ดีมากกว่าเสีย? ‘เฟซบุ๊ก’ เก็บเงินยืนยันตัวตน ช่วยแยกเพจปลอมคนดังที่ถูกแอบอ้างได้

Loading

  ผู้เชี่ยวชาญด้านไซเบอร์ ชี้ เฟซบุ๊กเก็บเงินค่ายืนยันตัวตน ช่วยให้รู้ว่าเพจไหนปลอมเพจไหนจริง แต่หวั่นเรื่องข้อมูลส่วนบุคคล ต้องใช้บัตรประชาชนสมัคร ระบุต้องอยู่ภายใต้ ก.ม.พีดีพีเอ   ดร.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอซิส โปรเฟสชั่นนัล เซ็นเตอร์ จำกัด เปิดเผยว่า การที่เฟซบุ๊กจะเก็บค่าบริการ ใช้สัญลักษณ์รับรองบัญชีอย่างเป็นทางการ (Meta Verified) ประมาณ 400-500 บาทต่อเดือน นั้น จะช่วยให้ผู้ใช้งานเฟซบุ๊ก รู้ว่าเพจไหนเป็นเพจจริงหรือปลอม หลังจากปัจจุบันจะพบปัญหาเพจปลอมจำนวนมาก โดยเฉพาะคนที่มีชื่อเสียงถูกปลอมหรือแอบอ้างทำเพจปลอมจำนวนมาก ผู้มีชื่อเสียงบางคนถูกนำรูปและข้อมูลไปปลอมเพจมีเป็นสิบเป็นร้อยเพจ ถ้ามีการยืนยันมีเครื่องหมายถูก ก็จะช่วยให้คนที่ใช้งาน รู้ว่าเพจไหนปลอมหรือจริง ช่วยให้ไม่ถูกหลอก   “สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือ การสมัครบริการ จะต้องใช้บัตรประชาชน หรือเอกสารราชการนั้น ทางเฟซบุ๊ก ก็ต้องดำเนินการ ตามกฎหมาย หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของประเทศไทย ต้องดูแลข้อมูล ไม่ให้เกิดการรั่วไหล และหากเกิดรั่วไหลก็ต้องมีความรับผิดชอบตามกฎหมายประเเทศไทย แต่ที่ผ่านมาผู้ให้บริการแพลตฟอร์ม จากต่างประเทศเหล่านี้มักอ้างว่า ไม่มีออฟฟิศ หรือสำนักงานในไทย ซึ่งจะทำให้การเอาผิดตามกฎหมายทำได้อยาก ส่งผลให้ไทยไม่มีอธิปไตยไซเบอร์ ที่ไม่สามารถเอาผิดแพลตฟอร์มเหล่านี้ได้ตามกฎหมาย”   ดร.ปริญญา กล่าวต่อว่า การให้บริการนี้ทางเฟซบุ๊ก บอกว่าจะให้บริการในการติดต่อเจ้าหน้าที่ที่รวดเร็วขึ้นหากเกิดปัญหา ถือเป็นพรีเมียมเซอร์วิส แต่ที่จริงควรจะดำเนินการให้กับทุกคนไม่เฉพาะที่ต้องจ่ายเงิน และต้องดูว่า เมื่อมีการจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับบริการเร็วตามที่อ้างหรือไม่ หากมีคนยอมจ่ายเป็นล้านคนจะได้บริการที่รวดเร็วหรือไม่ ต้องดูว่าประสบการณ์ หลังการจ่ายเงินแล้วจะเป็นตามที่โฆษณาหรือไม่ โดยมองว่าบริการนี้จะมีคนจ่ายเฉพาะคนดัง…

สมาชิกตาลีบันจ่ายเงินซื้อ “เครื่องหมายยืนยันตัวตน” บนทวิตเตอร์

Loading

    สมาชิกรัฐบาลตาลีบันบางคนมีเครื่องหมายติ๊กถูกสีฟ้าหลังชื่อบัญชีทวิตเตอร์แล้ว หลังยอมจ่ายเงินแลกตามนโยบายใหม่ของ อีลอน มัสก์   หนึ่งในความเปลี่ยนแปลงใหญ่ของทวิตเตอร์ แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียชื่อดัง นับตั้งแต่การเข้ามาของ อีลอน มัสก์ ก็คือเรื่องของเครื่องหมายยืนยันตัวตน “บลูมาร์ก” หรือเครื่องหมายติ๊กถูกหลังชื่อบัญชีผู้ใช้ ที่เมื่อก่อนเป็นสัญลักษณ์ของความน่าเชื่อของบุคคลนั้น   มัสก์ต้องการสร้างรายได้จากจัดเก็บเงิน “ค่ายืนยันตัวตน” ให้คนทั่วไปสามารถมีเครื่องหมายยืนยันตัวตนหลังชื่อบัญชีของตัวเองได้ในราคา 8 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้งานบนเว็บไซต์ และ 11 ดอลลาร์สหรัฐต่อเดือนสำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iOS     ผู้ที่ได้รับเครื่องหมายบลูมาร์กนี้จะสามารถเข้าถึงฟีเจอร์พิเศษของทวิตเตอร์ได้ เช่น ฟีเจอร์เซฟข้อความทวีตพร้อมแยกหมวดหมู่ หรือฟีเจอร์ Undo ข้อความที่ทวีตไป เป็นต้น   ส่วนบัญชีผู้ใช้งานที่มีความน่าเชื่อถือเดิมนั้น หากเป็นบุคคลสาธารณะจะยังคงมีเครื่องหมายบลูมาร์กสีฟ้าอยู่ ซึ่งหากกดเข้าไปดูจะเขียนว่า “บัญชีนี้ได้รับการยืนยันเนื่องจากเป็นบัญชีที่มีชื่อเสียงในหมวดหมู่ที่เกี่ยวกับรัฐบาล ข่าว ความบันเทิง หรืออื่น ๆ” ส่วนอีกประเภทจะเขียนว่า “นี่คือบัญชีแบบเดิมที่ยืนยันแล้ว ซึ่งอาจจะมีหรือไม่มีชื่อเสียงก็ได้”   ซึ่งผู้รับสารจะต้องทำความเข้าใจให้ดีว่าบัญชีที่เผยแพร่ข้อมูลความรู้ต่าง ๆ นั้นเป็นบัญชีประเภทไหน เป็นบัญชีที่ทวิตเตอร์รับรองความน่าเชื่อถือให้เอง หรือเป็นบัญชีที่จ่ายเงินซื้อบลูมาร์กมา   ขณะที่บัญชีที่เป็นขององค์กรหรือบริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ…