‘จีน’ ออกกฎหมายต้านจารกรรม สร้างความเสี่ยงให้บริษัทต่างชาติ

Loading

    จีนได้ขยายขอบเขตของกฎหมายต่อต้านการจารกรรม (Counterespionage Law) ซึ่งเดิมกว้างขวางอยู่แล้ว ขณะที่นักวิเคราะห์เตือนว่าอาจสร้างความเสี่ยงทางกฎหมายมากขึ้น หรือเพิ่มความไม่แน่นอนแก่บริษัทต่างชาติ นักข่าว และนักวิชาการ   สำนักข่าวซีเอ็นเอ็นรายงานในวันนี้ (27 เม.ย.) ว่า การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขยายคำจำกัดความของการจารกรรมจาก การรวบรวมความลับของรัฐและข่าวกรอง ไปสู่ “เอกสาร ข้อมูล วัตถุ หรือสิ่งของใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติ” โดยไม่มีการระบุถึงแนวทางที่เฉพาะเจาะจงสำหรับวิธีการกำหนดเงื่อนไขเหล่านี้   สำหรับการโจมตีทางไซเบอร์ที่มุ่งเป้าไปที่โครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลที่สำคัญของจีน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานด้านการสอดแนม ก็ถูกจัดประเภทเป็นการจารกรรมภายใต้กฎหมายฉบับใหม่ด้วยเช่นกัน โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.ค.   ข้อกฎหมายดังกล่าวซึ่งได้รับการอนุมัติจากสภานิติบัญญัติของจีนเมื่อวานนี้ (26 เม.ย) มีขึ้นท่ามกลางการเพิ่มขึ้นของการเน้นย้ำเรื่องความมั่นคงของชาติภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ซึ่งเป็นผู้นำที่เด็ดเดี่ยวที่สุดของจีนในยุคนี้         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                   …

ฮือฮายิ่งกว่า 007! นักธุรกิจออสซี่ชื่อดังชวดประกันตัว หลังแอบขายความลับเทคโนโลยี AUKUS ให้สปายปักกิ่ง เพิ่งกลับเข้าประเทศหลังอาศัยในจีนนานหลายสิบปี

Loading

    เอเจนซีส์ – นักธุรกิจออสเตรเลียชื่อดังโดนศาลซิดนีย์ปฏิเสธประกันตัวหลังถูกจับคดีแอบขายข้อมูลลับเทคโนโลยี AUKUS ให้สายลับจีน โดนจับเมื่อวันศุกร์ (14 เม.ย.) พบรับซองเงินสดจากสปายสายลับชาวจีนเพื่อแลกเปลี่ยนกับรายงานเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างแคนเบอร์ราและชาติพันธมิตร เพิ่งกลับเข้าแดนจิงโจ้ปีนี้หลังอาศัยในจีนนานหลายสิบปี อื้ออึงยิ่งกว่าเจมส์ บอนด์ 007 เจ้าตัวพบสายลับจีนที่รู้จักผ่านเว็บไซต์ LinkedIn ตามคาเฟ่และภัตตาคารที่ปลอดลูกค้านับครั้งไม่ถ้วนทั่วเมืองเซี่ยงไฮ้   CNN สื่อสหรัฐฯ รายงานวานนี้ (17 เม.ย.) ว่า อเล็กซานเดอร์ เซอร์โก (Alexander Csergo) นักธุรกิจออสเตรเลียโดนจับกุมในวันศุกร์ (14) ที่เพิ่งผ่านมา คดีแอบให้ข้อมูลลับเทคโนโลยี AUKUS กับสายลับจีน   โดยสื่อออสซี่ 9news รายงานเพิ่มเติมว่า ชายผู้นี้ที่เป็นนักธุรกิจและได้รับการศึกษาดีรับซองเงินสดเพื่อแลกเปลี่ยนกับรายงานเปิดเผยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างออสเตรเลียและชาติพันธมิตรต่าง ๆ ของออสเตรเลีย   เป็นที่น่าทึ่งเพราะพบว่าเขาอาศัยอยู่ในแดนมังกรมานานหลายสิบปี แต่เพิ่งกลับเข้าออสเตรเลียเมื่อต้นปีนี้พร้อมกับ “ลิสต์ของที่ต้องการ” เกี่ยวข้องกับความลับข่าวกรองออสเตรเลียที่เซอร์โกถูกคนติดต่อ 2 คนร้องขอ ศาลซิดนีย์ได้รู้ว่า เซอร์โกถูกต้องสงสัยมาตั้งแต่ปี 2021 ว่าเป็นสายลับให้กระทรวงความมั่นคงของจีน   คนทั้งสองนี้รู้จักในชื่อ…

กล้าหือไหม! ร้อง รบ.เกาหลีใต้สืบสวนสหรัฐฯ ‘จารกรรม’ หลังเอกสารหลุดแฉโดนอเมริกาสอดแนม

