‘ไทย’ ได้ประโยชน์แค่ไหน จากต่างชาติลงทุน ‘ดาต้าเซ็นเตอร์’

Loading

  สัปดาห์ที่ผ่านมาผมเขียนถึงโอกาสประเทศไทย ที่จะเป็น ศูนย์กลางดาต้าเซ็นเตอร์ในภูมิภาคอาเซียน แม้จากข้อมูลต่าง ๆ จะชี้ว่า เรายังตามหลังประเทศเพื่อนบ้านพอควร แต่เราก็มีโอกาสในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ และการเข้ามาตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ในประเทศ ก็เป็นไปตามแนวโน้มปริมาณการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเอไอที่เพิ่มขึ้น   การลงทุนดาต้าเซ็นเตอร์ มีองค์ประกอบสำคัญที่ต้องพิจารณาหลายด้าน เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานและการก่อสร้าง ซึ่งต้องเลือกทำเลที่ปลอดภัยและมีระบบสาธารณูปโภคพร้อม ตามด้วยการลงทุนในเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เป็นหัวใจสำคัญที่สุด และน่าจะเป็นค่าใช้จ่ายสูงสุด รวมถึงค่าลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่จำเป็นต้องต่ออายุเป็นประจำ ส่วนด้านการดำเนินงาน มีค่าใช้จ่ายหลัก คือ ค่าพลังงานไฟฟ้าสำหรับอุปกรณ์และระบบทำความเย็น และสุดท้ายคือค่าเชื่อมต่อเครือข่ายที่ต้องมีความเร็วและเสถียรสูง   ในปัจจุบันดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ จะมีเซิร์ฟเวอร์เป็นหลักพันหรือหมื่นเครื่อง และมีค่าใช้ในการลงทุนจัดหาอุปกรณ์เหล่านี้มาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้เทคโนโลยีเอไอกำลังสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับอุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ โดยมีการคาดการณ์ว่าภายในปี 2030 ดาต้าเซ็นเตอร์จะใช้ไฟฟ้าถึง 8% ของการใช้พลังงานทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา และต้องการการลงทุนด้านสาธารณูปโภคกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ เพื่อรองรับการประมวลผลเอไอในดาต้าเซ็นเตอร์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล   ความท้าทายหลักมาจากการที่ระบบเอไอที่ต้องการกำลังการประมวลผลสูงมาก ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ต้องลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านดอลลาร์ในการเช่า ดาต้าเซ็นเตอร์ระยะยาวและทำให้อุตสาหกรรมดาต้าเซ็นเตอร์ของบางเมืองในสหรัฐอเมริกาต้องใช้ไฟฟ้าถึง 60% ของการใช้พลังงานทั้งเมือง   เราจึงเห็นการแข่งขันด้านดาต้าเซ็นเตอร์สำหรับเอไอกันใน 3 ระดับ คือ ระดับบริษัทเทคโนโลยีที่แข่งกันพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง…

