เกาหลีใต้สั่งปรับ Google และ Meta เป็นเงิน 100,000 ล้านวอนจากการละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว!

Loading

  คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของเกาหลีใต้สั่งปรับ Google และ Meta รวมเป็นเงิน 100,000 ล้านวอน (ราว 2,600 ล้านบาท) เนื่องจากทั้ง 2 บริษัทได้ละเมิดกฎหมายความเป็นส่วนตัว โดยนี่เป็นค่าปรับที่ใหญ่ที่สุดของเกาหลีใต้จนถึงปัจจุบัน และเป็นครั้งแรกที่มีการปรับจากพฤติกรรมการใช้ข้อมูลเพื่อการโฆษณาเฉพาะบุคคล (customized advertising)   Google ถูกปรับมากกว่า Meta ด้วยจำนวนเงิน 69,200 ล้านวอน (ประมาณ 1,800 ล้านบาท) ในขณะที่ Meta ถูกปรับ 30,800 ล้านวอน (ประมาณ 800 ล้านบาท) โดยทั้ง 2 บริษัทถูกปรับในข้อหาที่ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ก่อนที่จะเก็บข้อมูลผ่านเว็บไซต์บุคคลที่ 3 และแอปบุคคลที่ 3   คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า Google ไม่ได้แจ้งผู้ใช้อย่างถูกต้องว่าจะมีการเก็บและใช้ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้ รวมถึงได้ลงโทษ Google จากการตั้งค่าตัวเลือกเริ่มต้นเป็น ‘ยินยอม’ ในขณะที่แอบซ่อนตัวเลือกอื่น ๆ ภายใต้ปุ่ม ‘More options’…

TikTok ย้ายข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐฯ ไว้ที่ Oracle คลายกังวลการเข้าถึงข้อมูลโดยรัฐบาลจีน

Loading

  ติ๊กต๊อก (TikTok) ประกาศย้ายข้อมูลผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกา ไปเก็บไว้ภายใต้การดูแลของออราเคิล (Oracle) ภายหลังเกิดประเด็นความกังวลว่า รัฐบาลจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานและความเป็นส่วนตัวในสหรัฐฯ   ตามรายงานก่อนหน้านี้ของสำนักข่าวบัซฟีด ระบุว่า พนักงานไบต์แดนซ์ (ByteDance) ในประเทศจีน สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานติ๊กต๊อกในสหรัฐอเมริกาได้   ล่าสุด ได้เกิดความเคลื่อนไหวครั้งใหม่ของติ๊กต๊อก โดยจะมีการย้ายสถานที่เก็บข้อมูลของผู้ใช้งานในสหรัฐอเมริกาทั้งหมดไปไว้ที่บริการของออราเคิล ภายใต้วัตถุประสงค์หลักเพื่อบรรเทาความกังวลและความปลอดภัยจากการที่ติ๊กต๊อกเป็นบริการที่มาจากประเทศจีน   ในความเป็นจริง ควรต้องกล่าวว่า มีพนักงานที่ดำรงตำแหน่งวิศวกรในไบต์แดนซ์ ซึ่งอยู่ในประเทศจีนบางส่วน สามารถเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งานที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาได้ แต่จากกรณีที่เกิดขึ้น จึงทำให้ติ๊กต๊อกจำเป็นต้องจำกัดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล พร้อมกับลดจำนวนคนที่สามารถเข้าสู่ระบบนี้ได้   อย่างไรก็ตาม ติ๊กต๊อก ยืนกรานว่า ที่ผ่านมาพวกเขาไม่เคยให้ข้อมูลผู้ใช้งานที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาแก่เจ้าหน้าที่ทางการของประเทศจีน และเมื่อมีการร้องขอก็จะถูกปฏิเสธทุกครั้งไป   พร้อมกันนี้ ติ๊กต๊อก บอกอีกด้วยว่า ในระบบความมั่นคงทางไซเบอร์ของติ๊กต๊อกมีผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยระดับโลกมาช่วยเสริมความแข็งแกร่งอย่างเข้มข้น เนื่องจากติ๊กต๊อกเป็นผู้ให้บริการด้านความบันเทิงที่ถูกจับจ้องเป็นอย่างมากอยู่แล้ว เพื่อขจัดทุกข้อสงสัยจึงมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนมากที่สุด   ตัวแทนของติ๊กต๊อกยืนยันต่อไปอีกด้วยว่า ทุกวันนี้ 100 เปอร์เซ็นต์ของทราฟฟิกการใช้งานในสหรัฐอเมริกา ทั้งหมดล้วนถูกส่งตรงไปยัง Oracle Cloud Infrastructure นอกจากนี้ ทั้งออราเคิล และติ๊กต๊อก…

