ผู้เชี่ยวชาญเตือนภัยสมาร์ตวอตช์ และวิธีป้องกัน

Loading

  เดบาร์ชี ดาส (Debarshi Das) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยอิสระเผยให้เห็นว่ามีการแฮ็กสมาร์ตวอตช์มีหลากหลายวิธี   รูปแบบการส่งข้อมูลของสมาร์ตวอตช์ โดยทั่วไปแล้ว สมาร์ตวอตช์เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟนผ่านเทคโนโลยีที่เรียกว่า Bluetooth Low Energy (BLE) ซึ่งใช้แถบคลื่นความถี่เดียวกันกับ Bluetooth ทั่ว ๆ ไป แต่ใช้คนละช่องสัญญาณในการส่งข้อมูล และใช้พลังงานน้อยกว่า Bluetooth   สมาร์ตวอตช์สื่อสารกับสมาร์ตโฟนโดยส่งชุดข้อมูล (packets) ที่มีชื่อเรียกว่า Beacon ซึ่ง Beacon เหล่านี้จะเป็นตัวส่งสัญญาณบอกให้อุปกรณ์ในระยะสัญญาณรู้ถึงการมีอยู่ของสมาร์ตวอตช์ตัวนั้น ๆ   จากนั้น สมาร์ตโฟนเป้าหมายที่อยู่ในระยะการส่ง Beacon ก็จะตอบกลับด้วยคำขอสแกนข้อมูล ซึ่งสมาร์ตวอตช์ก็จะตอบคำขอนั้นด้วยการส่งข้อมูลที่เพิ่มขึ้น   ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัวอยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่า Generic Attribute Profile (GATT) ใน GATT จะมีรายละเอียดของอุปกรณ์ทั้ง ฟีเจอร์ ลักษณะ และบริการที่มี ทำให้อุปกรณ์ที่รับสัญญาณสามารถเข้าทำความเข้าใจและใช้งานฟังก์ชันต่าง ๆ ของสมาร์ตวอตช์ได้  …

ระวัง! มิจฉาชีพสามารถแฮ็กข้อมูลจากสมาร์ตวอตช์ ได้

Loading

  เตือนภัย! มิจฉาชีพสามารถ แฮ็กข้องมูล จากนาฬิกาสมาร์ตวอตช์ เข้าถึงข้อมูลธนาคาร ข้อมูลบัตรเครดิต ทั้งยังรู้ถึงตำแหน่งคุณทำอะไรอยู่ไหน   ปัจจุบันนาฬิกาอัจฉริยะ หรือ Smart Watch หนึ่งอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนา ทำให้การดูเวลาทั่วไปเปลี่ยนไป เพราะยังมีฟังก์ชันการใช้งานอื่น ๆ อีกเพียบ ทั้ง วัดค่าต่าง ๆ ในร่างกาย นับก้าวการเดิน ถ่ายรูป เชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ฯลฯ แต่รู้หรือไม่? สมาร์ตวอตช์ ก็สามารถโดนแฮ็กข้อมูลได้   โดยเพจ ตำรวจสอบสวนกลาง โพสต์แจ้งเตือนถึงอันตรายมิจฉาชีพสมัยนี้ ที่สามารถแฮ็กข้อมูลจาก Smart Watch ได้ พร้อมเผยวิธีป้องกัน โดยระบุว่า…สมาร์ตวอตช์จะเชื่อมต่อกับสมาร์ตโฟน ผ่านเทคโนโลยี Bluetooth Low Energy (BLE) ข้อมูลที่ส่งกันไปมาระหว่างอุปกรณ์ทั้ง 2 ตัว ที่เรียกว่า Beacon   แฮ็กเกอร์สามารถดักสัญญาณ Beacon ได้ ก็จะสามารถติดตั้งมัลแวร์ผ่านบลูทูธ หรือใส่โค้ดอันตรายไว้ในแอปบนสมาร์ตวอตช์เพื่อดักข้อมูล…