หวั่นความปลอดภัยผู้นำ ‘จี7’ หลังเหตุปาระเบิดควันใส่นายกฯ ญี่ปุ่น

Loading

    เหตุการณ์ที่มีผู้โยนระเบิดควันใส่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ ระหว่างการเดินสายหาเสียงเลือกตั้งเมื่อวันเสาร์ ก่อให้เกิดคำถามถึงการรักษาความปลอดภัยต่อบรรดาผู้นำประเทศที่จะเข้าร่วมการประชุมกลุ่ม จี7 (Group of Seven) ที่ญี่ปุ่นในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า   เมื่อวันเสาร์ นายกรัฐมนตรีฟูมิโอะ คิชิดะ ของญี่ปุ่น ถูกนำตัวออกจากพื้นที่ขณะกล่าวปราศรัย หลังผู้ต้องสงสัยโยนวัตถุคล้ายระเบิดควันใส่บริเวณสถานที่กล่าวปราศรัยที่จังหวัดวากายามะ ทางตะวันตกของประเทศ ตามรายงานของรอยเตอร์ที่อ้างอิงจากสื่อญี่ปุ่น   สถานีโทรทัศน์เอ็นเอชเคระบุว่า มีเสียงระเบิดดังเกิดขึ้น แต่ผู้นำญี่ปุ่นได้รับการคุ้มกันและไม่ได้รับบาดเจ็บ ขณะที่ตำรวจเข้าควบคุมชายผู้ก่อเหตุ โดยเหตุครั้งนี้เกิดขึ้นที่ท่าเรือประมงไซกาซากิ ในจังหวัดวากายามะ     คลิปวิดีโอจากเอ็นเอชเคเผยให้เห็นฝูงชนวิ่งหนีขณะตำรวจหลายนายเข้ากดตัวชายคนหนึ่งลงกับพื้น ก่อนนำตัวเขาออกไปจากพื้นที่ โดยสื่อรายงานว่า ชายคนดังกล่าวอาจมีอายุในช่วง 20-39 ปี และก่อนก่อเหตุเขาอยู่ห่างจากนายกฯ คิชิดะ เพียง 10 เมตรเท่านั้น   เหตุการณ์ดังกล่าวเปิดเผยให้เห็นถึงจุดอ่อนของระบบการรักษาความปลอดภัยของญี่ปุ่นอีกครั้ง หลังจากเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา อดีตนายกฯ ชินโซ อาเบะ ซึ่งเป็นอดีตผู้นำญี่ปุ่นที่ครองตำแหน่งนานที่สุด ถูกลอบยิงสังหารด้วยปืนที่ทำขึ้นเองขณะหาเสียงเลือกตั้ง ถือเป็นเหตุสะเทือนขวัญระดับชาติและทำให้มีการทบทวนมาตรการรักษาความปลอดภัยของนักการเมืองที่ต้องลงพื้นที่สาธารณะเป็นประจำ   ศาสตราจารย์มิตสึรุ ฟุกุดะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการวิกฤติก่อการร้าย แห่งมหาวิทยาลัยนิฮอน…

