เหนือเมฆ ! แฮ็กเกอร์ใช้ Spotify Playlist เพื่อโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อน และโปรโกงเกม

Loading

การเผยแพร่โปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อนนั้น ในอดีตที่ผ่านมาหลายคนอาจคุ้นเคยกับซุ้มขายซอฟต์แวร์เถื่อนตามห้างดัง ตามมาด้วยยุคการใช้เว็บบอร์ดและ Bittorrent เพื่อโปรโมต แต่ในปัจจุบัน การโปรโมตซอฟต์แวร์เถื่อนกลับไปไกลกว่านั้นแล้ว

’สกมช.‘ ชี้ปี 67 แรนซัมแวร์ยังป่วน ล็อคเป้าโจมตีหนีไม่พ้นรัฐ-เอกชน

Loading

ในปีที่ผ่านมา มีเหตุการณ์ที่ถูกกลุ่มแฮ็กเกอร์ดัง ที่ชื่อ ล็อคบิท และกลุ่มอื่น ๆ ทำการแฮ็กระบบของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ในประเทศไทยประมาณ 30 ครั้ง โดยทาง สกมช. ได้เฝ้าติดตามในดาร์กเว็บ โดย กลุ่ม ล็อคบิท นี้ ได้มีการเรียกค่าไถ่หน่วยงานในไทยมีมูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท

เตือน!! แฮ็กเกอร์ใช้ AI สร้างวิดีโอน่าเชื่อถือ หลอกล่อเหยื่อดาวน์โหลดซอฟต์แวร์พ่วงมัลแวร์

Loading

  แฮ็กเกอร์ใช้วิธีการใหม่ในการหลอกล่อเหยื่อ ด้วยการใช้ AI สร้างวิดีโอเพิ่มความน่าเชื่อถือ   ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างคอนเทนต์ให้เราได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบทความ, การสร้างภาพงานศิลป์ กระทั่งการสร้างวิดีโอให้ดูสมจริง ทว่า นี่กลับกลายเป็นช่องทางให้แฮ็กเกอร์สามารถหลอกลวงเหยื่อได้แนบเนียนขึ้นกว่าเดิม!!   การโจมตีบนยูทูบเพิ่มขึ้นทุก ๆ เดือน   CloudSEK บริษัทด้าน AI คาดการณ์ว่า ในแต่ละเดือนจะพบการโจมตีทางไซเบอร์บนแพลตฟอร์มยูทูบ (YouTube) เพิ่มขึ้น 200-300% ซึ่งการโจมตีจะอยู่ในรูปแบบการฝังโปรแกรมประสงค์ร้ายหรือมัลแวร์ (Malware) ลงในลิงก์ที่มากับวิดีโอ โดยมัลแวร์เหล่านี้จะมีความสามารถในการขโมยข้อมูลต่าง ๆ ของเหยื่อได้ เช่น ไวดาร์ (Vidar), เรดไลน์ (RedLine) และแรคคูน (Raccoon)     หลอกล่อเหยื่อให้ดาวน์โหลด “มัลแวร์”   สำหรับวิธีการที่แฮ็กเกอร์ใช้หลอกล่อเหยื่อ ให้เข้ามาดาวน์โหลดมัลแวร์จากลิงก์ที่อยู่ในส่วนขยายความ (Description) ของยูทูบ คือ การสร้างวิดีโอที่น่าเชื่อถือโดยมีผู้บรรยายประกอบ ซึ่งแฮ็กเกอร์จะอาศัยปัญญาประดิษฐ์ที่มีความสามารถในการสร้างวิดีโอเลียนแบบพฤติกรรมของมนุษย์ ได้แก่ แพลตฟอร์มซินธิเซีย (Synthesia) และ ดี-ไอดี…

ยอมเถื่อน! แคสเปอร์สกี้พบธุรกิจขนาดกลาง 24% ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์หวังลดต้นทุน

Loading

  ผลสำรวจแคสเปอร์สกี้ เผยธุรกิจขนาดกลาง 24% เลือกใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดต้นทุน   นายอเล็กซานเดอร์ ชลิคคอฟ หัวหน้าทีมการตลาดผลิตภัณฑ์ แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การขาดทรัพยากรเป็นสถานการณ์ทั่วไปสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง แต่การใช้ซอฟต์แวร์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ถูกแฮกควรได้รับการยกเว้นหากองค์กรให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย ชื่อเสียง และรายได้ขององค์กร   “ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์มักจะมาพร้อมกับโทรจันและไมเนอร์และไม่มีโปรแกรมแก้ไขหรือแพตช์ที่ออกโดยนักพัฒนาเพื่อปิดช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตีโดยอาชญากรไซเบอร์ การใช้ซอฟต์แวร์ทางเลือกแบบฟรีอย่างเป็นทางการเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามากสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดงบด้านไอที”   รายงานล่าสุดของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) เปิดเผยว่า บริษัทขนาดกลางที่มีพนักงาน 50 ถึง 999 คน จำนวนหนึ่งในสี่ หรือ 24% พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อลดค่าใช้จ่ายด้านไอที สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก (พนักงานน้อยกว่า 50 คน) มีจำนวนเพียง 8% เท่านั้นที่พร้อมที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว       ผู้ไม่หวังดีสามารถกระจายไฟล์ที่เป็นอันตราย โดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   สิ่งที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร เนื่องจากผู้ไม่หวังดีจะกระจายไฟล์ที่เป็นอันตรายโดยปลอมแปลงตัวเป็นซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่ที่ใช้งาน   จากข้อมูลของ Kaspersky Security Network (KSN) ในช่วงเวลาเพียง 8…

Windows เถื่อน ระบาดหนักขึ้นในรัสเซีย

Loading

  จากข้อมูลการค้นหาใน Google เกี่ยวกับวิธีการเปิดใช้งาน “Windows 10 Activate” เพิ่มขึ้นมากถึง 250% สำหรับในช่วงเวลาแค่สามเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น ซึ่งเป็นวิถีของการเอาตัวรอดจากการโดน Microsoft คว่ำบาตรล่าสุด   ความเดิมตอนที่แล้ว Microsoft ได้ประกาศถอดปลั๊กเว็บไซต์การติดตั้ง Windows 10 และ 11 ในรัสเซียออก เป็นการคว่ำบาตรเพื่อไม่ให้ชาวรัสเซียได้ใช้งานได้อีก โดยวิธีการเปลี่ยนเส้นทางการดาวน์โหลด Windows 11 ไปยังหน้าเว็บฝ่ายสนับสนุนของ Microsoft ส่วน Windows 10 ปิดกั้นการดาวน์โหลด ส่งผลให้สถิติยอดผู้ใช้งานบน VPN ในรัสเซียเพิ่มขึ้นมากถึง 2,692% นั่นเป็นวิธีการอำพรางตัวจากตำแหน่งที่ตั้งของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ เพื่อเป็นช่องทางการเข้าถึง Windows 11   คำไหนบ้างที่นิยมใช้ค้นหาข้อมูลผลิตภัณฑ์ของ Microsoft ในรัสเซีย :   –   “free Excel spreadsheet” เป็นคำที่ใช้ค้นหาบน Google เพิ่มขึ้น 650% เพียงแค่มิถุนายนเดือนเดียวเท่านั้น…