BBC พบหลักฐานใหม่ เชื่อจีนส่งบอลลูนสอดแนมลอยเหนือน่านฟ้าเอเชีย

Loading

    Panorama รายการสารคดีเชิงสืบสวนของสถานีโทรทัศน์ BBC เปิดเผยหลักฐานใหม่เกี่ยวกับโครงการบอลลูนสอดแนมของจีน ซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นภาพบอลลูนที่ลอยอยู่เหนือญี่ปุ่นและไต้หวัน   จอห์น คัลเวอร์ อดีตนักวิเคราะห์กิจการเอเชียตะวันออกของสำนักข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (CIA) เผยกับ Panorama ว่า “เหตุการณ์นี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว แต่เป็นความพยายามอย่างต่อเนื่องย้อนหลังไปอย่างน้อย 5 ปี” เขากล่าวด้วยว่าบอลลูนของจีนออกแบบมาสำหรับภารกิจระยะไกลเหล่านี้โดยเฉพาะ และบางลูกสามารถเดินทางรอบโลกได้   จากการทำงานร่วมกับ Synthetaic บริษัทปัญญาประดิษฐ์ที่กลั่นกรองข้อมูลจำนวนมหาศาลที่บันทึกได้โดยดาวเทียม ทำให้ BBC พบภาพบอลลูนหลายภาพขณะลอยข้ามภูมิภาคเอเชียตะวันออก   คอรีย์ จาสโคลสกี ผู้ก่อตั้งบริษัท พบหลักฐานเป็นบอลลูนลูกหนึ่งที่เคลื่อนผ่านตอนเหนือของญี่ปุ่นเมื่อต้นเดือนกันยายน 2021 ซึ่งภาพเหล่านี้ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน เขาเชื่อว่าหลักฐานนั้นบ่งชี้ว่า บอลลูนลูกดังกล่าวถูกปล่อยจากพื้นที่ห่างไกลในประเทศจีน ทางตอนใต้ของมองโกเลีย   ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดของสหรัฐฯ และมีทหารอเมริกันประจำการอยู่มากกว่าทุกประเทศ ยืนยันว่าบอลลูนบินเหนือดินแดนของตน และกล่าวว่าเตรียมที่จะยิงบอลลูนตกในอนาคต   ยูโกะ มูราคามิ จากกระทรวงกลาโหมของญี่ปุ่น กล่าวกับ BBC ว่า รัฐบาลกำลัง “ใช้มาตรการป้องกันทั้งหมดเพื่อติดตามสถานการณ์ในแต่ละวัน” และพร้อมยิงบอลลูนตกเพื่อปกป้อง “ชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนในดินแดนของญี่ปุ่น”…

‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’

Loading

  ‘ญี่ปุ่น’ ผู้นำเทคโนโลยีโลก แต่ล้าหลังด้าน’ดิจิทัล’ โดยการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานรัฐบาล 1,900 รายการ ยังคงใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบเก่า เช่น ซีดี, แผ่นดิสก์ขนาดเล็ก และฟลอปปีดิสก์   ญี่ปุ่น ในความทรงจำของคนทั่วโลกเป็นดินแดนแห่งอนาคต เพราะเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นดินแดนแห่งวิทยาการด้านหุ่นยนต์ แต่ประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 3 ของโลกแห่งนี้ ยังมีอีกหลายด้านที่ขัดแย้งในตัวเอง โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจดิจิทัล และดูเหมือนว่าการชอบใช้เงินสดของชาวญี่ปุ่น เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของความเฉื่อยชาในการตอบสนองต่อกระแสเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศยักษ์ใหญ่แห่งเอเชียตะวันออก   ข้อมูลของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) ระบุว่า แม้การชำระเงินแบบไร้เงินสดในญี่ปุ่นจะเติบโตกว่า 2 เท่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีสัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดอยู่ที่ 36% ในปี 2565 แต่สัดส่วนการชำระเงินแบบไร้เงินสดของญี่ปุ่น ยังคงล้าหลังกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งเกาหลีใต้และสิงคโปร์ ที่ล้วนเป็นประเทศที่มีการชำระเงินแบบไร้เงินสดมากที่สุด   อาซาฮิ ร้านอาหารของ’ริวอิจิ อูเอกิ’ เป็นร้านที่รับเฉพาะเงินสด เช่นเดียวกับร้านอาหารอื่น ๆ ที่เขารู้จัก โดยอูเอกิ เจ้าของร้านอาซาฮิ รุ่นที่…