รบ.ญี่ปุ่นสั่งยกระดับคุมเข้มประชุม G7 หลังคนร้ายปา ‘ระเบิดควัน’ ใส่นายกฯ

Loading

  นายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ แห่งญี่ปุ่น ประกาศยกระดับคุมเข้มมาตรการรักษาความปลอดภัยการประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มชาติอุตสาหกรรมชั้นนำ G7 ซึ่งจะจัดขึ้นที่เมืองฮิโรชิมาในเดือน พ.ค. หลังถูกคนร้ายปา “ระเบิดควัน” ใส่ขณะกำลังปราศรัยหาเสียงที่เมืองทางตะวันตกของญี่ปุ่นเมื่อวานนี้ (15 เม.ย.)   คิชิดะ ไม่ได้รับอันตรายใด ๆ จากเหตุโจมตีซึ่งเกิดขึ้นบริเวณชุมชนชาวประมงที่อ่าวแห่งหนึ่งในเมืองวากายามะ (Wakayama) ขณะที่ตำรวจญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ผู้ต้องสงสัยซึ่งเป็นชายวัย 24 ปี ชื่อ ริวจิ คิมูระ (Ryuji Kimura) ยังพกมีดมาอีก 1 เล่ม รวมถึงวัตถุซึ่งคาดว่าจะเป็น “ระเบิดลูกที่สอง” ซึ่งเขาโยนทิ้งในที่เกิดเหตุระหว่างที่ถูกตำรวจ และประชาชนช่วยกันรวบตัว   ล่าสุด ทางตำรวจยังไม่เปิดเผยแรงจูงใจของคนร้ายในการก่อเหตุ   คิชิดะ ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในภายหลังว่า ญี่ปุ่นจะไม่อดทนต่อการใช้ความรุนแรง ซึ่งถือเป็นการบั่นทอนรากฐานของระบอบประชาธิปไตย   เหตุการณ์นี้ยังทำให้หลายคนหวนนึกถึงกรณีการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรี ชินโซ อาเบะ ซึ่งถูกคนร้ายใช้ปืนโฮมเมดจ่อยิงอย่างอุกอาจขณะเดินทางไปปราศรัยหาเสียงที่จังหวัดนาระ เมื่อเดือน ก.ค. ปี 2022   การเสียชีวิตของ…

เปิดคลิปตร.ญี่ปุ่นรวบชายปา “ระเบิดควัน” ใส่นายกรัฐมนตรี นาทีกล่าวสุนทรพจน์เลือกตั้ง

Loading

  วันที่ 15 เม.ย.ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ตำรวจเข้าจับกุมชายขว้างวัตถุคล้ายระเบิดควันในบริเวณที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกำลังกล่าวสุนทรพจน์สนับสนุนการเลือกตั้งที่เมืองวากายามะ ภูมิภาคคันไซ หลังจากอพยพนายคิชิดะออกไปยังที่ปลอดภัย รายงานล่าสุดแจ้งว่า นายคิชิะดะ ปลอดภัยและไม่ได้รับอันตราย   วัตถุทรงกระบอกตกในที่เกิดเหตุ เชื่อว่าถูกขว้าง ระหว่างที่นายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกฯญี่ปุ่นกำลังหาเสียงที่เมืองวากายามะ เมื่อ 15 เม.ย. (เอเอฟพี)   สำนักข่าวเอ็นเอชเค สื่อท้องถิ่นเผยแพร่ภาพแสดงประชาชนกำลังหนีและชายคนหนึ่งถูกจับกุมหลังเกิดเหตุขึ้น จากนั้นมีชายหลายคนที่เชื่อว่าน่าจะเป็นตำรวจกดตัวผู้ต้องสงสัยลงกับพื้น และอีกหลายภาพแสดงกระบอกสูบสีเงินคล้ายถูกขว้างไปทางนายคิชิดะ   เหตุเกิดที่เมืองวากะยามาในช่วงที่นายคิชิดะกำลังกล่าวถ้อยแถลง หลังจากเสร็จสิ้นการตรวจเยี่ยมท่าเรือประมงไซกาซากิ เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ถ้อยแถลงดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนจากนายกรัฐมนตรี สำหรับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งขณะนี้ผู้สมัครกำลังหาเสียงการเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ     สมาชิกสภาเทศบาลซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุระบุว่า วัตถุสีเงินทรงกระบอกถูกปาออกไปไกลราว 2 เมตรจากจุดที่ตนยืนอยู่ ไม่นานก่อนที่จะได้ยินเสียงระเบิด พยานอีกคนระบุตรงกันว่า ตนเห็นกระบอกสูบสีเงินและว่า วัตถุถูกขว้างออกไป ต่อมาเกิดแสงเล็กน้อย ก่อนเกิดเสียงดังตามมา   เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นระบุว่า นายคิชิดะปลอดภัยและไม่ได้รับอันตราย ถูกนำตัวไปยังอีกสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีตำรวจยืนแวดล้อม และคอยอารักขา  …

