เจอช่องโหว่ AirTag เพิ่มความเสี่ยง แฮกเกอร์ขโมย Apple ID ได้

Loading

  AirTag เป็นอุปกรณ์ติดตามของหายที่ Apple พึ่งเปิดตัวเมื่อประมาณต้นปีนี้ครับ มันมีเทคโนโลยีที่สามารถส่งคลื่นระยะไกลเพื่อบอกว่าตัวมันอยู่ไหน เพื่อให้เราไว้ใช้หาของที่หายไป และก็หลายก็เอาไปประยุกต์ใช้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ติดกระเป๋าสตางค์ พวงกุญแจ หรือกระทั่งติดไว้กับจักรยานกันขโมยครับ   แต่ตอนนี้ เหมือน AirTag จะมีช่องโหว่ที่ช่วยให้แฮกเกอร์ขโมย Apple ID โดยใช้ AirTag ได้ และช่องโหวนี้ก็ยังไม่ได้รับการแก้ไขแม้ Apple จะอัปเดต iOS15 แล้วก็ตาม รูปแบบการขโมย Apple ID ก็คือ หากมีคนทำ AirTag ตกหายที่ใดที่หนึ่งแล้วมีคนเก็บได้ ถ้าหากคน ๆ นั้นเป็นแฮกเกอร์เขาจะใช้เครื่องมือที่หาซื้อได้ทั่วไปรีบแก้สคริปภายในให้ไวที่สุด จากนั้นก็ปล่อยใครสักคนนึงมาเจอมัน หรือไม่แฮกเกอร์ก็อาจจะเป็นเจ้าของ AirTag นั้นเอง เมื่อผู้ใช้ iPhone มาพบเจอ AirTag ที่หล่นอยู่ เขาอาจมีความคิดจะนำมันไปคืนเจ้าของโดยการเชื่อมต่อกับ iPhone ของตัวเอง ซึ่งจะทำให้ iPhone เปิดหน้าเว็บที่ found.apple.com สำหรับอุปกรณ์ที่สูญหายโดยเฉพาะ และมันจะแสดงรายละเอียดของเจ้าของขึ้นมา…

เยอรมนีเข้าสืบสวนมือถือจีนในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  โฆษกสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศของรัฐบาลกลาง (Federal Office for Information Security – BSI) ในสังกัดกระทรวงกิจการภายในของเยอรมนียืนยันว่าได้มีการเริ่มสืบสวนมือถือจีนหลายแบรนด์เกี่ยวกับปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การสืบสวนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้เผยผลการศึกษาที่พบเครื่องมือกรองและปิดกั้นคำที่เกี่ยวกับการเมืองจีนในมือถือ Xiaomi และยังได้แนะนำให้ประชาชนโยนมือถือจีนทิ้งไปทั้งหมด ซึ่งล่าสุดทาง Xiaomi ได้ออกมาปฏิเสธแล้ว ที่มา POLITICO   —————————————————————————————————————————————— ที่มา : Beartai      / วันที่เผยแพร่   26 ก.ย.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/793386

5 วิธีช้อปออนไลน์ให้ปลอดภัย หลังพบโทรจันซุ่มโจมตีเพิ่มขึ้น

Loading

  แคสเปอร์สกี้ บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ได้เปิดเผยรายงานการตรวจพบและบล็อกภัยคุกคามโมบายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2021 พบปริมาณความพยายามโจมตีเพิ่มขึ้นสูงถึง 60% โดยการใช้โทรจันที่เป็นอันตราย อาชญากรไซเบอร์จะใช้โทรจันโมบายแบ้งกิ้ง (mobile banking trojan) หรือเรียกว่า “แบงก์เกอร์” (banker) ในการขโมยเงินโดยตรงจากบัญชีธนาคารบนโมบายดีไวซ์ โปรแกรมที่เป็นอันตรายประเภทนี้มักจะมีหน้าตาที่ดูเหมือนแอปทางการเงินที่ถูกต้อง แต่เมื่อเหยื่อป้อนข้อมูลเพื่อเข้าใช้งานบัญชีธนาคาร ผู้โจมตีจะสามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวนั้นได้ ตั้งแต่ต้นปี 2021 ผลิตภัณฑ์ของแคสเปอร์สกี้สามารถสกัดความพยายามโจมตีจำนวน 708 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหกประเทศ ซึ่งคิดเป็น 50% ของจำนวนความพยายามโจมตีที่แคสเปอร์สกี้สกัดได้ในปี 2020 ทั้งปี ซึ่งก็คือ 1,408 รายการ อินโดนีเซียและเวียดนามมีตัวเลขสูงที่สุดในช่วงครึ่งปีแรกของภูมิภาคนี้ โดยอินโดนีเซียอยู่ในอันดับที่ 31 ส่วนเวียดนามอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก     ประเทศที่มีการตรวจจับโทรจันโมบายแบ้งกิ้งมากที่สุดในไตรมาสที่ 2 ปี 2021 ได้แก่ รัสเซีย ญี่ปุ่น ตุรกี เยอรมนี และฝรั่งเศส จำนวนการบล็อกความพยายามโจมตีของโทรจันโมบายแบ้งกิ้งต่อผู้ใช้โซลูชั่นความปลอดภัยโมบายของแคสเปอร์สกี้ ถึงแม้จำนวนการโจมตีโทรจันโมบายแบ้งกิ้งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะไม่สูงมาก…