ห่วงเสี่ยงภัย​ ตร.ญี่ปุ่นเตือนพลเมืองดีอย่าถ่ายคลิปคนร้าย

Loading

    เกียว​โด​นิวส์​รายงาน​ (6.มิ.ย.) การปล้นร้านนาฬิการะดับไฮเอนด์บนถนนที่พลุกพล่านใจกลางกรุงโตเกียวเมื่อเร็วๆ นี้ ทำให้ทางการต้องเตือนผู้ยืนดูเหตุการณ์ไม่ให้บันทึกวิดีโอเกี่ยวกับอาชญากรรม​ เพื่อความปลอดภัยของพวกเขาเอง แม้ว่าฟุตเทจมักจะมีประโยชน์ต่อการสืบสวนของตำรวจก็ตาม   เหตุการณ์​ตามการเปิดเผยของตำรวจ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม ร้านค้าพิเศษของ Rolex ในย่านชอปปิ้งหรูของกินซ่าในโตเกียว ถูกกลุ่มวัยรุ่นบุกมาขโมยนาฬิกาข้อมือมากกว่า 70 เรือน มูลค่าประมาณ 300 ล้านเยน (2.2 ล้านเหรียญสหรัฐ)   การปล้นร้านอย่างอุกอาจถูกบันทึกภาพโดยผู้ที่ยืนดู โดยภาพของบุคคลสวมหน้ากากและรถตู้หลบหนีของพวกเขาปรากฏอยู่ทั่วไปในรายการข่าวโทรทัศน์   เจ้าหน้าที่อาวุโสของกองบัญชาการกองบัญชาการตำรวจนครบาลโตเกียว กล่าวว่า “เราไม่แนะนำให้บันทึกวิดีโอในสถานการณ์​เสี่ยงอันตราย เช่น เมื่อมีบุคคลที่มีมีดอยู่ในที่เกิดเหตุ”   “เรารู้สึกขอบคุณสำหรับการกระทำที่กล้าหาญ (ในการถ่ายคลิปอาชญากรรม) วิดีโอที่ถ่ายโดยผู้ที่ยืนดูอยู่นั้นได้รับการพิสูจน์แล้วว่ามีค่าต่อตำรวจ​ แต่การรักษาชีวิตเป็นสิ่งสำคัญที่สุด” เจ้าหน้าที่กล่าวเสริม   ตำรวจสามารถไล่ตามรถตู้ที่หลบหนีเพื่อจับกุมวัยรุ่นจากเมืองโยโกฮามา ใกล้กรุงโตเกียว เนื่องจากถูกกล่าวหาว่าบุกรุกอาคารอพาร์ตเมนต์ในบริเวณใกล้เคียง ภายหลังทั้ง 4 คนก่อเหตุอีกคดีโดยมีส่วนเกี่ยวข้องกับการปล้นที่ร้านนาฬิกาชื่อ Quark Ginza 888   วิดีโอที่ถ่ายโดยพลเมืองดี​มีบทบาทในการระบุตัวผู้ต้องสงสัย โดยเหตุการณ์ดังกล่าวถูกแชร์อย่างกว้างขวางบนสื่อสังคมออนไลน์ และในที่สุด ชาย…

ญี่ปุ่นเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคคลที่เข้าถึงความลับทางเทคโนโลยีขั้นสูงก่อนการปฏิบัติงาน

Loading

    เว็บไซต์ Nikkei Asia รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า ญี่ปุ่นจะใช้มาตรการตรวจสอบภูมิหลังกับเจ้าหน้าที่รัฐและเอกชนที่เข้าถึงข้อมูลละเอียดอ่อนเกี่ยวกับความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งต้องผ่านการรับรองความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงาน และเพื่อให้บริษัทที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงซึ่งประยุกต์ใช้งานได้ทั้งในเชิงพาณิชย์และด้านการทหาร (dual-use advanced technology) สามารถแข่งขันในระดับสากล และเข้าถึงข้อมูลลับที่แบ่งปันกันระหว่างญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ รวมถึงเข้าร่วมในโครงการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐบาลต่างประเทศได้ เนื่องจากบางประเทศมีมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด ปัจจุบันญี่ปุ่นเป็นประเทศเดียวในกลุ่ม G7 ที่ยังขาดมาตรการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ทั้งนี้ ญี่ปุ่นตั้งเป้าออกกฎหมายเกี่ยวกับการคัดกรองบุคคลในปี 2567 โดยมีสหรัฐฯ และยุโรปเป็นต้นแบบ กฎหมายเดิมซึ่งออกในปี 2557 นั้น ใช้กับประเด็นที่เกี่ยวกับการป้องกัน การทูต การต่อต้าน การจารกรรม และการต่อต้านการก่อการร้าย แต่ยังคลุมเครือถึงประเด็นเทคโนโลยีของพลเรือน เช่น อวกาศ ไซเบอร์ และปัญญาประดิษฐ์         —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