ตำรวจญี่ปุ่นเตือนภัยการนำเราเตอร์ไปใช้ในการโจมตีไซเบอร์ พร้อมแนะนำวิธีป้องกัน

Loading

  สำนักงานความมั่นคงสาธารณะ (PSB) ในสังกัดสำนักงานตำรวจโตเกียว (TMPD) ของญี่ปุ่นออกมาเตือนประชาชนให้ระวังว่าเราเตอร์ที่ติดตั้งอยู่ในที่อยู่อาศัยจะถูกนำไปใช้ในการโจมตีทางไซเบอร์   PSB ชี้ว่ารูปแบบการโจมตีที่ว่านี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ปี 2020 โดยในปี 2022 เกิดเหตุการณ์ที่มีอาชญากรไซเบอร์แอบเข้ามาเปลี่ยนการตั้งค่าโดยที่เจ้าของไม่รู้ตัว เพื่อโจมตีบริษัทที่เจ้าของเราเตอร์ทำงานอยู่   2 ระบบสำคัญของเราเตอร์ที่เอื้อให้แฮ็กเกอร์เข้ามาอาศัยเป็นช่องทางทำมาหากินได้คือ VPN (Virtual Private Network) ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงระบบของบริษัทที่ตัวเองทำงานอยู่โดยไม่ต้องอยู่ที่ทำงานได้ และ DDNS (Dynamic DNS) ที่มักใช้ในการควบคุมอุปกรณ์ IoT (Internet of Things) หรืออุปกรณ์ทุกชนิดที่เชื่อมกับอินเทอร์เน็ต   การเข้าไปเปลี่ยนการตั้งค่าใน VPN และ DDNS จะทำให้แฮ็กเกอร์สามารถใช้เครือข่ายที่เราเตอร์เชื่อมต่ออยู่ในการโจมตีทางไซเบอร์   เจ้าหน้าที่ชี้ว่าผู้ใช้งานจำนวนมากไม่เข้าใจวิธีการทำงานและการตั้งค่าของระบบต่าง ๆ ภายในเราเตอร์ ทำให้ไม่รู้ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น   วิธีการป้องกันไม่ใช่เฉพาะการเปลี่ยนรหัสผ่าน และ ID เท่านั้น แต่ต้องเปลี่ยนการตั้งค่าหรือรีเซตกลับไปเป็นการตั้งค่าโรงงานด้วย ไม่เช่นนั้นก็มีโอกาสที่อาชญากรจะมาแอบใช้เราเตอร์ต่อไป   โดยต้องศึกษาคู่มือและเว็บไซต์ของผู้ผลิตเราเตอร์เพื่อให้รู้ว่ามีการเปิดใช้งาน VPN และ DDNS…

วังญี่ปุ่นตั้งสำนักประชาสัมพันธ์หวังสื่อสารเชิงรุกป้องชาวเน็ตใส่ร้าย!

Loading

    สำนักพระราชวังอิมพิเรียลของญี่ปุ่นตั้งสำนักประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ เพื่อเพิ่มการสื่อสารถึงประชาชน   สำนักข่าวเกียวโดรายงาน การตั้งสำนักประชาสัมพันธ์อย่างเป็นทางการเกิดขึ้นหลังจากสำนักพระราชวังอิมพิเรียลซึ่งดูแลงานของราชวงศ์ญี่ปุ่นต้องรับมือกับปฏิกิริยารุนแรงจากชาวเน็ตกรณีการหมั้นหมายและสมรสของอดีตเจ้าหญิงมาโกะกับนายเคอิ โคมุโร หวานใจตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย   รายงานข่าวคาดว่าสำนักประชาสัมพันธ์จะปรับปรุงเว็บไซต์ที่มีอยู่ซึ่งเป็นช่องทางเดียวที่สำนักพระราชวังสื่อสารกับประชาชนโดยตรง และพิจารณาช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ อาทิ โซเชียลมีเดียเพื่อแบ่งปันข่าวสารเกี่ยวกับราชวงศ์อิมพิเรียลในเชิงรุก   สำนักประชาสัมพันธ์สำนักพระราชวังได้นางสาวมาอิโกะ ฟูจิวาระ วัย 44 ปี ผู้เคยทำงานกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติรับหน้าที่หัวหน้าสำนัก เริ่มต้นมีเจ้าหน้าที่ 9 คน หนึ่งในนั้นมาจากภาคเอกชน และอาจรับพนักงานเพิ่มจนครบ 10 คน   “เราต้องการสร้างหลักประกันว่าได้ให้ภาพกิจกรรมและบุคลิกของราชวงศ์อิมพิเรียลได้สมบูรณ์กว่าในอดีต” นายยาซุฮิโกะ นิชิมูรา ผู้อำนวยการสำนักพระราชวังกล่าวถึงสำนักประชาสัมพันธ์ที่เพิ่งตั้งขึ้นใหม่ในวันนี้ (1 เม.ย.)   ด้านเจ้าหน้าที่อาวุโสรายหนึ่งในสำนักพระราชวังเผยว่า “การให้ข้อมูลถูกต้องเชิงรุกจะช่วยรับมือการวิจารณ์ราชวงศ์อย่างรุนแรงได้ แม้สำนักพระราชวังยังลังเลเรื่องการใช้โซเชียลมีเดีย เกรงว่าการโพสต์โดยตรงของสมาชิกราชวงศ์อาจโดนตอบกลับแบบไม่คาดฝัน”   รายงานข่าวระบุด้วยว่า ขณะที่ราชวงศ์ต่างชาติอย่างราชวงศ์อังกฤษใช้โซเชียลมีเดียหลากหลายรูปแบบเว็บไซต์สำนักพระราชวังอิมพิเรียลมีแค่หมายพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโตและพระบรมวงศานุวงศ์องค์อื่น ๆ รวมถึงภาพ และพระราชดำรัสในงานต่าง ๆ เท่านัน   ผู้รู้หลายคนตำหนิว่า การสื่อสารกับสาธารณชนอย่างจำกัดเป็นปัจจัยทำให้สื่อรายงานข่าวที่ถูกมองว่าเป็นการใส่ร้ายตระกูลโคมุโร จนอดีตเจ้าหญิงมาโกะต้องเจ็บป่วยเพราะความเครียด   ทั้งนี้…