Loading

    ฝ่ายค้านเกาหลีใต้ ในวันพุธ (12 เม.ย.) ออกมาเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินการสืบสวนคำกล่าวหาถูกสหรัฐฯ จารกรรมข้อมูล หลังเอกสารหลุดของกระทรวงกลาโหมอเมริกา (เพนตากอน) เผยให้เห็นว่า วอชิงตันกำลังสอดแนมพันธมิตรหลักในเอเชียของพวกเขาแห่งนี้   เอกสารข่าวกรองของสหรัฐฯ ที่อ่อนไหวอย่างมากได้หลุดไปปรากฏบนสื่อสังคมออนไลน์เมื่อไม่นานมานี้ นั่นรวมถึงเอกสารที่เปิดโปงว่าวอชิงตันได้ทำการดักฟังสอดแนมบรรดาที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติของประธานาธิบดี ยุน ซุกยอล ของเกาหลีใต้ ส่วนหนึ่งในความพยายามหาทางรับประกันว่าโซลจะจัดหาอาวุธมอบให้แก่ยูเครน   เมื่อวันอังคาร (11 เม.ย.) รัฐบาลเกาหลีใต้พยายามกลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับความสำคัญของเอกสารหลุดดังกล่าว โดยทางทำเนียบประธานาธิบดีอ้างว่า “เอกสารจำนวนมาก” เป็นของปลอม และระบุที่ปรึกษาด้านความมั่นคงของเขา เชื่อว่า “ไม่มีเจตนาประสงค์ร้าย” ในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น   อย่างไรก็ตาม เอกสารหลุดดังกล่าวโหมกระพือเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเกาหลีใต้ เกี่ยวกับความอ่อนแอของที่ตั้งที่อ่อนไหวต่าง ๆ ในนั้นรวมของทำเนียบประธานาธิบดี   “รัฐบาลต้องขีดเส้นใต้คำกล่าวหาลอบดักฟังนี้ และหากพบว่ามันเป็นความจริง มันจำเป็นต้องมีการขอโทษอย่างเป็นทางการ และสหรัฐฯ ต้องรับประกันว่ามันจะไม่เกิดขึ้นอีกครั้ง” ลี แจ-มยุง หัวหน้าพรรคเดโมแครต ปาร์ตี พรรคฝ่ายค้าน กล่าวในวันพุธ (12 เม.ย.)   บรรดาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากฝ่ายค้าน กล่าวหาว่ารัฐบาลพยายามปล่อยผ่านเหตุการณ์นี้…

หลอนจัด! เพนตากอนกล่าวหารอบใหม่ สงสัยจีนใช้เครนสอดแนมสหรัฐฯ เหมือนกับบอลลูน

Loading

    กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ (เพนตากอน) มองเครนต่างๆ ที่ผลิตโดยจีน ซึ่งปฏิบัติการอยู่ตามท่าเรือทั้งหลายของสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงศูนย์กลางด้านการขนส่งหลายแห่งที่ถูกใช้งานโดยกองทัพ มีความเป็นไปได้ที่จะเป็น “ม้าโทรจัน” ที่จีนอาจใช้รวบรวมข้อมูลข่าวกรองเกี่ยวกับสิ่งของที่ขนเข้าขนออกจากอเมริกา ตามรายงานของหนังสือพิมพ์วอลล์สตรีท เจอร์นัล ในวันอาทิตย์ (5 มี.ค.)   หลังจากประเด็นบอลลูนสอดแนมจีนจบลงอย่างฉับพลัน มีรายงานว่าพวกเจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงแห่งชาติ และจากเพนตากอนได้เบี่ยงเบนความสนใจไปยังอีกหนึ่งเครื่องไม้เครื่องมือที่ว่ากันว่าอาจถูกใช้สำหรับจารกรรมข้อมูล โดยแม้วอลล์สตรีท เจอร์นัล ไม่ได้บ่งชี้้ว่าเคยมีกรณีของการใช้เครนสำหรับสอดแนมจริงๆ หรือไม่ แต่สื่อมวลชนแห่งนี้อ้างความเห็นของ บิลล์ อีวานนินา อดีตเจ้าหน้าที่ต่อต้านข่าวกรองสหรัฐฯ ซึ่งแสดงความกังวลว่ามันอาจเปิดทางสำหรับการเข้าถึงจากระยะไกล เพื่อก่อความปั่นป่วนแก่กระแสสินค้า   “เครนสามารถเป็นอีกหนึ่งหัวเว่ย” อีวานนินากล่าว อ้างถึงหัวเว่ย เทคโนโลยีส์ บริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของจีน ซึ่งผลิตภัณฑ์ของพวกเขาเป็นที่ต้องห้ามในตลาดสหรัฐฯ ในความกังวลเกี่ยวกับการสอดแนมแบบเดียวกัน “มันเป็นการผสมผสานที่สมบูรณ์แบบของธุรกิจที่ถูกกฎหมาย ที่สามารถสวมหน้ากากตบตา ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลความลับได้เช่นกัน”   ความกังวลเกี่ยวกับเครนมีขึ้นตามหลังข้อพิพาทระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเมื่อเดือนที่แล้ว เกี่ยวกับบอลลูนที่พบเห็นลอยอยู่ในระดับสูงเหนือท้องฟ้าอเมริกา โดยรัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทำการยิงร่วงบอลลูนที่พวกเขากล่าวหาว่าเป็นบอลลูนสอดแนม นอกชายฝั่งของรัฐเซาท์แคโรไลนา หลังจากพบเห็นมันลอยข้ามท้องฟ้าของประเทศ ในขณะที่เจ้าหน้าที่สหรัฐฯ กล่าวหาว่าจีนกำลังใช้บอลลูนลักษณะดังกล่าวทั่วโลกเช่นกัน ในฐานะเป็นเครื่องมือสอดแนม   กระทรวงการต่างประเทศจีน…