สหรัฐ-ญี่ปุ่น-เกาหลีใต้ตั้งเป้าแบ่งปันข้อมูลแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือ

Loading

(จากซ้ายไปขวา) ใบหน้าของประธานาธิบดีเกาหลีใต้, ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น บนป้ายประท้วงที่มีเนื้อหาต่อต้านการจับมือเป็นพันธมิตรไตรภาคี (Photo by ANTHONY WALLACE / AFP)   สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตั้งเป้าที่จะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธเกาหลีเหนือก่อนสิ้นปี 2566 โดยทั้งสามประเทศระบุในถ้อยแถลงหลังการประชุมสุดยอดผู้นำกลาโหมในสิงคโปร์   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566 กล่าวว่า กระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ แถลงร่วมกันเกี่ยวกับความร่วมมือในการตอบสนองต่อขีปนาวุธเกาหลีเหนือ   พันธมิตรทางทหารทั้งสามชาติประกาศจะแบ่งปันข้อมูลการแจ้งเตือนขีปนาวุธของเกาหลีเหนือระหว่างกัน ก่อนสิ้นสุดปี 2566   ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นหลังความพยายามของเกาหลีเหนือที่จะปล่อยดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่วงโคจรอวกาศเมื่อต้นสัปดาห์ แต่จบลงด้วยความล้มเหลวหลังจากจรวดขัดข้องและร่วงสู่ทะเล   แถลงการณ์ร่วมของสามชาติระบุว่า พันธมิตรไตรภาคีจะร่วมใช้กลไกการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนข้อมูลการเตือนขีปนาวุธแบบเรียลไทม์ก่อนสิ้นปี เพื่อปรับปรุงความสามารถของแต่ละประเทศในการตรวจจับและประเมินขีปนาวุธที่ยิงโดยเกาหลีเหนือ   ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐฯ, ยาสุคาซู ฮามาดะ รัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น และลี จงซ็อบ รัฐมนตรีกลาโหมเกาหลีใต้ ได้หารือร่วมกันนอกรอบการประชุมสุดยอดความมั่นคงเอเชีย หรือแชงกรีล่า ไดอะล็อก (Shangri-La Dialogue:…

‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล

Loading

Kyodo News via AP   ‘ญี่ปุ่น-โซล’ เตือนภัยวุ่น เกาหลีเหนือปล่อยดาวเทียมสอดแนม ก่อนพังร่วงตกทะเล   เกาหลีเหนือได้ปล่อวจรวดส่งดาวเทียมสอดแนมขึ้นสู่ท้องฟ้าเมื่อช่วงเช้าวันที่ 31 มิถุนายน หลังจากที่ได้มีการแจ้งเตือนก่อนหน้านี้ถึงปฏิบัติการดังกล่าว ก่อนที่จะจบลงด้วยความล้มเหลว ทำให้จรวดตกลงสู่ท้องทะเลในเวลาต่อมา พร้อมประกาศว่าจะทำการทดสอบครั้งที่ 2 โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้   สำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) รายงานในเวลาต่อมาว่า จรวจส่งดาวเทียม “ชอลลีมา-1” ประสบความล้มเหลว เนื่องจากเครื่องยนต์และระบบเชื้อเพลิงไม่เสถียร ทำให้จรวดขั้นที่ 2 ทำงานผิดปกติ ส่งผลให้เครื่องส่งกำลังและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่บรรทุกขึ้นไปกับจรวดตกสู่ท้องทะเล   ทั้งนี้ ถือเป็นความพยายามครั้งที่ 6 ของเกาหลีเหนือที่จะส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2559 ภายใต้ความพยายามที่จะส่งดาวเทียมสอดแนมทางทหารดวงแรกของเกาเหลือเหนือขึ้นสู่ห้วงอวกาศ   การปล่อยจรวดดังกล่าวของเกาหลีเหนือยังสร้างความปั่นป่วนให้กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ โดยในกรุงโซล เสียงไซเรนเตือนภัยทางอากาศดังขึ้นทั่วเมืองในเวลาประมาณ 06.32 น. วันนี้ พร้อมกับมีการเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมรับการอพยพที่อาจเกิดขึ้น ก่อนที่จะมีการแจ้งในอีก 20 นาทีต่อมาว่า การเตือนครั้งแรกนั้นเป็นความผิดพลาด   ด้านรัฐบาลญี่ปุ่นออกคำเตือนฉุกเฉิน…