ผู้นำฟิลิปปินส์วีโต้ร่างกฎหมาย “ยืนยันตัวตนบนโซเชียลมีเดีย”

Loading

  ผู้นำฟิลิปปินส์ยังไม่ลงนามรับรอง ร่างกฎหมายเกี่ยวกับ การที่ประชาชน “ต้องยืนยันตัวตน” บนเครือข่ายสังคมออนไลน์ โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับ การละเมิดความเป็นส่วนตัว   สำนักข่าวต่างประเทศรายนงานจากกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ว่าประธานาธิบดีโรดริโก ดูเตร์เต ใช้อำนาจวีโต้ ร่างกฎหมายซึ่งสภาคองเกรสของฟิลิปปินส์ มีมติเห็นชอบเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ว่าด้วยการที่ประชาชนต้อง “ยืนยันตัวตนทางกฎหมาย” ไม่ว่าจะเป็นชื่อ นามสกุลและหมายเลขโทรศัพท์ เมื่อสมัครใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ พร้อมทั้งอนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ข้อมูลดังกล่าวในด้านความมั่นคง   ทั้งนี้ ทำเนียบมาลากันยังออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับเหตุผลที่ผู้นำฟิลิปปินส์คัดค้านร่างกฎหมายนี้ ที่ในฟิลิปปินส์เรียกว่า “กฎหมายซิมการ์ด” ว่ายังขาดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนสำหรับอีกหลายประเด็นปลีกย่อย ซึ่งเรื่องนี้อาจกลายเป็น “ช่องว่างอันตราย” ให้เจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายก่อการล่วงละเมิด และการสอดแนมของเจ้าหน้าที่อาจสุ่มเสี่ยง เข้าข่ายเป็นการละเมิดรัฐธรรมนูญเสียเองด้วย   Senate President @sotto_tito took to Twitter on Friday to express his displeasure of President Rodrigo…

ฝรั่งเศส สั่งปรับเงิน Google และ Facebook กว่า 8 พันล้านบาท ในประเด็นการติดตามข้อมูลของผู้ใช้งาน

Loading

  หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส สั่งปรับเงินกูเกิล (Google) และเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมกันเป็นเงิน 210 ล้านยูโร ภายหลังทั้งสองบริษัทมีความพยายามขัดขวางผู้ใช้งานในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดตามพฤติกรรมและข้อมูลของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต   Commission Nationale de l’Informatique et des Libertés หรือ CNIL ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่า หน่วยงานได้ลงดาบกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินเป็นจำนวนเงิน 150 ล้านยูโร (ราว 5,800 ล้านบาท) เนื่องจากกูเกิล สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ใช้งาน จนทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดคุกกี้ (cookies) เพื่อหยุดการติดตามพฤติกรรมการใช้งานบนโลกไซเบอร์ เฟซบุ๊ก ก็ถูกหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสปรับด้วยเหตุผลเดียวกัน เพียงแต่ในรายของเฟซบุ๊ก ถือว่าเบากว่ากูเกิล เพราะโดนสั่งปรับเป็นเงิน 60 ล้านยูโร (ราว 2,300 ล้านบาท) เท่านั้น หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัว ยืนยันว่า การยอมรับการติดตามของคุกกี้ สามารถทำได้เพียงคลิกเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว การที่จะปฏิเสธคุกกี้ ก็ต้องทำได้ง่ายพอๆ กับการกดยอมรับ ทั้งนี้ สิ่งที่กูเกิลและเฟซบุ๊กปฏิบัติกลับตรงกันข้าม…