ระบบป้องกันอัคคีภัย รากฐานความปลอดภัยของดาต้าเซ็นเตอร์

Loading

    ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นเสาหลักของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล การลงทุนใน “ระบบป้องกันอัคคีภัย” ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการช่วยลดความเสียหายที่มหาศาล และเป็นหลักประกันความมั่นคง และความน่าเชื่อถือของดาต้าเซ็นเตอร์ในการให้บริการได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต   ดาต้าเซ็นเตอร์ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่สำคัญ โดยเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ทำให้บริการคลาวด์ เว็บไซต์ และแอปพลิเคชันต่างๆ ทำงานได้อย่างราบรื่น เป็นที่รวมศูนย์ของอุปกรณ์ที่มีความสำคัญและมูลค่าสูง เช่น เซิร์ฟเวอร์ ระบบจัดเก็บข้อมูล และอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งหากเกิด เหตุเพลิงไหม้ ขึ้นจะมีผลกระทบอย่างมากทั้งต่อผู้ประกอบการและผู้ใช้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ จากทั้งฮาร์ดแวร์ และข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้   จากเหตุการณ์เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้ ในดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งที่มีความเสียหายและผลกระทบในวงกว้าง ทำให้ทุกคนควรทำความเข้าใจถึงความสำคัญของความปลอดภัยจากอัคคีภัยในดาต้าเซ็นเตอร์ และมาตรการด้านความปลอดภัยที่ผู้ประกอบการดาต้าเซ็นเตอร์ควรพิจารณา   เพลิงไหม้ที่เกิดจากแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน   อุปกรณ์ในดาต้าเซ็นเตอร์ต้องใช้ไฟฟ้าในปริมาณมาก ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอัคคีภัย สิ่งที่น่ากังวลเป็นพิเศษคือ เพลิงไหม้ที่เกิดจาก แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน (Li-ion) ที่ใช้ในระบบไฟฟ้าสำรอง (UPS) หรือระบบกักเก็บพลังงาน (ESS) เพื่อสำรองไฟในกรณีที่กระแสไฟฟ้าหลักขัดข้อง     แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน จัดเป็นวัตถุไวไฟมาก ซึ่งเมื่อมีอุณหภูมิสูงเกินกว่าปกติไม่ว่าจะเกิดจากความเสียหายทางกายภาพ การใช้งาน การประจุหรือคายประจุไฟฟ้าที่สูงเกินกว่าปกติ หรือข้อบกพร่องจากการผลิตหรือคุณภาพวัสดุ จนเกิดกระแสลัดวงจรภายใน…

ออสเตรเลียสร้างศูนย์เก็บข้อมูลลับกับบริษัทแอมะซอน

Loading

ออสเตรเลียกล่าววันพฤหัสบดีว่า ความตกลงมูลค่า 1,350 ล้านดอลลาร์ กับบริษัทแอมะซอนของสหรัฐฯ ที่จะสร้างศูนย์ข้อมูลสามแห่งที่มีความปลอดภัยสูง จะช่วยยกระดับ “ศักยภาพในการต่อสู้เชิงสงคราม” ของออสเตรเลีย

ระบบบริหารจัดการดาต้าเซ็นเตอร์กว่า 20,000 ตัว เสี่ยงต่อการถูกโจมตี

Loading

Credit: ShutterStock.com การที่ดาต้าเซ็นเตอร์มีระบบที่ช่วยทำให้การปฏิบัติงานเป็นอัตโนมัติพร้อมกับจัดการได้แบบรีโมตนั้นเป็นเรื่องที่ดี อย่างไรก็ตามการคอนฟิคให้ระบบสามารถเข้าถึงได้อย่างสาธารณะนั้นเป็นเรื่องไม่สมควร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญพบว่า ระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการกว่า 20,000 ตัว กำลังเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ Cyble ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยได้พบการเปิดเผยระบบ DCIM (Data Center Infrastructure management) กว่า 20,000 ระบบอย่างสาธารณะ ที่ใช้เพื่อการดูแลสภาพแวดล้อมในดาต้าเซ็นเช่น ความชื้น ความเย็น UPS ความร้อน ระบบติดตามตู้แร็ก ไม่เพียงแค่นั้นในการหาข้อมูลผู้เชี่ยวชาญสามารถ Extract รหัสผ่านจากหน้า Dashboard ที่ถูกใช้เข้าถึงฐานข้อมูลจริงในดาต้าเซนเตอร์ได้ อย่างไรก็ดีแอปพลิเคชันส่วนใหญ่มักยังใช้ Default Password หรือล้าสมัย จึงยิ่งเสี่ยงตกเป็นเป้าได้ง่าย ผลกระทบของการโจมตีที่อาจเกิดขึ้นได้ก็ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เพราะการโจมตีระบบสามารถเป็นต้นตอของสาเหตุใหญ่อย่างไฟไหม้ ตัดไฟ หรือทำให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ แม้คนร้ายไม่เคยเข้าถึงหน้างานจริง นอกจากเรื่องระบบ DCIM แล้ว ยังมีการเตือนการเผยถึงอินเทอร์เฟสที่ใช้รีโมตดูแลเซิร์ฟเวอร์ HPE (HPE iLO) อีกกว่า 20,000 ตัว ก็ถูกเข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตเช่นกัน ดังนั้นควรหันกลับมาพิจารณาการใช้งานดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเองกันด้วยนะครับ ที่มา : https://www.bleepingcomputer.com/news/security/over-20-000-data-center-management-systems-exposed-to-hackers/…