พบโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีก 6 ชนิดในค้างคาวเมียนมา

Loading

นักวิจัยค้นพบเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่อีกหกชนิดในค้างคาวที่ประเทศเมียนมา ในขณะที่กำลังศึกษาว่าโรคร้ายนี้สามารถถ่ายทอดจากสัตว์สู่มนุษย์ได้อย่างไร นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า โคโรนาไวรัสทั้งหกชนิดที่พบในค้างคาวเมียนมานั้น ยังไม่เคยถูกค้นพบที่ไหนในโลก แต่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ที่กำลังส่งผลกระทบต่อหลายส่วนของโลกอยู่ในขณะนี้ การวิจัยดังกล่าวนำโดยนักวิทยาศาสตร์จากโครงการ Global Health ของ Smithsonian ในกรุงวอชิงตัน ผลการวิจัยนี้ตีพิมพ์อยู่ในวารสาร PLOS ONE ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (CDC) กล่าวว่า โคโรนาไวรัสเป็นไวรัสสายพันธุ์ขนาดใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในคนและสัตว์หลายชนิด และว่า เป็นเรื่องยากที่โคโรนาไวรัสในสัตว์จะถ่ายทอดไปสู่คนแล้วแพร่กระจายในหมู่มนุษย์ อย่างไรก็ตาม มีการระบาดครั้งใหญ่ของโรคที่เกิดจากโคโรนาไวรัสในมนุษย์แล้วหลายครั้ง และค้างคาวก็เป็นส่วนหนึ่งของการระบาดเหล่านั้น ตัวอย่างเช่น การระบาดของโรค SARS และ MERS และยังเชื่อกันว่า โคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ซึ่งเป็นสาเหตุของ COVID-19 ก็มาจากค้างคาวเช่นเดียวกัน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพประเมินว่า มีโคโรนาไวรัสซึ่งยังไม่ถูกค้นพบอีกหลายพันชนิดในค้างคาว คณะนักวิจัยของ Smithsonian ทำงานร่วมกับนักวิจัยในประเทศเมียนมา ในโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อระบุเชื้อโรคใหม่ที่สามารถถ่ายทอดจากสัตว์ไปสู่คน โครงการที่มีชื่อว่า PREDICT นี้ ได้รับการสนับสนุนจากองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (USAID) เป้าหมายของการวิจัย คือ การศึกษาว่าการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ป่าสามารถนำไปสู่การติดเชื้อโคโรนาไวรัสในมนุษย์ได้อย่างไร โดยศูนย์กลางของการวิจัยครั้งนี้อยู่ในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่ามนุษย์จะเข้าไปสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่าในท้องถิ่นนั้น ๆ นักวิจัยได้เก็บตัวอย่างน้ำลายและของเสียจากค้างคาวจำนวน 759 ตัวอย่าง ในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ.…

เฟซบุ๊กเปิดตัวประชุมแบบกลุ่ม ซูมอัปเดตความปลอดภัยครั้งใหญ่

Loading

แพลตฟอร์มออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ประกาศเปิดตัวบริการ ‘เมสเซนเจอร์ รูม’ เพื่อสู้กับบริการประชุมแบบกลุ่มหลาย ๆ ตัวที่มีอยู่ในตอนนี้ ส่วน ‘ซูม’ แม้จะได้รับความนิยมอย่างมาก แต่ก็ต้องประกาศอัปเดตความปลอดภัยครั้งใหญ่ หลังพบปัญหาในหลายจุด วันนี้ (25 เม.ย.2563) ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟซบุ๊ก ประกาศเปิดตัวบริการ ‘เมสเซนเจอร์ รูม’ เพื่อให้สำหรับการประชุมทางออนไลน์อย่างเป็นทางการ ภาพจาก Facebook Newsroom เฟซบุ๊กระบุว่าบริการดังกล่าวจะรองรับผู้เข้าประชุมได้มากสุด 50 คน ซึ่งจะสามารถแสดงผลผู้เข้าประชุมบนคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะได้ครั้งละ 16 คน ส่วนบนมือถือจะแสดงได้ครั้งละ 8 คน นอกจากนี้บริการดังกล่าวยังสามารถแชร์ลิงก์เพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถเข้ามาประชุมได้อีกด้วย ภาพจาก Facebook Newsroom ทางเฟซบุ๊กยังระบุระหว่างการแถลงข่าวอีกด้วยว่า ขณะนี้มีผู้ใช้บริการ ‘วอทซแอป’ และเมสเซนเจอร์ ราว 700 ล้านบัญชีที่ใช้บริการเพื่อโทรพูดคุยกันอีกด้วย ซึ่งนักวิจารณ์และสื่อต่างประเทศมองว่าการเปิดตัวครั้งนี้ เป็นการเปิดเพื่อสู้กับบริการประชุมแบบกลุ่มบนออนไลน์ที่ถูกพูดถึงและใช้กันมากในเวลานี้ อย่าง ‘ซูม’ ที่มี อย่างชัดเจน แม้ซูมจะกลายเป็นสตาร์ทอัปที่ดังชั่วข้ามคืน แต่ก็ใช้เวลานานเกือบ 10 ปีเพื่อมาถึงจุดนี้…

