กองทัพซูดานปะทะหนัก RSF ดับแล้ว 27 เจ็บกว่า 200

Loading

AP   กองทัพซูดานปะทะหนัก RSF ดับแล้ว 27 เจ็บกว่า 200   เกิดความวุ่นวายอย่างหนักในประเทศซูดาน หลังกองทัพซูดานและ Rapid Support Forces (RSF) ซึ่งเป็นกองกำลังกึ่งทหารที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ต่อสู้กันกันอย่างหนักเพื่อแย่งชิงทำเนียบประธานาธิบดี สถานีโทรทัศน์ของรัฐ และกองบัญชาการกองทัพที่ตั้งอยู่ในกรุงคาร์ทูม เมืองหลวงของซูดาน   เบื้องต้นมีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 27 ราย ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติซึ่งทำงานให้กับโครงการอาหารโลกในซูดาน 3 ราย ที่ถูกยิงดับหลังเกิดเหตุปะทะกันขึ้นในฐานทัพทหารคับกาบียา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกของซูดาน และยังมีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 200 คน   ทั้งกองทัพซูดานและ RSF ต่างอ้างว่าพวกเขาสามารควบคุมสนามบินและสถานที่สำคัญอื่นๆ ในกรุงคาร์ทูมไว้ได้แล้ว แต่การสู้รบยังคงดำเนินต่อไปตลอดคืน และยังมีรายงานความรุนแรงในสถานที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ ซึ่งรวมถึงเมืองต่าง ๆ ในภูมิภาคดาร์ฟูร์   กองทัพซูดานระบุว่า เครื่องบินไอพ่นของกองทัพได้ทำการโจมตีฐานที่มั่นของ RSF ขณะที่กองทัพอากาศบอกให้ประชาชนอยู่แต่ภายในบ้านพักในคืนวันที่ 15 เมษายน ขณะที่กองทัพจะทำการสำรวจการดำเนินการของกองกำลังกึ่งทหารดังกล่าวอย่างเต็มรูปแบบ   เหตุรุนแรงครั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากความตึงเครียดปะทุขึ้นจากการเสนอแผนเปลี่ยนผ่านเพื่อให้กลับสู่การปกครองโดยพลเรือน ทั้งนี้…

เสียชีวิตอย่างน้อย 168 ราย จากเหตุรุนแรงในรัฐดาร์ฟูร์ของซูดาน

Loading

    ความรุนแรงระหว่างชนเผ่าในรัฐดาร์ฟูร์ของซูดานปะทุขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 168 คน และบาดเจ็บอีกเกือบร้อยคน อีกทั้งยังมีแนวโน้มลุกลามไปยังเมืองใกล้เคียงด้วย สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงคาร์ทูม ประเทศซูดาน เมื่อวันที่ 25 เม.ย.ว่า โฆษกประจำกลุ่มผู้ลี้ภัย กล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 168 ราย และบาดเจ็บอีก 98 ราย จากการปะทะระหว่างชนเผ่าในเมืองเครย์นิค รัฐดาร์ฟูร์ตะวันตก การพิพาทที่เกิดขึ้นถือเป็นครั้งล่าสุดของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคที่เหนื่อยล้าจากสงครามเช่นนี้ รัฐดาร์ฟูร์ทางตะวันตก คือบ้านของผู้พลัดถิ่นหลายคนจากความขัดแย้งในภูมิภาคช่วงต้นยุค 2000 ซึ่งเห็นรัฐบาลปราบปรามกลุ่มกบฏติดอาวุธ ด้วยความช่วยเหลือจากกลุ่มติดอาวุธอาหรับเร่ร่อน หรือที่รู้จักกันในชื่อ จันจาวีด ประชาชนราว 2.5 ล้านคน กลายเป็นผู้พลัดถิ่นในเหตุรุนแรง และถูกสังหารไปประมาณ 300,000 คน นอกจากนี้ โอมาร์ อัล-บาเชียร์ อดีตประธานาธิบดีซูดาน เป็นที่ต้องการตัวโดยศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในข้อหาอาชญากรรมสงคราม ซึ่งการพิจารณาคดีหนึ่งในผู้ช่วยของเขา อาลี คูชายิบ เริ่มขึ้นเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา   africanews คณะกรรมการประสานงานสำหรับผู้ลี้ภัยและผู้พลัดถิ่น กล่าวหากลุ่มทหารจันจาวีดในความพยายามที่จะกระชับพื้นที่ เพื่อเข้าควบคุมดินแดน…

ผู้นำกองทัพซูดานก่อรัฐประหาร-จับนายกฯ -ยุบสภา-ประกาศสภาวะฉุกเฉิน!

Loading

  พลโทอับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน ประกาศสภาวะฉุกเฉินในวันจันทร์ และสั่งยุบสภาที่ทำหน้าที่บริหารประเทศในช่วงสองปีที่ผ่านมา พลโทบูร์ฮาน แถลงข่าวในวันจันทร์หลังจากที่กองทัพซูดานได้ควบคุมตัวนายกรัฐมนตรี อับดัลลา แฮมดก และเจ้าหน้าที่ระดับสูงคนอื่น ๆ ของสภาการปกครองของซูดานเอาไว้ โดยระบุว่า การยุบสภาและยึดอำนาจมาจากรัฐบาลครั้งนี้เป็นไปเพื่อยุติความวุ่นวายทางการเมืองที่คุกคามความมั่นคงของประเทศ พร้อมยืนยันว่าจะมีการ “แต่งตั้งคณะรัฐบาลชุดใหม่เร็ว ๆ นี้” กระทรวงข้อมูลข่าวสารซูดาน เผยแพร่แถลงการณ์ออนไลน์ โดยระบุว่า นายกฯ แฮมดกถูกจับกุมเพราะปฏิเสธที่จะยอมรับการยึดอำนาจ ขณะเดียวกัน เกิดการประท้วงในกรุงคาร์ทูมในวันจันทร์หลังจากมีรายงานข่าวว่านายกฯ ถูกควบคุมตัว โดยแหล่งข่าวในกรุงคาร์ทูมกล่าวกับวีโอเอว่า ประชาชนหลายพันคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาว ต่างออกมาเดินขบวนตามท้องถนนในกลางเมืองหลวง และมีเสียงปืนดังขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจุดไฟเผายางรถยนต์ในหลายจุดด้วย แหล่งข่าวดังกล่าวเปิดเผยว่า มีการปิดช่องทางการสื่อสารโทรคมนาคมต่าง ๆ ในกรุงคาร์ทูม รวมถึงอินเทอร์เน็ตและสถานีวิทยุ โดยมีเพียงสถานีโทรทัศน์ของทางการเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้ออกอากาศและเปิดเพลงปลุกใจรักชาติ องค์กร Sudan Doctors Committee รายงานว่า มีประชาชนอย่างน้อยสองคนเสียชีวิตหลังจากที่สมาชิกกองกำลังความมั่นคงของซูดานยิงปืนใส่ผู้ประท้วง     ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี อับดัลลา แฮมดก เป็นนักการทูตและนักเศรษฐศาสตร์ผู้เคยทำงานให้กับสหประชาชาติ เขาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราวเมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.…