรมาณู 2 ลูก โดยสหรัฐอเมริกา ซึ่งทำให้พ่ายแพ้สงครามในที่สุด ด้วยเหตุนี้ ญี่ปุ่นจึงมีกฎหมายรัฐธรรมนูญที่ห้ามมิให้ญี่ปุ่นมีกองทัพทหารเยี่ยงประเทศอื่นใด แต่อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นยังสามารถมีกองกำลังป้องกันตนเองได้ (Self-defense force) โดยจะต้องปฏิบัติการแค่ภายในอาณาบริเวณ หรือน่านน้ำและน่านอากาศ และบนภาคพื้นดินภายในเขตดินแดนของตนเองเท่านั้น   ญี่ปุ่นจึงตกในสภาพที่อยู่ใต้อาณัติของสหรัฐอเมริกา ผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยปริยาย เพราะสหรัฐฯ ได้ตั้งฐานทัพ และกองกำลังอยู่ในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีนัยของการควบคุมญี่ปุ่นให้อยู่ในร่องในรอยและในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ก็อ้างตนว่าเป็นผู้ปกป้องคุ้มครองญี่ปุ่นจากภยันตรายจากภายนอกประเทศด้วย จึงจัดได้ว่าญี่ปุ่นและสหรัฐฯ เป็นพันธมิตรทางด้านการทหารและความมั่นคงอย่างเหนียวแน่น   จริงอยู่ที่ญี่ปุ่นรู้สึกว่ามีความมั่นคงปลอดภัย ก็เพราะมีสหรัฐฯ คอยเป็นโล่ และผู้ปกป้องคุ้มครองภัยให้ แต่ในระยะหลังๆ สหรัฐฯ ที่ทำตนเป็นเสมือนตำรวจโลก ได้มีภารกิจที่หลากหลายไปทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันก็พยายามเรียกร้องให้ประเทศพันธมิตรต่างๆ มาร่วมแบกภาระ แทนการพึ่งพาจากสหรัฐฯ อย่างเดียวแบบแต่ก่อน และยังขอให้ร่วมมือช่วยเหลือสหรัฐฯ ในโอกาสสำคัญที่จำเป็น ด้วยการร้องให้ประเทศพันธมิตรจัดเพิ่มงบประมาณทางทหาร เสริมสร้างความทันสมัยของอาวุธยุทโธปกรณ์ และการขยายและพัฒนากำลังพล อีกทั้งภยันตรายต่อความมั่นคงปลอดภัยของโลก ก็มีรูปแบบขึ้นมาใหม่ เช่น การก่อการร้ายสากล และการบ่อนทำลายซึ่งกันและกันทางด้านระบบการสื่อสารทางอวกาศ…