นายกฯแดนเบียร์ อังเกลา แมร์เคิล ร่วมขบวนกระตุ้นให้จีนโปร่งใสเรื่องต้นตอโควิด-19

Loading

นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิล แถลงกับสื่อเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและควบคุมโควิด-19 ในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 20 เม.ย. (ภาพ รอยเตอร์ส) สื่อในฮ่องกง เซาท์ ไชน่า มอร์นิ่ง โพสต์รายงาน (21 เม.ย.) นายกรัฐมนตรีหญิงแห่งเยอรมนี อังเกลา แมร์เคิลออกมาร่วมขบวนเรียกร้องให้จีนเปิดเผยข้อมูลมากขึ้นกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือโควิด-19 ซึ่งถือเป็นความเคลื่อนไหวที่ตอกย้ำถึงความไม่สบายใจของผู้นำยุโรปที่สนิทกับจีนและไปเยือนจีนบ่อยที่สุดท่านนี้เกี่ยวกับความโปร่งใสของจีนเรื่องเปิดเผยข้อมูลต้นตอโควิด-19 ขณะนี้หลายชาติกำลังกดดันจีนเรื่องการเปิดเผยข้อมูลที่แท้จริงเกี่ยวกับต้นตอการแพร่ระบาดโควิด-19 ด้านจีนยืนกรานไม่ยอมให้สหรัฐฯส่งผู้แทนมาเยือนห้องทดลองไวรัสในอู่ฮั่น สองบิ๊กชาติยุโรป ฝรั่งเศสและเยอรมนี เรียกร้องให้จีนเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มากขึ้นแต่ก็ไม่ได้เออออห่อหมกเห็นตามผู้นำมะกันที่ออกมาชี้ถึงความเป็นไปได้ระหว่างไวรัสฯและห้องทดลองไวรัสในอู่ฮั่น ด้านจีนปฏิเสธข้อกล่าวหาฯของผู้นำสหรัฐฯโดนัลด์ ทรัมป์ แพทย์พยาบาลกำลังรักษาผู้ป่วยจากโควิด-19 ในห้องไอซียูของโรงพยาบาลในกรุงเบอร์ลิน ภาพเมื่อวันที่ 20 เม.ย. (ภาพ รอยเตอร์ส) ผู้นำหญิงเหล็กเมืองเบียร์ แมร์เคิล พูดในวันจันทร์(20 เม.ย.) กล่าวความเชื่อของตนว่า “ยิ่งจีนมีความโปร่งใสเกี่ยวกับต้นตอไวรัสมากเท่าไหร่ ทุกคนในโลกก็จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับไวรัสตัวนี้กันได้ดีขึ้น” นอกจากนี้ นายกฯแมร์เคิลตอบคำถามผู้สื่อข่าวที่ถามกรณีรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งเยอรมนี นาย เกิร์ด มูลเลอร์ (Gerd Mueller) กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า “จีนต้องเปิดเผยอย่างหมดเปลือกเกี่ยวกับวิกฤตที่โลกกำลังเผชิญอยู่โดยเฉพาะต้นตอไวรัส” ส่วนข้อกล่าวหาของสหรัฐฯที่หาว่าจีนปิดบังข้อมูลต้นตอของไวรัส นาย มูลเลอร์ กล่าวว่า “จีนควรเปิดตัวเองเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยแลกเปลี่ยนกับนานาชาติเรื่องการแพร่ระบาดของไวรัสในอู่ฮั่นอย่างรวดเร็ว”…