ไม่ได้ไปต่อ เทคโนโลยีจดจำใบหน้า ไม่ผ่านกฎหมายความเป็นส่วนตัว

Loading

  เทคโนโลยีการจดจำใบหน้านั้นมีประโยชน์อย่างมาก ซึ่งก่อนหน้านี้ ในประเทศจีนได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับใช้กฎหมาย ใครไม่ข้ามทางม้าลาย ใบสั่งส่งถึงบ้าน หรือบ้วนน้ำลายหรือทิ้งขยะในที่สาธารณะก็ต้องจ่ายเช่นกัน พร้อมกันนี้ ในแง่ของการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล จีนใช้ระบบสแกนใบหน้าเพื่อจ่ายค่าเดินทางด้วยรถไฟฟ้า ทำให้คนจีนไม่ต้องควักเงิน บัตร หรืออะไรต่างออกมาจ่ายเงิน เพียงแค่เดินผ่านไประบบจะทำการหักเงินในบัญชีอัตโนมัติ ทั้งนี้ ในปัจจุบันเทคโนโลยีการจดจำใบหน้ากำลังได้รับความนิยมทั่วโลก แม้จะมีการต่อต้านจากกลุ่มสิทธิมนุษยชนและรัฐบาลทั่วโลก แต่บริษัทใหญ่ ๆ อย่างเช่น Amazon และ Clearview ยังคงพัฒนาเทคโนโลยีและพยายามขายเทคโนโลยีดังกล่าวให้กับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย แต่เรื่องนี้กำลังถูกยุติในฝั่งยุโรป โดยรัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องอย่างเป็นทางการให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน นอกจากนี้ MEPs รู้สึกว่าเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถนำไปสู่การเลือกปฏิบัติระหว่างชนกลุ่มน้อย ผู้หญิง ผู้สูงอายุ และสมาของกลุ่ม LGBT เพราะมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกันครับ ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง หากเรื่องนี้ถูกบังคับใช้เมื่อใด ประเทศที่อยู่สมาชิกประเทศยุโรปจะต้องไม่มีการใช้ Facial Recognition ในที่สาธารณะทั้งหมด รวมถึงประเทศที่มีการใช้กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เช่น…

ยูเอ็น เรียกร้องพักแผนการจำหน่าย-ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

Loading

  ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เรียกร้องให้มีการประกาศพักแผนจำหน่ายและใช้งานระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI – Artificial Intelligence) ทั้งหลายไว้ชั่วคราว เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงรุนแรงด้านสิทธิมนุษยชน ในรายงานล่าสุดที่จะนำเสนอต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มิเชลล์ แบเชเลท์ ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ รวบรวมบทวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีล้ำสมัยต่อสิทธิมนุษยชน ซึ่งชี้ว่า AI นั้น อาจเป็นวิวัฒนาการที่ดี แต่ก็อาจล่วงล้ำและมีผลกระทบเลวร้ายรุนแรงต่อสิทธิ์ของผู้คน รวมทั้งความเป็นส่วนตัวของประชาชนได้ ขณะเดียวกัน เพ็กกี ฮิคส์ ผู้อำนวยการสำนักงานสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวด้วยว่า ระบบ AI อาจมีข้อผิดพลาดและมาพร้อมกับความเอนเอียงที่ฝังตัวอยู่ในระบบ ซึ่งอาจนำไปสู่การเลือกปฏิบัติและทำลายโอกาสการหางานหรือการได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์จากระบบประกันสังคมได้ รายงานฉบับนี้ยังชี้ด้วยว่า ปัจจุบัน รัฐบาล องค์กรระหว่างประเทศ และบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายเริ่มนำเทคโนโลยีไบโอเมตริกมาใช้งานกันมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยในการระบุอัตลักษณ์ของบุคคล ซึ่งเปิดทางให้มีการใช้งานเพื่อติดตามตัวบุคคลได้อย่างไม่จำกัดได้ด้วย เพ็กกี ฮิคส์ กล่าวเสริมว่า ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติแนะนำให้มีการประกาศพักการใช้งานเทคโนโลยีจดจำใบหน้าไบโอเมตริกในพื้นที่สาธารณะด้วย เนื่องจากการใช้งานระบบนี้อาจเป็นภัยคุกคามใหญ่หลวงต่อเสรีภาพของประชาชนได้   ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา : VOA Thai      / วันที่เผยแพร่  17 ก.ย.2564 Link :…