สหรัฐฯ เครียด! ต้องการมันสมองนอกประเทศ แต่กลัวถูกจารกรรมข้อมูล

Loading

FILE – In this July 16, 2019, file photo people walk past an entrance to Widener Library, behind, on the campus of Harvard University, in Cambridge, Mass. International student enrollment in U.S. universities has retreated in the past three years.   ในเวลานี้ นักการเมืองสหรัฐฯ กำลังถกประเด็นหาวิธีที่จะช่วยให้อเมริกาได้เปรียบจีนในศึกการแข่งขันความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีกันอยู่ และบางคนเชื่อว่า ผู้นำจีนก็กำลังหวังว่า สิ่งที่สหรัฐฯ กำลังพยายามทำอยู่นี้ จะจบลงด้วยความล้มเหลว มุมมองดังกล่าวนั้นสะท้อนภาพความกังวลในแวดวงงานวิจัยของสหรัฐฯ ที่มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งเป็นด่านหน้าในการดำเนินงานด้านการค้นคว้าเพื่อพัฒนาประเทศและป้องกันการถูกหาประโยชน์จากจีน อย่างไรก็ดี ผลวิจัยล่าสุดระบุว่า นักวิชาการ 3…

‘สายลับ’ ในคราบ ‘มิชชันนารี’ การแทรกซึมและจารกรรมข้อมูลของอเมริกา ในช่วงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

Loading

  หากกล่าวถึงสายลับของรัฐบาลอเมริกาในปัจจุบัน หลายคนอาจนึกถึงซีไอเอ (C.I.A. – Central Intelligence Agency) หรือสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ ที่มีบทบาทในฐานะตัวแทนสายลับรัฐบาลอเมริกา ซึ่งทำงานด้านการข่าวและการต่อต้านข่าวกรอง ซีไอเอมักมีบทบาทที่โดดเด่นด้านการต่อต้านการก่อการร้าย หรืออาชญากรรมร้ายแรงข้ามชาติ สายลับพวกนี้มักปฏิบัติการในต่างประเทศ โดยแฝงตัวอยู่ในรูปแบบหรืออาชีพอะไรก็ได้ อาทิ นักธุรกิจ นักการทูต หรือแม้กระทั่งประชาชนอเมริกาธรรมดา อย่างไรก็ดี ก่อนที่จะมีการก่อตั้งซีไอเอในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 มีหลักฐานที่น่าเชื่อว่า อเมริกาได้จัดตั้งสายลับหรือจารชนเข้ามาสอดแนมความเป็นไปของประเทศต่างๆ ที่พวกเขาให้ความสนใจ หรือมองว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์และความมั่นคงของอเมริกามานานแล้ว สำหรับประเทศไทยนั้น เชื่อกันว่าสายลับอเมริการุ่นก่อนซีไอเอกลุ่มแรกๆ ที่แฝงตัวเข้ามา คือบรรดาผู้ที่ไม่มีใครคาดคิดว่าจะทำงานหลังฉากเป็นสายลับได้ ผู้คนเหล่านั้นก็คือ หมอสอนศาสนา “บางคน” และจากข้อมูลในประวัติศาสตร์ จารชนชาวอเมริกันในคราบหมอสอนศาสนาที่มีหลักฐานมัดตัวมากที่สุด ได้แก่ “นายแคนแนต เพอรรี่ แลนดอน” (Kenneth Perry Landon) อดีตมิชชันนารีอเมริกัน ที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 7 โดยอาศัยอยู่ในพื้นที่อำเภอทับเที่ยง จังหวัดตรัง ซึ่งต่อมาเขาได้ข้ามไปดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญประเทศไทย ประจำกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดีซี หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลงได้ไม่นาน…