วิกฤตไทย 2563 ! ข้อสังเกต 10 ประการ โดย สุรชาติ บำรุงสุข

Loading

โดย สุรชาติ บำรุงสุข ประเทศไทยไม่แตกต่างจากหลายประเทศทั่วโลกที่วันนี้ตกอยู่ภายใต้วิกฤตการณ์ชุดใหญ่ อันเป็นผลจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 และวิกฤตโรคระบาดครั้งนี้กำลังเปลี่ยนแปลงสังคมโลกครั้งใหญ่เช่นไร สังคมไทยก็กำลังถูกความเปลี่ยนแปลงไปเช่นนั้นไม่แตกต่างกันด้วย หรือดังที่นักสังเกตการณ์ทั้งหลายมีความเห็นในระดับโลกร่วมกันก็คือ โลกหลังยุคก่อนโควิดจะไม่หวนกลับมาหาเราอีก เช่นที่โลกยุคหลังโควิดก็จะแตกต่างออกไปจากยุคก่อนอย่างมาก และจะเป็นความเปลี่ยนแปลงในมิติต่างๆ ครั้งใหญ่อย่างคาดไม่ถึงด้วย ดังนั้นหากทดลองคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงของไทยในอนาคตแล้ว เราอาจจะเห็นประเด็นต่างๆ ที่จะมีความสำคัญต่อทิศทางการพลิกฟื้นประเทศหลังจากการสิ้นสุดของโรคระบาดชุดนี้ ได้แก่ 1) วิกฤตซ้อนวิกฤต: การเมืองไทยจะยังคงตกอยู่ในภาวะวิกฤต ปัญหาทางการเมืองที่เกิดขึ้นก่อนการระบาดนั้น ไม่ได้หายไปไหน เป็นแต่เพียงจะถูกทับซ้อนจากสถานการณ์ใหม่ อันเป็นผลจากความอ่อนแอของรัฐบาลในการบริหารจัดการปัญหาที่เกิดขึ้น อันอาจจะส่งผลให้วิกฤตที่มีอยู่แต่เดิมแล้ว กลายเป็นวิกฤตที่มีความรุนแรงมากขึ้น และจะส่งผลต่อสถานะทางการเมืองของรัฐบาล โดยเฉพาะต่อตัวผู้นำรัฐบาลโดยตรง และจะเป็นวิกฤตที่มีนัยต่อความอยู่รอดของรัฐบาลอีกด้วย หรืออาจคาดได้ว่า การเมืองหลังจากการระบาดสิ้นสุดลงจะมีความเข้มข้นมากขึ้นอย่างแน่นอน และจะมีผลต่อเสถียรภาพทางการเมืองด้วย 2) เศรษฐกิจพังทลาย: วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2563 จะมีความรุนแรงและหนักหน่วงมากกว่าวิกฤตในปี 2540 อย่างแน่นอน และความคาดหวังว่าวิกฤตเศรษฐกิจ 2563 จะสามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วเช่นในปี 2540 อาจจะเป็นการคาดคะเนที่ง่ายเกินไป การพังทลายของเศรษฐกิจไทยกำลังเกิดขึ้นกับทุกภาคส่วน จนวันนี้กล่าวได้ชัดเจนว่า ไม่มีภาคส่วนใดที่ไม่ได้รับผลกระทบ และผลที่เกิดขึ้นกำลังพาเศรษฐกิจไทยสู่ “การ ถดถอย” ครั้งใหญ่ (economic recession) และการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจะอยู่ในภาวะ “ติดลบ” อย่างแน่นอน…