ส.ส.ญี่ปุ่นเตรียมเสนอให้รัฐบาลแบน ‘ติ๊กต็อก’

Loading

  กลุ่ม ส.ส.ญี่ปุ่นจากพรรคแอลดีพี เตรียมเสนอให้รัฐบาลสั่งแบนแอปพลิเคชันยอดนิยมหลายแพลตฟอร์ม ซึ่งรวมทั้ง ‘ติ๊กต็อก’ ด้วย หากพบว่ามีการใช้งานในแง่ลบ   27 มี.ค. 2566 กลุ่ม ส.ส.พรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ของญี่ปุ่น วางแผนรวบรวมข้อเสนอเพื่อยื่นต่อรัฐบาลในเดือนหน้า ให้มีมาตรการสั่งแบนแอปพลิเคชันโซเชียลเน็ตเวิร์กหลายแพลตฟอร์ม ถ้าหากพบว่ามีการนำไปใช้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลเท็จ ซึ่งหนึ่งในนั้นมีแอปพลิเคชันยอดนิยมที่กำลังตกเป็นเป้าหมายของการสั่งแบนในสหรัฐอย่าง ‘ติ๊กต็อก’ รวมอยู่ด้วย   ส.ส.ของสหรัฐเ รียกร้องรัฐบาลของประธานาธิบดีพิจารณาสั่งห้ามการใช้แอปพลิเคชันติ๊กต็อกที่มีต้นตอมาจากประเทศจีน โดยกล่าวหาว่ามีการใช้แอปพลิเคชันดังกล่าวเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงเซ็นเซอร์เนื้อหาและเป็นอันตรายต่อสุขภาพจิตของเยาวชน   โนริฮิโระ นากายามะ ส.ส.พรรคแอลดีพี กล่าวว่า ถ้าหากมีการพิสูจน์ได้ว่ามีการใช้งานแอปพลิเคชันใด ๆ โดยเจตนา เพื่อผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะประเทศใดประเทศหนึ่ง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลในทางประสงค์ร้าย ก็ควรพิจารณาสั่งให้เลิกใช้แอปพลิเคชันนั้นๆ   นากายามะ กล่าวว่า หากมีความชัดเจนว่าแอปพลิเคชันจะโดนสั่งปิดได้ ถ้าทำผิดกฎเกณฑ์ ก็จะช่วยให้บริษัทผู้พัฒนาและเป็นเจ้าของแอปพลิเคชันคอยตรวจสอบการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น แอปติ๊กต็อก ซึ่งมีผู้ใช้งานชาวญี่ปุ่นเป็นจำนวนมากถึง 17 ล้านคน ก็จะเข้าถึงแอปไม่ได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยป้องกันความปลอดภัยของผู้ใช้งานได้   นากายามะ กล่าวว่าควรมีการพิจารณาจำกัดการใช้งานแอป เพิ่มเติม…