ญี่ปุ่นปลอดภัยจริงหรือ! เสียงปืนที่ดังก้อง มากคำถามลอบสังหารอาเบะ กลางถนน

Loading

สตรีคนหนึ่งร่ำไห้วางดอกไม้ไว้ที่เกิดเหตุนอกสถานียามาโตะ-ไซไดจิ ในเมืองนารา ซึ่งอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ ถูกยิงเมื่อเช้าวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ.2565 การลอบสังหารอาเบะจะส่งผลดังก้องทั่วญี่ปุ่น (ภาพเอเอฟพี)   เป็นที่ทราบกันมาตลอดว่า ความรุนแรงทางการเมืองและอาชญากรรมอาวุธปืนเป็นเรื่องที่หาได้ยากในญี่ปุ่น แต่จากเหตุการณ์อดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ถูกสังหารระยะประชิดด้วยอาวุธปืนทำเอง จึงเกิดคำถามมากมายว่า ตำรวจญี่ปุ่นมีศักยภาพในการรักษาความปลอดภัยของชีวิตเพียงพอหรือไม่   บุคคลสำคัญในญี่ปุ่นมักเดินทางไปไหนมาไหนโดยมีการอารักขาความปลอดภัยเพียงเล็กน้อย โดยเน้นที่ภัยการทำร้ายร่างกายเป็นหลัก มากกว่าจะโดยอาวุธอันตราย เช่นที่พบในสถานที่ต่างๆ เช่น สหรัฐอเมริกาชินโซ อาเบะ วัย 67 ปี กำลังรณรงค์หาเสียงในเมืองทางตะวันตกของนารา สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP) ก่อนการเลือกตั้งเมื่อวันอาทิตย์ที่เขาถูกยิง ในระยะไม่เกิน 3 เมตร   ชายวัย 41 ปี ถูกควบคุมตัวในที่เกิดเหตุ และตำรวจกล่าวว่าผู้ต้องสงสัยใช้ปืนทำเอง ตำรวจกล่าวว่า มีผู้พบปืนและวัตถุระเบิดอื่นๆ ที่บ้านของผู้ต้องสงสัย และเขายอมรับว่าเป็นผู้ก่อเหตุ   เจ้าหน้าที่จากกรมตำรวจจังหวัดนารา บอกกับผู้สื่อข่าวว่า การร้องขอความปลอดภัยในงานนี้ “เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน” และกรมจะตรวจสอบว่ามีการรักษาความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ เพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม…

ตำรวจญี่ปุ่นสอบมาตรการคุ้มกัน “อาเบะ” ยืนยันมีการระวังด้านหลัง

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่น ประกาศสอบสวน การจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยให้แก่อดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ซึ่งถูกลอบสังหารในเมืองนารา   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 9 ก.ค. ว่าจากกรณีชายวัย 41 ปี ใช้อาวุธปืนประดิษฐ์เองลอบยิงสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ระหว่างลงพื้นที่ปราศรัยทางการเมือง ที่เมืองนารา ทางตะวันตกของญี่ปุ่น เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แม้เจ้าหน้าที่จับกุมคนร้ายได้อย่างทันท่วงที แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังคงทำให้เกิดคำถามตามมาอย่างต่อเนื่อง ในประเด็นการจัดมาตรการรักษาความปลอดภัยของฝ่ายความมั่นคงญี่ปุ่น ที่มีต่อบุคคลสำคัญ   สำนักงานตำรวจแห่งชาติของญี่ปุ่นออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่าสำนักงานตำรวจจังหวัดนารา เป็นผู้วางแผนจัดการด้านการรักษาความปลอดภัย และในวันเกิดเหตุมีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานตำรวจกรุงโตเกียว ลงพื้นที่สนับสนุนด้วย แต่ยังคงปฏิเสธให้ข้อมูลอย่างเจาะจง ว่าใช้กำลังเจ้าหน้าที่ทั้งหมดเท่าใด ทั้งนี้ ตำรวจญี่ปุ่นยืนยันว่า มีการวางกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่อาเบะ “อยู่รอบทิศทาง” รวมถึงด้านหลังอดีตผู้นำญี่ปุ่นด้วย และจะมีการสอบสวนอย่างละเอียดเป็นการภายใน หลังมีการวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้น ต่อการที่มือปืนเข้ามาทางด้านหลังของอาเบะอย่างใจเย็น และก่อเหตุในระยะเผาขน   A security expert says the personal security for former Japanese prime minster…