ในขณะที่สังคมไทยตื่นตัวกับกฎหมาย PDPA ที่มุ่งเน้นคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะมีการกำหนดโทษทั้งทางแพ่งและอาญา ตามความผิด พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ประเด็นที่ต้องตระหนักไปพร้อมกัน ก็คือ การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในองค์กร และการป้องกันการโจมตีทางไซเบอร์ทั้งจากภายในและภายนอก ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลส่วนบุคคล ได้เช่นการจารกรรมข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร โรงพยาบาล รวมทั้งความมั่นคงในภาคส่วนต่างๆ ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ไปจนถึงความมั่นคงของประเทศ ที่นับวันปัญหาดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่เป็นภัยความมั่นคงระดับประเทศ หรือความเสียหายทางธุรกิจ เช่น กรณี Apple ได้ตรวจสอบความปลอดภัยและได้พบมัลแวร์ Pegasus ในไอโฟนของนักเคลื่อนไหวการเมืองไทยกว่า 30 คน หรือกรณี ที่ T-Mobileต้องจ่ายเงิน350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 12,800ล้านบาท เพื่อชดเชนให้ยุตืคดีที่ลูกค้าฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากบริษัท ฐานปล่อยให้ถูกแฮกข้อมูลรั่วไหล 76.6ล้านคน โดยเฉพาะในช่วงวิกฤติโควิดที่ผ่านมา ที่มีการทำงานที่บ้านหรือเวิร์กฟรอมโฮม เพราะคนอยู่หน้าจอออนไลน์กันมากขึ้น แต่ส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ทำให้ตกเป็นเหยื่อ และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดถึงการติดตามไล่ล่าตัวผู้กระทำผิด และมักคิดถึงเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือตำรวจไซเบอร์เพียงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม การแก้ไขปัญหานอกจากจะต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีของแต่ละองค์กรแล้ว ปัจจุบันไทยเรามีกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการโจตีทางไซเบอร์ โดยมีพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ พ.ศ.2562 …