รวมข้อมูลประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของโปรแกรม Zoom

Loading

Zoom เป็นโปรแกรมประเภท video conference ที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด ทำให้หลายองค์กรต้องปรับรูปแบบการทำงานให้รองรับการประชุมจากนอกสถานที่ หรือสถาบันการศึกษาหลายแห่งต้องปรับรูปแบบการเรียนการสอนมาเป็นจากระยะไกลแทน อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายได้มีความกังวลต่อประเด็นความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของการใช้งานโปรแกรม Zoom เนื่องจากมีการรายงานช่องโหว่และพฤติกรรมการทำงานในบางจุดที่อาจก่อให้เกิดข้อกังวลดังกล่าว ไทยเซิร์ตได้รวบรวมข้อมูลประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้ ประเด็นด้านความมั่นคงปลอดภัย ตัวติดตั้งของโปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Mac มีการเรียกใช้สคริปต์บางอย่างในสิทธิ์ระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายกับระบบได้ ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) โปรแกรม Zoom เวอร์ชัน Windows มีช่องโหว่ที่อาจถูกขโมยรหัสผ่านบัญชีได้ด้วยการหลอกให้คลิกลิงก์ ส่วนเวอร์ชัน Mac มีช่องโหว่ที่อาจถูกดักฟังได้ด้วยการหลอกให้เข้าเว็บไซต์อันตราย ทาง Zoom รับทราบและแก้ไขแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบการรับส่งข้อมูลภาพและเสียงในระหว่างที่มีการทำ video conference นั้นไม่ได้ใช้วิธีเข้ารหัสลับข้อมูลในรูปแบบ end-to-end (ต้นทางจนถึงปลายทาง) ซึ่งอาจถูกผู้ไม่หวังดีดักฟังการประชุมได้ ทาง Zoom ยอมรับว่ามีประเด็นนี้จริง ยังไม่มีรายละเอียดว่าจะปรับปรุงในเรื่องนี้หรือไม่ แต่ก็ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าข้อมูลที่รับส่งระหว่างเครื่องของผู้ใช้กับเซิร์ฟเวอร์ของ Zoom นั้นมีการเข้ารหัสลับข้อมูลแล้ว (อ้างอิง) รูปแบบของอัลกอริทึมที่ใช้เข้ารหัสลับข้อมูลนั้นมีความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้ง่าย (ECB mode)…

ไต้หวันห้ามหน่วยงานรัฐใช้ “ซูม” จากความกังวลเรื่องความปลอดภัย

Loading

รัฐบาลไต้หวันแนะนำให้หน่วยงานรัฐบาลไต้หวันยุติการใช้งานแอพประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ของบริษัท Zoom Video Communications เนื่องจากความกังวลเรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว แถลงการณ์ของคณะรัฐมนตรีไต้หวัน ระบุว่า หากหน่วยงานใดต้องการประชุมผ่านวิดีโอออนไลน์ให้หลีกเลี่ยงแอพของบริษัทที่มีปัญหาด้านความปลอดภัย เช่น Zoom ขณะที่กระทรวงศึกษาธิการไต้หวัน ยืนยันว่าได้สั่งห้ามใช้ Zoom สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว ผู้ใช้แอพ Zoom มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นมากกว่า 200 ล้านคนตั้งแต่เดือนมีนาคม หลังจากที่คนทำงานจำนวนมากต้องทำงานจากบ้าน และนักเรียนต้องเรียนผ่านวิดีโอออนไลน์ แต่บริษัท Zoom กำลังถูกวิจารณ์อย่างหนักจากผู้ใช้ จากการที่ไม่มีระบบเข้ารหัสการประชุมแต่ละครั้ง รวมทั้งเหตุการณ์ที่เรียกว่า “zoombombing” หรือการที่มีแขกที่ไม่ได้รับเชิญปรากฎตัวออกมาระหว่างการประชุมออนไลน์ เป็นต้น รัฐบาลไต้หวันถือเป็นประเทศแรกที่แนะนำอย่างเป็นทางการให้หลีกเลี่ยงการใช้ Zoom ขณะที่ FBI ของสหรัฐฯ ก็มีคำเตือนให้ระวังการใช้แอพนี้เช่นกัน เมื่อไม่กี่วันก่อน เอริค หยวน ซีอีโอ ของ Zoom Video Communications Inc. กล่าวว่า ทีมงานของบริษัทกำลังพยายามแก้ไขสถานการณ์เพื่อฟื้นฟูชื่อเสียงของ Zoom ความนิยมของ Zoom ในช่วงวิกฤติโควิด-19 นี้ นอกจากสำหรับการประชุมทีมงานและการอบรมแบบออนไลน์แล้ว ผู้ใช้งานยังใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อกิจกรรมนันทนาการอื่น ๆ เช่น…